ทฤษฎีการเรียนรู้แนวปัญญานิยม (Cognitive Theory)


ทฤษฎีการเรียนรู้แนวปัญญานิยม (Cognitive Theory)

ความหมายแนวปัญญานิยม ปัญญา นิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจเรียกว่ากลุ่มพุทธินิยม เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้ ได้ขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรม ออกไปสู่กระบวนการทาง ความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของแนวปัญญานิยม มีดังต่อไปนี้

  1. ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ ( Gestalt Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไทม์เมอร์ (Max Wertheimer) วุล์ฟแกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคิร์ท คอฟฟ์กา (Kurt Koffka)
  2. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman)
  3. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เพียเจต์ (Piaget) และ บรุเนอร์ (Bruner)
  4. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learnning) ของ ออซูเบล (Ausubel)
  5. ทฤษฎีสนาม (Field Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) ซึ่งเคยอยู่ในกลุ่มทฤษฎีของเกสตัลท์ และได้แยกตัวออกมาในภายหลัง
  6. ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory)
  7. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) มีนักจิตวิทยาที่สำคัญ คือ รูเมลฮาร์ทและออโทนี่ (Rumelhart and Ortony)

(กุญชร,2540) นักจิตวิทยาของกลุ่มเกสตัลท์ ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการรับรู้ของมนุษย์ พบว่าส่วนมากมนุษย์เราจะรับรู้ในลักษณะอัตวิสัย (Subjective) และมักจะเรียบเรียงให้เห็นความสัมพันธ์ของส่วนย่อย และส่วนรวม และได้อธิบายความสัมพันธ์ของส่วนย่อยและส่วนรวมว่าส่วนรวมมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย(สุรางค์,2544)นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยทางด้านพุทธิปัญญา คือ แวร์ไทมเมอร์ (Wertheimer) และลูกศิษย์โคท์เลอร์(Kohler) และคอฟคา (Koffka)ที่เน้นเกี่ยวกับการคิดและการแก้ปัญหาการเรียนรู้ตามแนวพุทธิปัญญา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียนทั้งทางด้านปริมาณและด้านคุณภาพ คือ นอกจากผู้เรียนจะมีสิ่งเรียนรู้เพื่มขึ้นแล้ว ยังสามารถจัดรวบรวมเรียบเรียงสิ่งที่เรียนรู้เหล่านั้นให้เป็นระเบียบ เพื่อให้สามารถเรียกกลับมาใช้ได้ตามที่ต้องการ และสามารถถ่ายโยงความรู้และทักษะเดิม หรือสิ่งที่เรียนรู้มาแล้ว ไปสู่บริบทและปัญหาใหม่(Mayer,1992)กลุ่มปัญญานิยม ให้ความสนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิด การให้เหตุผลของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)ที่มุ่งเน้นพฤติกรรมที่สังเกตได้เท่านั้น โดยมิได้สนใจกับกระบวนการรู้คิดหรือกิจกรรมทางสติปัญญาของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่นักจิตวิทยากลุ่มพุทธิปัญญาตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องศึกษากระบวนการดังกล่าว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสังเกตได้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการให้ความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับ”ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าภายนอก (ส่งผ่านโดยสื่อต่างๆ)กับสิ่งเร้าภายใน” คือความรู้ความเข้าใจ หรือกระบวนการรู้คิดที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรู้คิด(Cognitve Process) ได้แก่

  • ความใส่ใจ Attending
  • การรับรู้ Perception
  • การจำได้ Remembering
  • การคิดอย่างมีเหตุผล Reasoning
  • จินตนาการหรือการวาดภาพในใจImagining
  • การคาดการณ์ล่วงหน้าหรือการมีแผนการณ์รองรับ Anticipating
  • การตัดสินใจ Decision
  • การแก้ปัญหา Probiem Soiving
  • การจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ Classifying
  • การแปลความหมาย Interpreting

ที่มา : https://thanetsupong.wordpress...

หมายเลขบันทึก: 647412เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2018 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2018 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท