หลักและวิธีเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน


          หลักและวิธีเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน

          การเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฎฐานนั้น หมายถึง การมีสติสัมปชัญญะในการเพียรระวังป้องกันและกำจัดกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเกิดจากวทนา ที่จะให้ผลเป็นความทุกข์ให้หมดสิ้นไป โดยการหมั่นมีสติสัปชัญญะพิจารณาเห้นเวทนา ในเวทนา เป็นทั้ง ณ ภายในและ ณ ภายนอก 

         เวทนาที่ว่านี้ ถ้าเกี่ยวกับกาย ก็มีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ ถ้ากายเป็นสุขก็เรียกว่า สุขเวทนา ๑ ถ้ากายเป็นทุกข์ ก็เรียกว่า ทุกขเวทนา ๑ ถ้าเกี่ยวกับใจ ก็มี ๓ ลักษณะ คือถ้าเป็นสุขใจ ก็เรียกว่า โสมนัสสเวทนา ๑ ถ้าเป็นทุกข์ใน ก็เรียกว่า โทมนัสสเวทนา ๑ และถ้าเฉยๆ คือใจสงบนิ่ง ก็เรียกว่า อุเบกขาเวทนา หรือ อุทกขมสุขเวทนา ๑

        ถ้าเกิดเวทนาอันเนื่องแต่อารมณ์ภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส หรือสิ่งสัมผัส ทางกาย ก็เรียกว่า รู้รส หรือเสวยเวทนาโดยมีอามิส แต่ถ้าเกิดเวทนาอันไม่เนื่อง กับรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย ก็เรียกว่ ารู้รสหรือเสวยเวทนาโดยไม่มีอามิส

         การเพิจาณณาเห็นเวทนาในเวทนาเป็น ณ ภายใน คือ การพิจารณาเห็นเวทนาภายในตนเอง ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา อันเกิดกับกาย หรือโสมนัสสเวทนา โทมนัสสเวทนาอันเกิกับใจ แล้วพึงมีสติเจริญภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนาภาวนา กล่าวคือ ให้รวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางศุนย์กลางกาย กลางของกลางดวงธรรม ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ..ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด ให้ใจสวบจากกิเลสนิวรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไป แล้วพิจารณษให้เห็นสภาวะของเวทนาตามธรรมชาิตที่เป็นจริงว่า เป้ฯสภาพที่ไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยผุ้ใดถือมั่นด้วยตัณหาและทิฎฐิแล้วเป็นทุกข์ เรพาะในที่สุดก็หมดสภาพเดิมของมันไป เป็นอนตตา ก็จะสามารถละวางอุปาทานเสียได้ด้วยวิปัสนาปัญญา ให้ยิ่ง ขึ้นไปเพื่อความระงับเวทนานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีเวทนาที่เกิดกับกายให้ได้ผลดีที่สุด ดังเช่น

         ผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว เพียงพิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัตๆๆ เข้าสู่อุเบกขาเวทนาอันสัมปยุตด้วยปัญญาอันเห็ฯชอบจาการพิจารณาสภาวธรรมด้วยตาหรือหยาณของธรรมกาย และธรรมกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด

        และย่อมพิจารณาด้วยญาณของธรรมกาย เห็นเวทนาของกายโลกิยะทั้ง ๘ กายข้างต้นนั้นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดยแจ้งชัด เพราะสติอยู่กับใจของธรรมกายเป็นอุเบกขาเวทนา อันสัมปยุตด้วยปัญญาอันเห็นชอบ เป็นธรรมเครื่องทำลายความเห็นผิดในเวทนาของกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม (วาเป็นบุคคลตัวตน เรา เขา ของเรา ของเขา ซึ่งรวมเรียกว่า สักายทิฎฐิ) ลงเสียได้ กิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเกิดแต่เวทนา และที่จะให้ผลเป็นความทุกข์ ก็ย่อมถูกกำจัดให้หมดสิ้นไปด้วย

       อนึ่ง เมื่อใจของผุ้ปกิบัติะรรมนั้น จรดอยู่ ณ ศุนย์กลางของกายธรรมพระอรหัตองค์สที่สุดละเอียดอยู่เสมอแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากเวทนาของกายโลกิยะทั้ง ๘ หมด เข้าสู่อุเบกขาเวทนาอันสัมปยุตด้วยปัญญากันเห็นชอบ ถึงแล้วทรงคุณะรรมอันสงบและละเอียดบริสุทธิ์นั้นอยุ่ เวทนาทั้งหลายแม้จะเกิดกับกาย ก็ย่อมจะเป้นสักแต่เวทนา ตามพระพุทธดำรัสที่ตรัสว่า

            สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า "เวทนามีอยู่" ก็เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผุ้อันตัณหาและทิฎฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก

            ส่วนการให้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเป็น ณ ภายนอกนั้น ได้แก่ พิจาณาเห็นเวนาในผุ้อื่นหรือสัตว์อื่น ซึ่งย่อมมีทั้งภายนอก และภายในของสัตว์นั้นอีกเช่นกัน เป็นต้ยว่ เห้ฯอาการทุกขเวนาหรือสุขเวทนาของผุ้อืนี่สแดงออกภายนอกโดยมั่วไปๆ และถ้าหากเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ยังสามารถจะห็นเวทนาในเวทนาของผุ้อืืนดดยอาศยปัจจัยภายในได้อกด้วย เช่นว่า

          เห็นบุคคลอื่นที่กำลังได้รับหรือเสวยผลบุญ เป็นสุขเวทนาอยู่ โดยพิจารณาเห็นดวงเวทนา ณ ท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นสดใส ไม่ขุ่นมัวและเห็นกายมนุษย์ละเอียดซึ่งเป็นกายในกายนั้นก็สวยงามละเอียดประณีตผ่องใส

          แต่ถ้าผู้นั้นกำลังได้ับหรือเสวยผลจาบาปอกุศล เป็นทุกขเวทนา ก็จะพิจารณาเห็น ดวงเวทนา ณ ท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นขุ่นมัวไม่ผ่องใส กายมนุษย์ละเอียดก็ซอมซอ เศ้าหมอง ดังนี้เป็นต้น

         หรือเมื่อน้อมเข้าสู่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ  และ จุตูปปาตญาณ ให้รู้ขันธ์ของตนเอง หรือสัตว์อื่นทั้งหลายที่ได้เคยเสวยสุขเวทนา หรือทุกขเวทนาในอดีตชาติ หรือได้เห็นจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งงหลายที่เป็นสุขหรือทุกข์ ตามผลบุญหรือผลบาปอกะศลในภพถูมิต่างๆ อย่างนี้ก็ได้

         ปัญญาอันเห็นแจ้งจาการที่ได้ทั้งรุ้และทั้งเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ของสังขารธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นไปในภพ ๓ ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้เองเป็น "วิปัสสนาปัญญา" คือ ความเห็นแจ้ง เห็นวิเศษ แล้วมีสติสัมปชัญญะอยู่กับใจของธรรมกายอันเป็นธรรมที่ปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง ดับหยาบไปหาละเอียด ถึงและเป็นธรรมกายที่สุดละเอีย บริสุทธิ์ ผ่องใส ได้เสวยอุเบกขาเวทน และำรงอยู่ในความบริสุทธิ์ผ่องในเช่นนั้น นี้เองที่เป็นวัตถประสงค์ของสติปัฎฐาน

         เมื่อทำนิโรธดังสมุทัยจนสุดละเอียด วางอุปาทานในเบญจขันธ์ของกายในภพ ๓ และปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติเสียได้ ธรรมกายตกศุน์เข้าอายตนะนิพาน ก็จะได้อารมณืพระนิพพานอันละเอียด ประณีต สุขุมลุ่มลึกสงบและเป็นสุข สมตามพระพุทธดพรัสว่า "นตฺถิ สนูติปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจาความสงบ ไม่มี"

         การมีสติพิจารณาเห็ฯเวทนาในเวทนา ทั้ง ณ ภายในและภายนอกดังที่กล่าวมานี้เอง ที่ทำให้ผุ้ปฎิบัติธรรม เกิดปัญญารู้แจ้งแทงตลอด ในพระไตรลักาณ์ และเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปของเวทนาทั้งหลา บรรดาที่เกิดกับตนเองและผู้อื่น ทำให้คลายจากความเห็นผิด ยึดมั่นถือมั่นในเวทนา ดังกล่ว และเป็นทางให้กำจัดอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย มิให้เกิดขึ้นในสันดานต่อไปอีก เป็นทางให้กาย วาจา และ ใจบริสุทธิ์และให้ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ต่อไป ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้.. "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้น ถึง ธรรมกาย" 


         

หมายเลขบันทึก: 647392เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2018 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2018 08:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท