วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การจัดการความรู้เรื่อง การจัดการเรียนการสอน Active Learning


ถอดบทเรียนการเรียนการจัดการเรียนการสอน Active Learning เพื่อพัฒนาบัณฑิต

วันที่ 21 มีนาคม 2561 ณ ห้อง 1601 ห้องประชุมพวงผกา

การเรียนการสอนตามสภาพจริง (Authentic learning) โดย ดร.กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน

          ความเป็นมา

วิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 มีการออกแบบการเรียนการสอน สืบเนื่องจากผลการประเมินการจัดการเรียนในวิชาสร้างเสริมฯ ในปีการศึกษา 2559 คือ การให้นักศึกษาออกไปศึกษาสภาพจริงซึ่งต่อยอดจากวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สถานที่ศึกษาในชุมชนใกล้วิทยาลัย วิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 มีความซับซ้อนกว่าวิชาสร้างเสริมฯ และมีวัตถุประสงค์รายวิชาเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้มาใช้ในการดูแลครอบครัวได้ การวัดและประเมินการจัดการเรียนในวิชาสร้างเสริมฯ นักศึกษาสามารถนำไปใช้กับการฝึกภาคปฏิบัติได้

          วัตถุประสงค์รายวิชา

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฏี หลักการพยาบาลครอบครัวและชุมชนแบบองค์รวม
  • สามารถประเมินภาวะสุขภาพและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพครอบครัว คน และชุมชน
  • ใช้กระบวนการพยาบาล
  • เลือกใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การพิจารณาเนื้อหา พิจารณาในรายวิชามีความเหมาะสมในการจัดการเรียน มอบหมายให้นักศึกษาเลือกกรณีศึกษาที่ไม่ไกลจากวิทยาลัย 1 กลุ่มต่อ 1 ครอบครัว

  • ใช้ครอบครัวเป็นฐานในการเรียนรู้โดยเป็นครอบครัวที่ได้จากวิชาสร้างเสริม
  • สามารถบูรณาการเนื้อหาในหน่วยการเรียนที่เกี่ยวข้อง
  • ผลการประเมินโครงการ (เฉลี่ย 4.32 SD 0.59)
  • อาจารย์ควรแบ่งกลุ่มให้นักศึกษาในการเรียนสภาพจริงเพราะถ้านักศึกษาเลือกเองอาจประเมินเพื่อน ทำให้ไม่กล้าประเมิน
  • ต้องการให้มีการจัดการเรียนแบบนี้อีกในปีหน้า
  • การจัดตารางเวลาเรียนในชั่วโมงสภาพจริง ต้องการเวลาครั้งละ 3 ชั่วโมง
  • การสังเกตการนำความรู้ไปใช้ในการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 นักศึกษามีความเข้าใจและสามารถเรียนรู้ได้เร็ว
  • การเตรียมความพร้อมของอาจารย์ ศึกษาคำอธิบายรายวิชา เนื้อหาวิชา เอกสารประกอบสารสอน เนื้อหาทั้งหมด ละเอียดกว่าสรุปเนื้อหา แนะนำหนังสืออ้างอิง ที่ต้องใช้ เตรียมข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก ชุดพื้นฐาน 2 ชุด ชุดประยุกต์ใช้ 2 ชุด
  • ก่อนการสอนอาจารย์ผู้สอนควรศึกษา ศึกษาคำอธิบายรายวิชา เนื้อหาวิชารายบทที่ต้องการให้นักศึกษาได้ความคิดรวบยอด จากนั้นดำเนินการเตรียมเอกสารประกอบการสอนโดยประกอบด้วย เนื้อหาทั้งหมด แนะนำหนังสืออ้างอิง ที่ต้องใช้ เตรียมข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก ชุดพื้นฐาน 2 ชุด ชุดประยุกต์ใช้ 2 ชุด
  • เตรียมสไลด์ เฉลยข้อสอบ อธิบายเหตุผล
  • แบ่งกลุ่มผู้เรียนกลุ่มละ 5-6 คน (20 กลุ่ม/อาจารย์ 2 คน) จากเดิม 8-9 คน เพราะนักศึกษาเสนอว่าเด็กเก่งจะไม่ฟังเด็กเรียนอ่อน
  • พบนักศึกษา ชี้แจงวิธีการเรียน
  • มอบหมายให้นักศึกษาอ่านเอกสาร
  • ทำข้อสอบรายเดี่ยว ยังไม่เฉลย เข้ากลุ่มเพื่อช่วยการทำคะแนนให้ได้
  • นักศึกษาศึกษาเอกสารที่ครูแจกให้ก่อนเข้าเรียนทุกครั้ง
  • ครั้งที่ 1 ทำข้อสอบพื้นฐานรายเดี่ยว (20 นาที) ทำข้อสอบพื้นฐานเป็นกลุ่ม อภิปราย คำตอบ เหตุผล เขียนเหตุผลของคำตอบ ครูเฉลยที่ละข้อ สรุปเนื้อหาของ Concept นั้น ๆ
  • ครั้งที่ 2 ทำข้อสอบ ประยุกต์ใช้ครั้งที่ 1 ทำเป็นกลุ่ม (30 นาที) ครูสังเกตการณ์เรียนรู้ ครูเฉลย อภิปราย สรุปเนื้อหา Concept map
  • ประเมินผลรายบุคคล และรายกลุ่ม LO 3 ทักษะทางปัญญา LO4 การทำงานเป็นทีม ทักษะการสื่อสาร ข้อสอบจะลดลง นักศึกษาชอบ สนุก ไม่หลับ ได้แสดงความคิดเห็น รู้ว่าถ้าไม่อ่านหนังสือจะทำให้คะแนนน้อย และคะแนนกลุ่มจะน้อยลง อยากให้มีข้อสอบมากกว่านี้ อยากให้อาจารย์แจกข้อสอบก่อนเรียน
  • บทบาทผู้สอน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ กิจกรรมหลากหลาย แบ่งปันความรู้ คิด วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น
  • บางรุ่น Active ถ้ามีการถกเถียง จะทำให้บรรยากาศสนุก อาจารย์มีเวลาน้อย ไม่ได้พัฒนาข้อสอบ ครูเหนื่อย ต้องใช้เวลามาก ปัญหาคือ นักศึกษาอธิบายเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมตอบคำถามแบบนี้ อาจเขียนไม่เก่ง ข้อสอบรั่ว ต้องออกข้อสอบใหม่ทุกครั้ง ซึ่งจะเหนื่อยมาก () ข้อดี คือเรียนรู้เพื่อนก่อนฝึกงาน การทำงานเป็นทีม
  • ดร.ศิริรัชส์ เสนอให้ใช้ข้อสอบอัตนัย ส่งเสริมทักษะการเขียน
  • วิธีการเรียน TBL ต่างจาก Group process learning อย่างไร (ดร.ศิริรัชส์) ตอบ เพราะกระบวนการเหมือนกัน แต่ตัวขับเคลื่อนกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ต่างกัน คือ TBL ใช้ข้อสอบ Group process คือการใช้เนื้อหา
  • ดร.ดวงพร สรุปว่าควรจัดกลุ่ม 5-6 คน นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ
  • ดร.ดวงพร การเรียนจิ๊กซอว์ ต่างจาก TBL คือทุกคนเป็นผู้เชี่ยวชาญ ต้องยอมรับความคิดเห็นทุกคน นักศึกษาบางคนไม่ชอบ คือไม่ชอบคิด เถียงเพื่อนไม่ทัน อยากได้ความรู้จากอาจารย์มากกว่า
  • วิชาทฤษฏีและปฏิบัติปัญหา 2 ปี 3 แบ่ง 7-8 คนต่อกลุ่ม (10 กลุ่ม/sec) นักศึกษา ครู นำเสนอประวัติ/ ข้อมูลกรณีศึกษา ในภาคปฏิบัติแจกโจทย์ตามคนไข้บน ward เช่น โรคมะเร็ง กลุ่มที่ได้ไปเตรียมนำเสนอ เพื่อนซักถาม และมอบหมายให้ไปอ่านทฤษฏีมา ถ้าเจ้าของคนไข้ตอบไม่ได้ ก็จะสืบค้นต่อที่ชาร์ทคนไข้และซักถามคนไข้โดยตรง ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ช่วง Pre หรือ Post conference
  • ผู้เรียนซักถาม เพิ่มเติมกรณีตัวอย่าง
  • ผู้เรียนอภิปราย
  • ประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบ
  • ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการ แก้ปัญหา สรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
  • ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ประเมินจากการมีส่วนร่วม การถามตอบ แสดงความคิดเห็นLO2 และ LO 3 การคิดวิเคราะห์ ข้อสอบสถานการณ์
  • ข้อดี นักศึกษาจำได้ เข้าใจมากขึ้นเพราะได้เห็นตัวอย่างจริง
  • กรณีศึกษาช่วยทำให้การเรียนบรรยายน่าสนใจ active learning นิยามว่าอย่างไร (ดร.ศิริรัชส์)
  • อ.ยุคนธรให้ความเห็นว่านักศึกษาชอบนำเสนอ เพราะเตรียมตัวมาอย่างดี ต้องการนำเสนอให้เพื่อนทราบ
  • อ.ยุคนธร ต้องการบูรณาการวิจัยกับการเรียนการสอน โดยแบ่งกลุ่มให้นักศึกษาตาม GPA จำนวน9-10 กลุ่ม ให้สืบค้นเป็นการวิจัย SR ตามคำสำคัญ ปัญหาคือ ต้องค้นไม่ซ้ำกัน เด็กเครียด แต่สนุกดี ดร.ศิริรัชส์สนับสนุนเพราะเป็น LO 5 อ.ยุคนธรมีปัญหาเรื่องต้องทำให้เสร็จภายใน 1 ปี เพื่อประเมินเป็นการบูรณาการแต่ละปี จะเก็บข้อมูลวิจัยจากคนไข้เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
  • เครื่องมือ ใบงานกรณีศึกษา ใบประเมินการวิเคราะห์กรณีศึกษา การสอบ
  • ผลการประเมินพัฒนา TQF 5 ด้าน พัฒนาทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 (คิดวิเคราะห์ การสื่อสาร อย่างมีประสิทธิภาพ)
  • นำสู่การพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต (SAP โดยการเลือก A การคิดวิเคราะห์)
  • เตรียมตัวอย่างไรในปีหน้า (ดร.กีรติ) ตอบ วิชาชีวเคมี ปรับหลักสูตรชั่วโมงทฤษฎีลดลงแต่เนื้อหาสาระคงเดิม เวลาน้อยจะจัดยากขึ้น แต่จะนำ Active learning ไปใช้ในชั่วโมงทดลองโดยดูความสัมพันธ์เนื้อหาภาคทฤษฎีกับภาคทดลองให้เชื่อมโยงกัน วิชาชีวเคมี ยังไม่มีใครรับช่วงต่อ ซึ่ง ดร.ศิริรัชส์ อินสุข ยินดีที่จะถ่ายดอนประสบการณ์ให้ และเมื่อเกษียณอายุราชการไปแล้ว มีบางสถาบันที่เชิญสอนเป็นอาจารย์พิเศษอยู่ สอนมานานมาก คือ วพบ. ชัยนาท วพบ. สุพรรณ และ วสส.พล.เชิญสอนสม่ำเสมอ และยินดีหาก วพ.บ.พุทธชินราช จะเชิญสอนต่อไป สำหรับวิชาอารยธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งมอบต่อ อ.ศักดา ตามนโยบายของงวิทยาลัยพยาบาลฯ
  • ข้อสอบประเมินผลรายบุคคล
  • แบบประเมินรายกลุ่ม LO 3 ทักษะทางปัญญา
  • แบบประเมิน LO4 การทำงานเป็นทีม ทักษะการสื่อสาร
  • ประเมินจากการมีส่วนร่วม การถามตอบ แสดงความคิดเห็น LO2 และ LO 3 การคิดวิเคราะห์
  • ข้อสอบสถานการณ์
  • Peer Evaluation
  • Pre-test Post-test Kahoot
  • การสังเกต
  • พัฒนาสมรรถนะนักศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน TQF ทั้ง 5 ด้าน
  • พัฒนาทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต (SAP) โดยเฉพาะด้านการคิดวิเคราะห์)

ทั้งหมด 9 หน่วยการเรียนรู้ แบ่งเป็น 4 หน่วยการเรียน เรียนวิธี Authentic Learning ได้แก่ แนวคิดทฤษฏี การพยาบาลครอบครัว ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพครอบครัว ครอบครัวเข้มแข็ง และการสร้างเสริมสุขภาพแลกระบวนการเยี่ยมบ้าน 5 หน่วยการเรียน เรียนวิธีบรรยาย คือ ระบาด อนามัยโรงเรียน อาชีวอนามัย อนามัยสิ่งแวดล้อม และคุ้มครองผู้บริโภค

การจัดการเรียนแบบสภาพจริง   

  • แนวคิดทฤษฏี การพยาบาลครอบครัว ครั้งที่ 1 (2 ชม) ประเด็นโครงสร้างหน้าที่และพัฒนาการครอบครัว เรียนแบบบรรยายในห้องเรียน ยกตัวอย่างของกรณีศึกษาสภาพจริง
  • ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพครอบครัว ครั้งที่ 2 (2 ชม) ประเด็นปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ เรียนแบบบรรยายในห้องเรียน ยกตัวอย่างของกรณีศึกษาสภาพจริง
  • การสร้างเสริมสุขภาพแลกระบวนการเยี่ยมบ้าน ครั้งที่ 3 (2 ชม) ประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพและกระบวนการเยี่ยมบ้าน  เรียนแบบบรรยายในห้องเรียน ยกตัวอย่างของกรณีศึกษาสภาพจริง
  • ครอบครัวเข้มแข็ง ครั้งที่ 4 และ 5 (2 ชั่วโมง) ประเด็นครอบครัวเข้มแข็ง เรียนแบบบรรยายในห้องเรียน ยกตัวอย่างของกรณีศึกษาสภาพจริง การพึ่งพาตนเอง ความปลอดภัย เศรษฐกิจ

การประเมินผลโครงการและข้อเสนอแนะของนักศึกษา

การประเมินผลโครงการและข้อเสนอแนะของอาจารย์

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • เลือกครอบครัวอย่างไร (อ.ยุคนธร) ตอบ ให้เด็กเลือกเอง แต่เมื่อฝึกปฏิบัติ
  • ได้ปลูกฝังเจตคติในการทำงานในชุมชนแก่นักศึกษาหรือไม่ (ดร.ศิริรัชส์) ตอบ ปลูกฝังครอบครัวให้ความร่วมมือ ให้เห็นคุณค่าของชุมชน
  • ผลการเรียนทฤษฏี ตามกรอบ TQF เป็นอย่างไร ได้การเรียนรู้อะไรบ้าง ที่โดดเด่น (ดร.ศิริรัชส์) ตอบ ไม่มีเครื่องมือวัด แต่ได้จากการสังเกตจากข้อมูลที่เด็กทำรายงาน การถามตอบในห้องเรียน ที่หามา เปรียบเทียบกับหน่วยการเรียนทฤษฏี ทัศนคติของนักศึกษามีความรับผิดชอบในการไปเก็บข้อมูลตามเวลาที่ได้จัดให้ อาจารย์ตามไปดู การทำงานเป็นทีม ดร.ศิริรัชส์ เสนอแนะว่าการใช้การสังเกตอย่างเดียวในการประเมิน อาจทำให้มีความคลาดเคลื่อน ควรใช้แบบประเมินตาม LO ที่ตั้งไว้
  • ดร.ศิริรัชส์ เสนอว่า การจัดการเรียนการสอนจะต้องตอบให้ได้ว่าจุดประสงค์หลักคืออะไร
  • ดร.กีรติ ให้ความเห็นในปีหน้า อาจจะจัดแบบ PBL
  • การจัดแบบนี้ ต่างจาก CBL อย่างไร (ดร.ศิริรัชส์)
    • ดร.ดวงพร ตอบว่าเป็นการเรียนแบบ PBL อย่างหนึ่งในความเป็นจริง
    • ดร.กีรติตอบว่าต่างกันเพราะไม่ใช่ context-based learning
    • ดร.สมาภรณ์บอกว่ามีการเรียนตามสภาพจริงให้กรอบการเรียนรู้เพียงกว้าง ๆ นักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติม
    • ดร.สิรีวัฒน์ บอกว่า PBL ต่างกันตรงที่นักศึกษาตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เอง
  • ถ้าเลือกได้ จะสอนแบบนี้หรือไม่ (อ.ยุคนธร) ตอบ ไม่ลำบาก ต้องการให้เวลาเพิ่ม ถ้าจัดได้ก็จะดีมาก ปี 4 จัดไม่เหมาะ เอาไปใช้กับ PBL จะเหมาะสมกว่า

การเรียนการสอน Team-Based Learning (TBL) และกรณีศึกษา (Case Study) โดย อ.ยุคนธร ทองรัตน์ ภาควิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

ความเป็นมา

สอนวิธี TBL มีอาจารย์ผู้สอน 2 ท่าน คือ อ.ยุคนธร และ อ.ดวงใจ ในวิชาปัญหาสุขภาพ 1 เพียง 1 หน่วยการเรียน (เรื่องต่อมไร้ท่อจำนวน 8-9 ชั่วโมง) เริ่มสอนเป็นเวลา 5 ปี สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2

การจัดการเรียนแบบ TBL

การประเมินผลโครงการและข้อเสนอแนะของอาจารย์

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การจัดการเรียนแบบกรณีศึกษา

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเรียนการสอนกรณีศึกษา (Case Study) โดยดร.สมาภรณ์ เทียนขาว ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

ความเป็นมา

วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต การเรียนการสอนเน้น Active learning (กรณีศึกษา)

การจัดการเรียนแบบกรณีศึกษา

การวางแผนการจัดการเรียนการสอน

  • วิเคราะห์หลักสูตร วิชานี้เคยจัดแบบ Authentic learning สถานการณ์จำลอง PL
  • กำหนดหน่วยการเรียนรู้
  • ออกแบบการเรียนการสอน แผนการสอน
  • ออกแบบการประเมินผล เครื่องมือการประเมินผล

การดำเนินการสอน

  • วิธีการสอน กรณีศึกษา
  • สื่อ ใบงานกรณีศึกษา
  • หน่วยการเรียนบาทผู้สอน เตรียมกรณีศึกษา ชี้ประเด็น/ตั้งคำถาม สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม สรุปการเรียนรู้
  • หน่วยการเรียนบาทผู้เรียน มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้เป็นกลุ่ม ฝึกคิดวิเคราะห์ นำเสนอและร่วมสรุปการเรียนรู้

ประเมินผล

ปัจจัยนำเข้าแห่งความสำเร็จ

  • ประสบการณ์ผู้สอนมากกว่า 20 ปี
  • ความรับผิดชอบของผู้สอนและผู้เรียน
  • เปิดใจ
  • ยินดีและพร้อมพัฒนา

กระบวนการที่ความเป็นสำเร็จของทีมผู้สอน

  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ร่วมกันวางแผน
  • เตรียมนักศึกษา
  • สู่การปฏิบัติจริง
  • ปรับทัศนคติต่อผู้ป่วยจิตเวช ไม่ให้กลัวผู้ป่วย

ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ

  • ด้านนักศึกษา
  • ด้านผู้สอน
  • ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐาน TQF และอัตลักษณ์บัณฑิต
  • เตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติโดยการปรับทัศนคติต่อผู้ป่วยจิตเวช
  • ได้เรียนรู้ลักษณะผู้ป่วยจิตเวช เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตลอดจนฝึกทักษะการสังเกตการเขียนรวบรวมข้อมูลจากกรณีศึกษา
  • พัฒนาผู้เรียนได้สอดรับกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตามกรอบ TQF และประเมินผลได้ตามสภาพจริงของนักศึกษาตลอดจนการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต
  • ปรับทัศนคติและลดอคติในวิธีการสอน
  • การเรียนรู้การทำงานเป็นทีม
  • ดร.สมาภรณ์ รายวิชามีการใช้วิธีการสอนที่หลากหลายเช่น กรณีศึกษา สถานการณ์จำลอง PL บทบาทสมมุติ เทคโนโลยี การบูรณาการ  ที่นำมานำเสนอคือวิธีกรณีศึกษา ซึ่งในภาควิชาฯใช้วิธีนี้มาก   กรณีศึกษามี่ทั้งแบบลักษณะผู้ป่วยที่ผู้สอนเขียนข้อมูลต่างๆให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์พลวัตรการเกิดปัญหาทางจิตและการให้การพยาบาล  และวิธีการสอนกรณีศึกษาที่  ใช้เป็นลักษณะการเล่าเรื่อง (Narrative)
  • บูรณาการกับอะไร (ดร.ศิริรัชส์) ตอบ ครั้งที่ 1 การคัดกรองภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 นำข้อมูลวิเคราะห์จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ
  • ดร.ศิริรัชส์ ให้ความเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี คือวิเคราะห์เนื้อหาในการจะบูรณาการ นำสู่การเรียนการสอน บูรณาการทีมผู้สอน
  • ดร.ศิริรัชส์ เสนอแนะว่าการประเมินผล ใช้กรอบ TQF การวัด SAP ควรทำวิจัย Good practice ระดับภาควิชา โดยการใช้แบบประเมิน Good practice แล้วจึงเทียบกับวิทยาลัยอื่น
  • การเปรียบเทียบการสอน 2 แบบ ใครประเมิน (ดร.ศิริรัชส์) ตอบ ให้นักศึกษาประเมินว่าเรียนรู้แบบไหนดีกว่า ตาม LO
  • การเลือกมาใช้บางหน่วยการเรียน มีการสอบหรือไม่ (อ.มณฑณา) ตอบ มี เน้นกระบวนการ ได้สังเกตหรือไม่ว่าถ้าทำ TBL ดี คะแนนสอบจะดีด้วยหรือไม่
  • TBL เน้นเรื่องการทำงานเป็นทีม เน้นเรื่องความรู้หรือไม่ สิ่งที่เจอ นักศึกษาชอบเรียนแบบ Active Learning แต่จะไม่ค่อยได้ความรู้ MCQ ดึงเนื้อหาที่สำคัญ (อ.มณฑณา) ตอบ วัตถุประสงค์ของหัวข้ออยู่แล้ว ตัวข้อสอบจะเน้นเรื่อง Concept อาจจะนำไปใช้ถึงการนำไปใช้
  • ดร.ศิริรัชส์ เสนอแนะว่า TBL มีการนำไปใช้จากภาคเด็ก การดำเนินกิจกรรม TBL ต่างจาก Group process ตรงที่การ run กิจกรรมเป็นข้อสอบ
  • อ.วรรณภรณ์ ปัญหาการเลือกคุณสมบัติของเด็ก ถ้าเลือกไม่ทันก็ต้องเลือกคุณสมบัติที่สอง ใช้กระบวนการกลุ่มแบ่งกลุ่ม ซึ่งไม่ควรใช้ GPA เพราะไม่ได้เน้นที่ความรู้ เน้นการทำงานเป็นทีม
  • อ.มณฑณา ถ้าทำบางหน่วยการเรียน ภาควิชาผู้ใหญ่ พบว่าหน่วยการเรียนที่เรียนแบบ TBL ขึ้นฝึกปฏิบัติแล้ว นักศึกษาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ได้ ตอบ TBL เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ตลอดชีวิต
  • อ.วรรณภรณ์ ให้ความเห็นว่า TBL ทักษะการสร้างข้อสอบ เช่นการใช้ยาปฏิชีวนะ กับแต่ละโรค
  • ดร.ดวงพร การประเมินผลวิธีการสอน
  • ดร.ศิริรัชส์ เรียน 1 หน่วยการเรียน สอน 3 วิธี คือ เกมส์ บัตรคำ Concept mapping กรณีศึกษา ในรายวิชาป. 1 สอน Active learning 5 วิธี
  • แบ่งกลุ่มโดยการนับเลข
  • ดร.ดวงพร มีผลประเมินจากนักศึกษากับการเรียนแบบนี้หรือไม่ ประเมินจากการสังเกต คือ ไม่ง่วง มีส่วนร่วม pre-test ต่างจาก post-test
  • แผนการจัดปีการศึกษาหน้า จะนำวิธีการนี้ไปทำในวิชาปี 3 และทำวิจัย
  • อ. มณฑนา ชื่นชมการจัดการเรียนหลากหลายวิธี
  • ดร.สมาภรณ์ แต่ละภาคควรหาวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เป็น Active learning สอดคล้องกับลักษณะวิชา
  • อ.วรรณภรณ์ เสนอว่า ต้องเลือกวิธีการจะเป็น Best practice ของวิทยาลัย 1 อย่างเป็นเอกลักษณ์
  • ดร.ศุภาณ์นาฏ แสดงความคิดเห็นว่าบริบทหน่วยการเรียนของแต่ละภาควิชาต่างกัน วิธีการเรียนการสอนจึงควรต่างกัน

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเรียนการสอน Team-based Learning โดยอ.วรรณภรณ์ วีระพงษ์ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ความเป็นมา

TBL เกิดจากการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน ผู้ที่คิดคือ Prof Larry K. Michaelsen เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและ Active learning เริ่มใช้ปี 2549

ในวิชาชีพสาขาสุขภาพของการดูแลผู้รับบริการไม่ได้เกิดจากบุคคลคนเดียว แต่เกิดจากการทำงานเป็นทีม ซึ่งต้องมีการสื่อสารที่ดี กระบวนการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ

ผลการประเมินการสอนทักษะทางปัญญา โดย PBL พบว่ายากต่อความเข้าใจ เนื้อหามาก จึงปรับเป็น

จุดมุ่งหมายของ TBL ตามทฤษฏี

  • เตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน ใช้กระบวนการที่สร้างความมั่นใจได้ว่าได้มีการเตรียมตนเองอย่างแท้จริงหลักสู่การแก้ปัญหา
  • 2. เรียนรู้วิธีการนำมโนทัศน์

ขั้นตอน

  • กระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน RAP Readiness Assurance Process ได้แก่ pre-class preparation application appeal
  • tRAT นำสู่ดเนื้อหาวิชา Course concept
  • ประยุกต์ใช้ในคลาส

RAP

  • มอบหมายให้ศึกษาล่วงหน้าจากเอกสาร ตำรา PPT VDO โดยครูแจ้งวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนเรียนที่สอดคล้องกับมโนทัศน์หน่วยการเรียนเรียน
  • มอบหมายงานให้ทำล่วงหน้ารายบุคคลก่อนเข้าเรียน Individual Readiness Assurance (MCQ) 15-20 ข้อ ไม่ควรทำรายงานยาว ๆ เพราะผู้เรียนจะแบ่งงานเป็นตอน ๆ เช่น case study
  • งานที่มอบหมายคือไม่ยากเกินไป ส่วนใหญ่ตอบได้ งานที่มากเกินไป ทำให้ต้องเร่งรีบอภิปราย
  • ข้อสอบเน้นตัวเลือก หาคำตอบทำไม เพราะอะไร มุ่งมั่นที่จะหาคำตอบร่วมกัน การคิดวิเคราะห์มีมากขึ้น

ความเหมาะสมของงาน

  • 4S ปัญหาสำคัญจริง
  • ข้อสอบเดียวกัน
  • คำตอบเหมือนกันหมด
  • ใช้เวลาเดียวกัน
  • มอบหมายให้ทำงานเดิมเป็นกลุ่ม TRAT/GRAT โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อ้างอิง จากที่ได้ไปค้นคว้าด้วยตนเอง และหาคำตอบที่ถูกต้องที่เป็นไปตามมติของทีมโดยอนุญาตให้ใช้สื่อสืบค้นได้ Intragroup จึงต้องสอนกลุ่มใหญ่กลุ่มเดียว

Appeal เฉลยทันที immediate feedback assessment Technique พร้อมกัน ใช้ Scratch card

Mini-lecture ครูสอนสรุป

Application การประยุกต์ใช้ แก้ปัญหาโจทย์ในชั้นเรียน อภิปรายในกลุ่ม การรายงานคำตอบในกลุ่มตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้

-สถานการณ์จริง หรือจำลอง เช่น ศึกษากับคนไข้

- Mapping

เวลาของการปฏิบัติ อ่านนอกชั้นเรียนตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แบ่งเวลาทำข้อสอบ 20-30% การประยุกต์ใช้ 70-80%

TBL มีเป้าหมายคือ การทำงานเป็นทีม เป้าหมายชัดเจนกว่าการทำงานกลุ่ม เน้นผลสำเร็จของงานทั้งหมด การจัดกลุ่ม ลดความเกาะกลุ่มกันเอง การแบ่งกระจายคุณสมบัติของสมาชิกที่เป็นประโยชน์ (แบ่งหน้าชั้นเรียน เช่น รับผิดชอบ ตรงเวลา ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น หรือใช้ฐานข้อมูลของนักศึกษา ไม่เน้นเรื่อง GPA เป็นหลัก เพราะเน้นการทำงานเป็นทีม) ขนาดของทีมเหมาะสม เป็นกลุ่มถาวร

วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ TBL การ TBL ลงสู่การปฏิบัติ

การออกแบบก่อนเปิดเรียน

  • เลือก/จัดเนื้อหารายวิชา (หน่วยการเรียน) หัวข้อโรคติดเชื้อหลังคลอด และ ตกเลือดหลังคลอด 4 ชั่วโมง
  • ระบุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
  • สร้างคู่มือผู้เรียนในหน่วยการเรียน
  • สร้างแบบหน่วยการเรียน การสอบ เพื่อรับประกันความพร้อมของผู้เรียน
  • สร้างแบบฝึกหัด/สถานการณ์ที่เน้นประยุกต์ใช้
  • ออกแบบระบบการวัดประเมินผล
  • การจัดตั้งกลุ่ม ทำหน้าชั้นเรียน

Peer Evaluation

  • นักศึกษาไม่ประเมินตนเอง
  • ตระหนักว่าถ้าให้คะแนนมากทุกคน จะเป็นการทำร้ายคนที่ทำงานหนักและช่วยเหลือคนที่ทำงานกลุ่มน้อย
  • ให้รายละเอียดการประเมินเพื่อน ป้องกันการให้คะแนนที่ไม่เป็นจริง
  • การใช้ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยในการประเมินเพื่อน มาเทียบกับคะแนนเฉลี่ย
  • การให้คะแนนเพื่อน แต่ไม่ให้ตนเอง

ผลการประเมินผู้เรียน ปีการศึกษา 2560

  • ชอบเรียน เป็นการติวข้อสอบไปในตัว การเถียงกันทำให้ได้อ่านหนังสือล่วงหน้า เตรียมความพร้อม พูดคุยกับเพื่อนในกลุ่ม

ผลการประเมินปี 2558 เปรียบเทียบ TBL กับ PBL คือความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ ส่งเสริมทักษะทางปัญญามากกว่า การทำงานเป็นทีม ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสาร

ข้อสังเกต คะแนนที่เพื่อนประเมินกับผลการเรียน 80% สอบตกในหน่วยการเรียนนี้ คะแนนเดี่ยวได้น้อย คะแนนกลุ่มจะมากขึ้น บางคนคะแนนเดียวดี แต่คะแนนกลุ่มน้อยลง แสดงว่าทักษะการสื่อสารไม่ดีพอ TBLสอดคล้องกับการเรียนแบบ learning style ของ VARK ใช้ทักษะพลวัตรกลุ่ม และ learning pyramid

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การจัดการเรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning) โดย ดร.ศิริรัชส์ อินสุข ภาควิชาบริหารการพยาบาล

ความเป็นมา

จัดการเรียนการสอนเชิงรุกในวิชาชีวเคมี สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558-2559

Active learning ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าในมโนทัศน์ที่สอนได้ถูกต้องและลึกซึ้งเกิดความคงทนถาวร ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ได้เป็นอย่างดี เกิดความสนุกสนานจากกิจกรรมที่จัดขึ้นในการเรียนการสอน สามารถบูรณาการความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์

การจัดการเรียนแบบ Active learning

Plan: แผนการจัดการเรียนการสอน

Plan 1 มีแผนปฏิบัติการประจำภาควิชาการศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาการสอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัยพยาบาล และเป็นที่เข้าใจของอาจารย์ภายในภาควิชา

Plan 2: Plan 1 วิเคราะห์ปรัชญา ความสำคัญและวัตถุประสงค์หลักสูตร ว่าต้องการอะไร ให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์อะไร LO ทุก Domain คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

Plan 3: Plan 2 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการจัดการเรียนการสอนในปีที่ผ่านมา

Plan 4: Plan 3 ปรับกลยุทธ์กิจกรรมการเรียนการสอน การออกแบบรายวิชา การวัดผลการประเมินผลตามระเบียบของวิทยาลัย และตาม TQF กำหนด มีระบบและกลไกการส่งเสริม

DO: การดำเนินงาน

Do 1 วิธีการดำเนินงานที่ตอบสนองผลลัพธ์ เป็นไปตามระบบและกลไกการดำเนินงาน

Do 2: Do 1 บูรณการกับกลุ่มพันธกิจอื่น เช่น ด้านการวิจัย และมีผลลัพธ์ดำเนินการวิจัย 2 เรื่อง (ชีวเคมีกับทำนุ วิชาสารสนเทศ ส่งเสริมทักษะทางปัญญา และวิชาภูมิปัญญา อารยธรรมท้องถิ่น (โครงงาน การศึกษาวิถีชุมชน ศึกษาด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)

Check: การตรวจสอบ

Check 1 ติดตามตรวจสอบการจัดการเรียนการสนจากภาควิชา มีการประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอน

Check 2: Check 1 วิเคราะห์ผลการติดตาม ตรวจสอบ โดยรายงานผลเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อการพัฒนาอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง

          ACT: การนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนา

Act 1 นำผลการประเมินโครงการจัดการเรียนการสอน การบริหารรายวิชา

Act 3 ระบุประเด็นที่ต้องพัฒนา ปรับปรุง ในเอกสาร กิจกรรมการเรียนการสอนการบริหารรายวิชาใน มคอ. 3 ในปีการศึกษาต่อไป

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

  • เกิดประสิทธิผลของวงจร PDCA เกิดคุณค่าในการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนที่เป็น
  • ปัจจัยเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน มีอาจารย์จบการศึกษาคุณวุฒิครูด้านวิทยาศาสตร์
  • องค์กรมีงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอในการจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนสามารถลงมือทำ
  • ความทุ่มเท ต่อการทำงานของอาจารย์ในภาควิชาฯ ส่งผลให้เกิดผลงานที่มีคุณค่าต่อสถาบัน
  • อาจารย์ในภาควิชาฯ มีความรู้ความเข้าใจการวิเคราะห์หลักสูตร การออกแบบการจัดการเรียน

ระบบ จากการดำเนินการตามแผนและตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา

ด้วยตนเอง มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และผู้ดูแลห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

คุ้มค่า คุ้มทุน และผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด มีผลงานวิจัยปรากฏชัดเจน และการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม ตอบสนองพันธกิจอุดมศึกษาที่ชัดเจนจากการทำงานแบบบูรณาการพันธกิจระดับอุดมศึกษา

การสอน การวัดการประเมินผล สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างน้อย 3 วิธีใน 1 รายวิชา และระบุวิธีการสอน Active Learning ได้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระในรายวิชาที่กำหนด

ผลลัพธ์ ตัวอย่างผลลัพธ์เป็นรูปธรรมการดำเนินการตามวงจรระบบ วิชาชีวเคมี อาจารย์ 3 ท่าน (ทุกคนในภาค) ทำวิจัย นำเสนอเวทีระดับชาติ และรอการตอบรับการตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นเป็นผลงานในปีการศึกษา 2559 ในสังกัดภาควิชาการศึกษาทั่วไปและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

  • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
  • เป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
  • รูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งจะนำมาสู่การพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • ผู้เรียนต้องลงมือทำกิจกรรม มากกว่าการฟัง
  • อธิบายวัตถุประสงค์รายวิชา กระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็นรายวิชาที่เน้นความรู้ และลงมือปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีด้วยเหตุและผล พร้อมทั้งฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (การแบ่งน้ำหนักกระบวนการวัดผล วัดความรู้ K ร้อยละ  60, วัดทักษะ P ร้อยละ 30 และวัดเจตคติ A ร้อยละ 10 )
  • ผลการเรียนรู้ : Learning Outcome ทั้ง 5 ด้านผลลัพธ์สุดท้ายของการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานระดับอุดมศึกษา นักศึกษาได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน

ภาคทฤษฏี

  • Question and answer บทที่ 1 3 4 และ 6 บรรยากาศห้องเรียนเป็นห้องเรียนแนวระนาบ ไม่ใช่ห้องเรียนอัฒจรรย์ ไมค์ลอยแทนไมค์สายเพื่อให้ผู้สอนมีปฏิสัมพันธืกับผู้เรียนมากขึ้น แบ่งกลุ่มตามจังหวัดหรือทุน วัดความรู้ ความจำ ความเข้าใจ เชื่อมโยงทักษะทางปัญญาซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานด้านการคิด และทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ผู้สอนเปิดโอกาสตลอดการบรรยายให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์จากคำถาม คำตอบ
  • Group process บทที่ 2 เรียนจากมัธยม อธิบายโครงสร้างโมเลกุล จากวิชาเคมี และชีววิทยา ผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้สอนทำงานร่วมกัน ผู้สอนอยู่ในกลุ่ม ชี้แนะ มีแบบประเมินให้อาจารย์ประจำกลุ่ม ผู้เรียนวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอ แต่ละกลุ่มได้เนื้อหาต่างกัน นักศึกษามีสมุดบันทึกการเรียนรู้ ดังนั้น จะได้ความรู้ครบเท่ากันทุกคน
  • Game Learn บทที่ 5 วิตามินและเกลือแร่ ฝึกผู้เรียนเคารพในกติกาของเกมส์ (การพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม) เปิดโอกาสให้เรียนรู้ simulation games ใช้เทคโนโลยีในการสร้างเกมส์ ตัดสินใจจากข้อมูล และกระบวนการอภิปรายหลังการเล่นเกมส์จบลงเพื่อสรุปเนื้อหาสาระการเรียนให้ครอบคลุม
  • Instruction Emphasizing Learning Process หรือ self-directed learning บทที่ 7 พันธุวิศวกรรม ให้นักศึกษาเลือกหัวข้อในการศึกษาเอง

ภาคทดลอง

วิธีการสอนโดยการทดลอง เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ เช่น ทักษะการวัด การตั้งสมมุติฐาน การตีความหมาย แปลข้อมูล อภิปรายสรุป เป็นต้น เป็นทักษะการคิดวิเคราะห์ขั้นสูง

ผู้สอนต้องทราบวัตถุประสงค์ทุกครั้งก่อนการทดลองมีอะไรบ้าง บรรยาย ทบทวนความรู้ในภาคทฤษฎีความรู้ก่อนลงมือทำทดลองเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดในห้องทดลอง และการใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์และสารเคมี

วัตถุประสงค์การวิจัย

  • เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนแบบเชิงรุกวิชาชีวเคมี
  • นักศึกษาได้รับการพัฒนาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐาน
  • เพื่อประเมินผลกระทบการเรียนรู้

การดำเนินการวิจัย One group design กลุ่มตัวอย่าง 136 คน

  • เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  • แผนการสอน
  • แบบประเมินผลการเรียนรู้  ด้าน
  • บันทึกหลังการสอนของผู้สอน
  • บันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน
  • แบบประเมินผลกระทบ ถอดหน่วยการเรียนเรียน ผลกระทบจากการเรียนการสอนเชิงรุก
  • ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 140 ข้อ

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

  • อธิบายรายละเอียดวิชา

วิเคราะห์ข้อมูล ความถี่ ค่าเฉลี่ย SD t-test

สรุปผลการวิจัย บรรลุทุกวัตถุประสงค์การวิจัยทั้ง 3 ข้อ ผลกระทบภายหลังการเรียนรู้แบบเชิงรุก ผลเกิดกับนักศึกษา นักศึกษาเกิดความเครียด(บางคน)ที่ต้องตอบคำถามรายบุคคล ผู้สอนจึงใช้การแก้ปัญหาโดยมีส่วนร่วมในการถามตอบเพื่อนช่วยเพื่อน ทีมผู้สอนเดินกระตุ้นนักศึกษาให้ตอบคำถามทั่วห้องเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Action Learning  ต่อไปเพราะรู้สึกตื่นเต้น ต้องเตรียมตัวก่อนเข้าเรียนในหัวข้อต่อไปเสมอ

ผลที่เกิดกับทีมผู้สอน ผู้สอนได้เรียนรู้ร่วมกันในกิจกรรมการสอนแบบ Action Learning  มีประสบการณ์เพิ่มขึ้น มีสมุดบันทึกให้บันทึกการเรียนรู้เพื่อวัดความรู้ สถาบันการศึกษามีการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีงานวิจัยรองรับการจัดการเรียนการสอน Action Learning  อย่างเป็นรูปธรรม

พบปัญหาระหว่างการจัดกิจกรรมในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ในการเรียนแบบทดลอง คือ พื้นฐานนักศึกษาอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก เช่น ชื่อสารเคมี ชื่ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ อาจเนื่องมาจากการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาเรียนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาไทยมากกว่าคำศัพท์เฉพาะด้านวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ ผู้สอนแก้ปัญหาโดยการให้คัดคำศัพท์ด้านวิทยาศาสตร์มาส่ง

การประเมินโครงการและข้อเสนอแนะจากอาจารย์

  • ด้านการศึกษา ทักษะการเรียนรู้จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักศึกษาแก้ปัญหาไม่ได้ ต้องทำวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนที่เพิ่มทักษะการแก้ปัญหา ด้านวิชาการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก การเรียนการสอนแบบสืบสอบ (Inquiry learning method) ผู้สอนอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล หรือ Project-based learning เน้นการทำโครงงาน การอภิปรายในชั้นเรียน การประเมินผลแบบ Formative evaluation การนำเสนอ มคอ. 3 ควรฟังตลอดการประชุม เพื่อช่วยกันดูชิ้นงานนักศึกษา การออกแบบการเรียนการสอนเป็นอย่างไร แลกเปลี่ยนเรียบรู้ร่วมกัน
  • ด้านการวิจัย ไม่ควรเปรียบเทียบวิธีการเรียนการสอนวิธีอื่นๆกับแบบการบรรยาย เพราะทราบคำตอบอยู่แล้ว ควรเปรียบเทียบ Active learning กับวิธีการสอนแบบอื่นๆ ที่ให้นักศึกษาลงมือกระทำการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • ทุกครั้งที่สอนเสร็จในรายวิชานั้น ควรให้นักศึกษาเขียนจดหมายถึงครู บอกความรู้สึกต่างๆที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยไม่ต้องระบุชื่อผู้เขียน เพื่อผู้สอนนำไปสู่การพัฒนาต่อไปหรือเป็นกำลังใจในวิชาชีพครู เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีคุณค่าต่อรายวิชานั้น

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเรียนการสอน Activity-Based Learning โดย โดย ดร.เบญญาภา พรมพุก ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

          ความเป็นมา

          วิชาปัญหา 1 สำหรับนักศึกษาศาสตร์ชั้นปีที่ 2 หัวข้อการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกและข้อ จำนวน 6 ชั่วโมง การบรรยายอย่างเดียวทำให้นักศึกษาเบื่อ จึงพัฒนาการเรียนการสอนให้น่าสนใจ

วัตถุประสงค์ในการเรียน เพื่อให้นักศึกษาสามารถ

  • อธิบายกลไกการเกิดปัญหาสุขภาพของบุคคลวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ที่มีความ
  • อธิบายมโนทัศน์หลักในการดูแลบุคคลวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อ
  • อธิบายการใช้กระบวนการพยาบาลในการแก้ปัญหาสุขภาพของบุคคลวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และ

ผิดปกติเกี่ยวกับ กระดูก ข้อและกล้ามเนื้อ ทั้งในภาวะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรังได้

ความเจ็บป่วย หลักการพยาบาลแบบองค์รวมบนพื้นฐานการดูแลด้วยความเอื้ออาทรด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์แก่บุคคลวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูก ข้อและกล้ามเนื้อ ทั้งในภาวะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรังได้

ผู้สูงอายุ ที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเจ็บป่วย หลักการพยาบาลแบบองค์รวมบนพื้นฐานการดูแลด้วยความเอื้ออาทรด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์แก่บุคคลวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับความผิดปกติเกี่ยวกับ กระดูก ข้อและกล้ามเนื้อทั้งในภาวะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรังโดยเลือกใช้ทรัพยากร เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายกับการดูแลสุขภาพรวมทั้งสามารถให้คำแนะนำในการส่งเสริมสุขภาพของบุคคลในการดูแลตนเองและครอบครัวได้

เนื้อหา 6 หัวข้อใหญ่ พิจารณาเลือกการพยาบาลผู้ป่วยที่บาดเจ็บกระดูและกล้ามเนื้อ

การจัดการเรียนแบบ Activity-Based Learning

  • จัดห้องเรียน แบ่งกลุ่ม 10 กลุ่ม ๆ ละ 12-13 คน 10 นาที อาจารย์ 2 คน (อาจารย์หลักและ TA)
  • ทำ Pre-test Kahoot 10 นาที
  • แจกบัตรคำ 10 คำ และชี้แจงรายละเอียด 5 นาที
  • กลุ่มสืบค้นและสรุปเนื้อหานำเสนอ กรณีศึกษา 20 นาที
  • นำเสนอ พร้อมกับแลกเปลี่ยนหน้าชั้นเรียน กลุ่มละ 5 นาที
  • ทำ Post-test ใน Kahoot 10 นาที
  • เฉลย Test 15 นาที
  • อาจารย์สรุปเนื้อหาและยกตัวอย่างการวิเคราะห์กรณีกรณีศึกษาโดยใช้กระบวนการพยาบาล 2 กรณีที่ครอบคลุมหลักการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกและข้อ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

สรุปการถอดบทเรียน Active Learning

วิธีการสอน

  • TBL ชั้นปี 2 และ ปี 4 จำนวน 2 วิชาปัญหา 1 และมารดาทารก 2
  • กรณีศึกษา ปี 2 จำนวน 2 วิชาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิต และวิชาปัญหา 1
  • Authentic Learning ปี 2 จำนวน 1 วิชา ครอบครัวและชุมชน 1
  • Activity-based Learning ปี 2
  • Games บัตรคำ
  • Group process

วิธีการประเมินผลการเรียน Active Learning

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการเรียนการสอน Active Learning

เกณฑ์การเลือก Good practice

  • ดร.ศิริรัชส์ เสนอประเด็นให้พิจารณา Active learning คือการเรียนการสอนเชิงรุก การลดหน่วยการเรียนบาทครู เพื่อให้นักเรียนมีกิจกรรมการเรียนการสอนมากกว่าการฟังบรรยาย

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการเรียนแบบ Active Learning

  • ทำ PDCA ครบ
  • มีนโยบายของวิทยาลัยที่เข้มแข็ง ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ เช่น เวลาในการจัดการเรียนการสอน
  • คณาจารย์ที่มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน ยินดีที่จะสอนวิธีการแบบ Authentic
  • นักศึกษาให้ความร่วมมือในการเรียน
  • TBL ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการสอน ทัศนคติของอาจารย์ต่อ Kahoot สรุปคือความเชี่ยวชาญและทัศนคติของครูต่อวิธีการสอน
  • แบบประเมินผลการเรียนการสอนที่ชัดเจน วัดได้ เห็นผลชัดเจนกว่าการสังเกตและความสุข
  • มุมมอง ทัศนคติของครูต่อวิธีการสอนนั้น ๆ
  • ความตั้งใจจริงของครู
  • นักศึกษาต้องมีวินัย
  • วิธีการสอนที่ตอบโจทย์ learning by doing เหมาะสมกับเนื้อหา ไม่มีวิธีการใดดีกว่า ผู้สอนถ้าไม่สามารถนำไปใช้ได้ดี เพราะฉะนั้นผู้ออกแบบรายวิชาว่าเนื้อหาแต่ละหน่วยการเรียน จะเหมาะกับการจัดการเรียนการสอนแบบใด การเรียนการสอนเชิงรุกมีข้อดีทุกวิธี
  • การประเมินวิธีการสอนว่าเหมาะสมหรือไม่ ต้องทำ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทำให้ได้ข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนจากภาควิชาอื่น ทำให้ได้พบสิ่งที่ต้องนำไปพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น
หมายเลขบันทึก: 647265เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2018 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2018 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

การจัดการเรียนการสอน Active Learning มีความเหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนในปัจจุบัน และช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์มากกว่าการเรียนแบบฟังบรรยายอย่างเดียว

เป็นประโยชน์มาก คงต้องนำไปใช้จัดการเรียนบ้างแล้วค่ะ 

Authentic Learning ใช้ได้ดีทั้งในคลินิคและชุมชนคะ การสอนโดย Active learning อาจารย์ต้องเอาใจใส่นักศึกษาและใช้เทคนิค Reflective thinking และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะกับสถานการณ์หรือการพยาบาลในแต่ละเคสคะ

จันทร์จิรา อินจีน

เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจอีก 1 วิธีที่ควรนำไปใช้กับนักศึกษาคะ   ดีมากค่ะ

มีการจัดการเรียนการสอนอีหลายวิธีที่น่าสนใจที่ยังไม่เคยได้นำไปทดลองใช้จริงในหัวข้อที่ตนเองสอน คิดวาจะนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ในครั้งหน้าค่ะ

วิธี Activity-Based Learning โดยการทำ Pre-Post Test “Kohoot “และวิเคราะห์กรณีศึกษา และเฉลยแบบทดสอบท้ายชั่วโมงเรียนในภาคทฤษฎี น่าสนใจสำหรับนักศึกษามากค่ะ ถ้านำไปประยุกต์สอนในคลินิกช่วง ทำกรณีศึกษา น่าจะได้รับความสนใจในการนำเสนอมากขึ้นค่ะ

การสอนแบบ Active learning เป็นเทคนิคที่น่าสนใจและใช้มากในการศึกษาทางการพยาบาล ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและจดจำผลการเรียนรู้ได้คงทนและนานกว่า Passive Learning

การสอนแบบ Active learning เป็นเทคนิคที่น่าสนใจและใช้มากในการศึกษาทางการพยาบาล ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและจดจำผลการเรียนรู้ได้คงทนและนานกว่า Passive Learning

เป็นการเรียนการสอนที่ดีมาก อนาคตน่าจะจัดทำเป็นคู่มือการจัดการเรียนการสอนแบบActive learning เพื่อให้อาจารย์ทุกภาควิชาสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาต่างๆได้ครับ

เป็นวิธีการสอนที่ดีเหมาะกับผู้เรียนในยุคนี้ แต่ครูต้องออกแบบการสอนที่ดี และสรุปประเด็นสำคัญให้ได้ ผู้เรียนจึงจะได้รับประโยขน์ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและมีส่วนร่วมดี เหมาะกับวิชาชีพพยาบาลค่ะ

เป็นวิธีการสอนที่เน้นกระบวนการคิดของผู้เรียนได้ดีวิธีหนึ่งค่ะ เน้นให้เด็กใช้ทักษะทางปัญญา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท