ข้อโต้แย้งจากการสังเกต ด้วยเหตุของ “โนราห์”


“มโนราห์” หรือ “โนราห์” มันมีนัยเชิงประวัติของ “คำ” ที่สืบกันมา มิใช่ปรากฏแค่ในถิ่นใต้อย่างเดียว คำนี้มีในถิ่นอื่นด้วย ทั้งในลาว อีสาน เชียงรุ้ง แสนหวี อยุธยา กรุงเทพและภาคใต้ของไทย มันกำลังบ่งบอกว่า “โนราห์” คือรากร่วมในเชิงประวัติศาสตร์บอกความเป็นมาของคนที่ใช้ภาษาตระกูลไท – กะไดด้วย ว่ามีการสืบทอดหรือร่วมใช้กันในทางภาษา

ข้อโต้แย้งจากการสังเกต  ด้วยเหตุของ “โนราห์”

           ข้อโต้งแย้งนี้  ผมเขียนขึ้นเพื่อตอบคำถาม  และโต้แย้งในกลุ่ม "วิเคราะห์ประวัติศาสตร์" ใน Facebook (https://www.facebook.com/group...) ซึ่งได้ถกเถียงกันอย่างน่าสนใจ  ข้อเขียนนี้ผมเขียนขึ้นเพื่อตอยคำถามดังกล่าว 

                 1) ผมยังไม่ได้บอกเลยนะครับ  จากข้อความว่า “โนราห์ (ภาคใต้)”  แสดงเรื่องพระสุธน – มโนราห์ เพราะจากการสอบถามและรวบรวมข้อมูลเมื่อครั้งผมไปสงขลา  โนราห์ (ภาคใต้) มีการแสดงออกไปหลายอย่าง  ทั้งการร้องเพลงปฏิพากษ์โต้ตอบกัน  หรืออาจจะมีการประกอบพิธีกรรมด้วย เช่น พิธีไหว้ครู การรำแก้บน การลงโรงครู 

                2) ผมกำลังตั้งข้อสังเกตคำว่า “มโนราห์”  หรือ “โนราห์” มันมีนัยเชิงประวัติของ “คำ” ที่สืบกันมา  มิใช่ปรากฏแค่ในถิ่นใต้อย่างเดียว  คำนี้มีในถิ่นอื่นด้วย  ทั้งในลาว อีสาน เชียงรุ้ง แสนหวี อยุธยา กรุงเทพและภาคใต้ของไทย  มันกำลังบ่งบอกว่า “โนราห์” คือรากร่วมในเชิงประวัติศาสตร์บอกความเป็นมาของคนที่ใช้ภาษาตระกูลไท – กะไดด้วย  ว่ามีการสืบทอดหรือร่วมใช้กันในทางภาษา  ถ้าเราบอกว่ารับ “โนราห์” มาจากอินเดียจริง  ผมก็อย่างให้ช่วยอธิบายที่มาของคำว่า “โนราห์” เพื่อเป็นคลังข้อมูลเสริมปัญญาของผมหน่อย  ว่ามาจากรัฐไหนของอินเดีย   และมีรากศัพท์ว่าอย่างไร  เป็นคำบาลี สันสฤต มคธ ฮินดี  ถ้าได้ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการค้นคว้าต่อไปมากครับ

                3) การแต่งตัวของโนราห์คล้ายคลึงกับกินรี หรือนก  อีกทั้งองค์ประกอบของการโนราห์นั้น  ต้องมีลูกคู่  ประมาณ 5 – 7 (คล้ายคลึงลักษณะของการเล่นเพลงปฏิพากษ์ของกลุ่มวัฒนธรรมไทย – ลาว) และต้องมีตัวตลกประจำโรงที่เรียกว่า “พราน” มีตัวตลกหญิงที่เรียกว่า “ทาสี”  ซึ่งหากเราสังเกตจะเห็นว่าพราน  เป็นโครงของนิทานเรื่องพระสุธน – มโนราห์ด้วย อีกทั้งตัวละครแต่งตัวคล้ายกินรี  การร่ายรำคล้ายกินรี  ก็ทำให้เราเห็นว่าเค้าเรื่องเดิมน่าจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับพระสุธน – มโนราห์ไม่มากก็น้อย

                ถ้าผมจะขอคัดลอกทัศนะของท่านอาจารย์สุทธิพงษ์ วงศ์ไพบูลย์ ปราชญ์มหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวว่า “มโนราห์ เป็นการละเล่นพื้นเมืองชาวใต้มายาวนาน เมื่อละครชาตรี เคลื่อนสู่ภาคกลาง ชาวใต้เห็นว่ามีลักษณะใกล้ละครจึงเรียก ละครชาตรี  ต่อมามีผู้คิดเอาเนื้อเรื่อง  บางตอนของนิทานเรื่องพระสุธน (ตอนพรานบุญจับนางกินรีได้นางมโนราห์) มาดัดแปลงเป็นแบบชาตรี ดังที่ปรากฏเป็นที่ติดใจของผู้ชม  ติดใจในเนื้อเรื่อง รูปร่างลักษณะ  จึงก่อให้มีการปรับเปลี่ยนเครื่องแต่งกายบางส่วน  มีการประดิษฐ์ท่ารำสอดคล้องกับลีลาของกินรีและแม้กระทั่งพรานบุญ  ก็ถูกยืมชื่อมาใช้เป็นตัวตลก  สิ่งเหล่านี้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของชาตรี  ความนิยมเล่นเรื่องนี้บ่อย ๆ ชนชาวบ้านเรียกว่า โนราห์” อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาจารย์ชาวใต้นะครับ  ผู้สร้างสถาบันทักษิณคดีศึกษา  ที่ผมเคยไปทัศนศึกษา (อ่านได้เพิ่มเติม : http://www.thapra.lib.su.ac.th...)

                4) อีกอย่างที่ผมอยากให้สังเกต  คือ การว่ากลอนของโนราห์เป็นการว่า “กลอน”  อาจจะเป็นกลอนสดหรือกลอนที่ประพันธ์ไว้แล้ว  กลอนเป็นคำประพันธ์ของกลุ่มวัฒนธรรมไทย – ลาว มีสัมผัสในวรรคและสัมผัสเป็นสระ และตัวสะกดเดียวกัน  กลอนลักษณะปรากฏเฉพาะในกลุ่มวัฒนธรรมลาว – ไทย  ถ้าหากกลอนมีในอินเดียตามที่ผู้กล่าวว่าโนราห์มากจากอินเดียจริง  ก็ขอให้แจ้งเบาะแสจะเป็นการดีต่อการศึกษาอย่างยิ่ง 

ท่าที่หนึ่งประนมมือขึ้นตรงหน้า  

ไหว้พ่อแม่ที่มาอย่าเย้ยสรวล 

  ท่าที่สองจีบไว้ข้างอย่างกระบวน

ที่สามเลื่อนเปลี่ยนมือขวาซัดท่ารำ 

  ท่าท่าสี่จีบไว้ข้างวางเพียงเอว  

เปลี่ยนมือเร็วท่าที่ห้าดูน่าขำ 

  ท่าที่หกจีบไว้หลังตั้งประจำ  

เปลี่ยนมือรำท่าที่เจ็ดขึ้นให้เด็ดดี 

  ท่าที่แปดจีบไว้ข้างวางเพียงบ่า

เก้ามือขวาซัดไว้ให้เข้าที่ 

  ท่าที่สิบจีบเหมอหน้าให้ท่าพอดี  

สิบเอ็ดมีเปลี่ยนมือรำทำตามครู 

  ท่าสิบสองเขาควายซัดให้เป็นวง  

จุดประสงค์เครื่องหมายไว้เพียงหู 

  รำท่าสิบสองให้พี่น้องดู  

ได้ทำตามครูสอนแต่ก่อนกาล 

  แล้วรำท่าแม่ลายขยายท่า  

ตามโนราแบบศิลป์ในถิ่นฐาน 

  ได้รำตามครูสอนแต่ก่อนกาล  

แบบโบราณศิลป์ใช้ปักษ์ใต้ไทย

(นายหีด บุญหนูกลับ ผู้แต่ง) 

                จากบทกลอนผมไม่เห็นว่าจะแตกต่างจากกลอนสุภาพ  หรือเพลงยาวเลยสักนิดเดียว  หากจะต่างก็คงเป็นเรื่องของสำเนียง

                5) ประวัติต่าง ๆ ที่พี่ ๆ กล่าวมา จะเห็นว่ามันย่อมแตกต่างกันไป  ขุนอุปถัมภ์นรากร (พุ่ม เทวา) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  , เจิม  เศรษฐ์ณรงค์ (แนวคิดในไทย) ส่วนแนวคิดของธนิต อยู่โพธิ์  ที่บอกว่ามาจากคัมภีร์ทิวยาวทาน  ที่มีชื่อเรื่องว่า “สุธนาวทาน” เป็นคัมภีร์ชาดกภาษาสันสฤตของพุทธศาสนามหายานนั้น  นั้น  ผมไม่เห็นว่ามันจะกลายคำ  หรือตัวอักษรมาเป็นพระสุธน – มโนราห์ เลยด้วยซ้ำ  แต่สุธนชาดก  เป็นเรื่องปัญญาสชาดก ที่พระเถระนักปราชญ์ชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมเรื่องราวปรัมปราที่เป็นนิทานพื้นถิ่นแพร่หลายในยุคนั้น แล้วนำมารจนาเป็นชาดกขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2000 - 22 โดยเขียนไว้ด้วยภาษาบาลี มีทั้งคำประพันธ์ที่เป็นร้อยแก้วและบทคาถาหรือบทร้อยกรองทั้งสิ้น 50 ชาดก  สิ่งนี้เราจะเห็นการแพร่ของวัฒนธรรม  ในเมื่อปัญญาสชาดกถูกประพันธ์ขึ้น

                6) โนราห์ (ภาคใต้) อาจจะพัฒนามาจาก “มะโย่ง” ของมาลายู  ตามแนวคิดของชวน เพชรแก้ว หรือจากอื่น ๆ ก็ได้ ซึ่งถูกรับ / สร้าง / ถ่ายทอดกันออกมาเป็นศิลปะการแสดง  แต่คำว่า “โนราห์” หรือลักษณะคำประพันธ์ เค้าโครงเรื่องดังกล่าว  มันเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เห็นการเคลื่อนตัวของภาษา  และวรรณกรรมลงไปสู่ภาคใต้  หากเป็นอินเดียจ๋า  ตามที่ท่านได้กล่าวมา  จะเป็นบุญตาแก่ผมมากครับผม

                อันนี้  เป็นวิทยานิพนธ์และบทความที่ผมเคยอ่านหลังจากกลับจากสถาบันทักษิณคดีศึกษา  แต่จำไม่ได้ว่ามาจากไหนบ้าง นำมาแบ่งปันทุกท่านครับ  ไม่มีเป็นเอกสารส่วนมากมีแต่ไฟล์  เพราะบ้านผมอยู่ไกลห่างจากใต้  เกือบพันกว่ากิโลเมตรครับ

http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Sirumpa_Chulnaul/fulltext.pdf

http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Thanaporn_Phophet/fulltext.pdf

http://digi.library.tu.ac.th/thesis/lib/1098/03chapter2.pdf

http://digi.library.tu.ac.th/thesis/sw/2400/12CHAPTER_2.pdf

http://www.codi.or.th/downloads/knowledge/Research/Research_080253-1.pdf

http://culturaljornal.wu.ac.th/wp-content/uploads/2017/02/3.1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2.pdf

http://www.saikhawkrabi.go.th/product_images/191-%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%8C.pdf

เรื่องสุธนชาดก  ในปัญญาสชาดก  ที่แต่งขึ้นโดยภิกษุชาวเชียงใหม่ครับ

http://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/index.php/2016-08-20-05-05-37/book/229?page=3

 

หมายเลขบันทึก: 647210เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2018 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2018 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท