กายคตาสติ


             กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน แบ่งเป็น ๕ ตอน คือ 

            - กายานุปัสสนา

            - วิธีเจริญภาวนา มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย ถึงธรรมกาย

            - วิธีเจริญสมถวิปัสสนา กายคตาสติ และนวสีวถิกาปัพพะ

            - มรณสติ- กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน

             กายคตาสติ คือ สติพิจารณาเห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายตามธรรมชาติที่เป็นจริงว่ เป็นแต่ปฏิกูล คือเป็นของไม่สะอาดไม่งาม น่ารักเกียจ หรือเป็นที่ตั้งแห่งปฏกูลโสโครกน่าเกลียด

            เป็นการเจริญภาวนาทีปฏิบัติได้ถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ก็ให้รวมใจหยุดในหยุดกลางขชองหยุด กลางของกลางๆ ดวงธรรมที่ทำให้เห็นในกายมนุษย์ให้ใสแจ่มพร้อมกับนึกอธิษฐานขยาย "ดวงธรรม" และเห็น จำ คิด รู้ คือ "ใจ" ให้โตใหญ่ใสสว่างจนเต็มกายเท่ารที่ทำได้อ่กน แล้วให้อธิษฐานลดระดับสมาธิลงให้เห็นตามสี สัณธาน กลิ่น จามที่เป็นจริง พิจารณาเห็นส่วนต่าง ๆของร่างกาย ก็จะสามารถเห็นได้ชัดเจนพอสมควร

          ส่วนผุ้ถึงกายในกายที่ใสละเอียดเพียงใด ก็ให้รวมใจทุกกายให้อยู่ ณ ศุนบย์กลางกายที่สุดละเอียดนั้น แลวให้เพ่งลงไปตรงกลางของกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ให้เห็นใสสว่าง อธิษฐานขยาย "ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์" และให้โตใหญ่ใสสว่างเต็มกายก่อน แล้วจึงอธิษฐานให้เห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายตามสี สัฒฐาน และแม้กลิ่น ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเห็นได้ชัดเจนย่ิงขึ้น

        สำหรับผู้ถึงะรรมกายแล้ว สามารถจะเห็นได้ชัดเจนดีมาก โดยให้รวมใจทุกกายอยู่ ณ ศุนยกลางธรรมกายอรหัต แล้วพิสดารกาย เจริญญาณสมาบัติ (รูปฌาน)พร้อมกันหมดทุกกายถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต โดยอนุโลม และ)ฏิโลมเพื่อชำระธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ คือ "ใจ" ของทุกกายให้บริสุทธิ์ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ อ่อนโยนควรแก่งาน เพื่อให้อายตนะทิพย์ทำหน้าที่รุ้ เห็น ได้กลิ่น ได้ชัดเจน ดีก่อน

          แล้วจึงรวมใจทุกกายเพ่งลงตรงกลางของกลางศุนย์กลางดวงธรรมทีทำให้เป็นกายมนุษย์ อธิษฐานขยาย "ดวงธรรม" และ เห็น จำ คิด รู้ คือ "ใจ" ให้โตเต็มกายและใสสว่าง

          ก็จะเห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายใสทั่วทั้งหมด ก็ให้อธิฐานละระดับสมาธิลงให้เห้ฯตามสี สัฒฐาน และแม้กลิ่น ตามที่่เป็นจริง แล้วก็พิจารณาดุตั้งแต่เส้นผมบนศีรษะ หนังศีรษะ ล้วนแต่เป็นของไม่สะอาด เป้นที่ตั้งแห่งปฏิกูล อันมีเหงื่อไคล ฝุ่นละออง ขี้รังแค เป็นต้น ถ้าไม่หมั่นชำระล้างก็สกปรก มีกลิ่นเหม็น

         พิจารณาดูต่อมาค อกะโหลกศีรษะ มันสมอง ดุในโพรงจมูก มีน้ำมูก ดุในช่องปากเห็นฟัน ทั้งขี้ฟัน น้ำลาย ไม่สะอาด มีกล่ินเหม็น มีตาก็มีน้ำตา ดูลงมา ตามช่องลำคอ มีเสมหะ (เสลด ) ดุที่กระเพาะอาหาร เห็นอาหารที่เพ่ิงบริโภคเข้าไปใหม่ ผสมกับน้ำดี หรือเก่าที่ยังเลหืออยู่จาการย่อย ดูปอด ตับ หัวใจ ม้าม ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก หรือไส้ทบ ภายในมีกากที่เหลือจากการย่อยที่เปลี่ยนสภาพเป็นคูถ (อุจจาระ) บางรายจะเห็นมีพยาธิอยู่ในลำไส้ด้วย มีมูตร (ปัสสาวะ) อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ทั้งช่องทวารหนักทวารเบา ก็เป้นที่ถ่ายเทสิ่งปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด และมีกลิ่นเหม็นทั้งสิ้น

        ขยายเห้ฯ จำ คิด รู้ ดุออกไปโดรอบ จะเห็นโครงกระดุก มีทั้งไขข้อและเยือในกระดูก มีเนื้อ ไขมันหุ้ม มีเอ็นรัดรึงอยุ่ มีน้ำเลือง มีเลือดที่สูบฉีดจากหัวใจไปตามเส้นโลหิตน้อยใหญ่ ไปตามที่มีเนื้อและพังผืดหุ้มอยู่ มีหนังหุ้ม และมีขน ผม เล็บ อยู่ภายนอก ล้วนแต่เป็นของไม่สะอาด ไม่น่าดู ไม่น่ารักน่าใคร่เลย

       พิจารณาดูทบไปทวนมา ถ้าเห็นไม่ชัด เพราะระดับสมาธิลดลง จนทิพพจักษุทำหน้าที่ไดด้น้อย ก็ให้หยุดในหยุดกลางของหยุด หลางของกลางๆๆๆ ดวงธรรมนั้นให้ใสสว่างเต็มกายขึ้นมาใหา่ แล้วก็อธิษฐานให้เห็นตามสี สัณฐาน และกลิ่นตามที่เป็นจริงอีกก็ได้ ของเราเป็นอย่างไร เมื่อน้อมสังขารร่างกายของคนอื่นมาดูก็เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงว่าเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน

         "กายคตาสติ" หรือ "ปฏิกูลมนสิการ" คือ การพิจารณาเห็นสวนต่างๆ ของร่างกาย เห้นตามธรรมชาติที่เป็นจริงว่าไม่สะอาด เป็นแต่ปฏิกุล โสโครก น่าเกลียด ไม่มีอะไรงดงาม น่ารัก น่าใคร่แต่ประการใดเลย นี้ ช่วยให้จิตใจสงบระงับจากกามฉันทะนิวรณ์ คื อคามหลงยินดี พอใจ ยึดติด อาลฃัยอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ คือส่ิงสัมผัสทางกาย ได้มาก เป็นพื้นฐานสำคัญช่วยให้พื้นฐานของวิปัสสนา คือ ศีลวิสุทธิ และจิตตวิสุทธิ ของพระโยคาวจร เจริญและตั้งมั่นได้ดี ช่วยให้วิสุทธิ ๕ เจริญขึ้นอย่างดี และช่วยให้ผุ้ประพฤติพรหมจรรย์รักษาตัวได้ดี

         "กายคตาสติ" นี้เป็นขั้นสมถกัมมัฎฐาน เมื่อฝึกบำเพ็ญบ่อยๆ ก็จะชำนาญ คือ เมื่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ มากกระทบตา หู ลิ้น กาย ของเราแล้ว แม้กามวิตก อันเป็นธรรมมารมณ์ที่เกิดกับใจ ก็สามารถมีสติพิจารณาเห็นส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทั้งของเขาหรือของเราได้ทันทีตามประสงค จิตใจก็จะสงบระงับ ไม่กำเริบง่ายๆ ช่วยให้มศีลสังวร และอินทรีย์สังวรได้ดี..."หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้น ถึง ธรรมกาย"

        

คำสำคัญ (Tags): #กายคตาสติ
หมายเลขบันทึก: 647191เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2018 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2018 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท