เห็นกายในกาย ถึง ธรรมกาย ตอนที่ ๓


           .... เฉพาะธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น "ดวงกาย" ที่เรียกว่า "ดวงธรรมที่ทำใหเป็นกายมนุษย์" หรือ "ดวงปฐมมรรค" หรือ "ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน" อันประกอบด้วยธาตุละเอียดของมหาภูตรูป ๔  รวมทั้งอากาศธาตุและวิญญาณธาตุดังกล่าวแล้ว เจริญเติบโตเป็น "กาย" คือ "รูปะรรมและ "ใจ" ก็คือ "นามธรรม" 

         ในส่วนของ "ใจ" นั้น ก็ขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ (วิญญาณธาตุ) เป็น "ดวงเห็น" (ธาตุเห็นอยู่ในท่ามกลางดวงนี้ป ขนาดประมาณเท่าเบ้าตาของผุ้เป็นเจ้าของ "ดวงจำ" ขนาดเท่าดวงตาทั้งหมด "ดวงคิด" เท่าดวงตาดำ ใสบริสทุะิ์ ลอยอยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงของหัวใจ ประมาณเท่า ๑ ชองมือของผุ้เป็นเจ้าของ และ "ดวงรู้" ขยายส่วนหยาบออกมาจากวิญญาณธาตุ ขนาดเท่าแววตา ในสว่าง นี้คือส่วน "นามธรรม" 

          สำหรับผุ้ที่ยังิได้เรียนหลักปริยัติมาก่อน ก็อาจจะยังไม่สามารถวิเคราะห์แยกแยะธรรมที่ตนปฏิบัติได้รู้เห็นนี้ ชัดเจน ตามหลักปริยัติหรือตามภาษาพระได้แต่พระโยคาวจรผุ้มีพื้นความรุ้ในหลักปริยัติ ก็จะทราบความรู้เห็นนีว่า กำลังผ่าน และดำเนินไปตามอนุปัสสนาญาณโดยลำดับ กล่าวคือ

          เมื่อพิจารณาเห็นธาตุละเอียดของเบญจขันธ์ คือ ธาตุละเอียดของรุปขันธ์ขยายสวนหยาบออกมาเป็น "ดวงกาย" อันประกอบด้วยมหาภูมิตรูป ๔ ซึ่งเจริญเติบโตเป็นกาย คือ "รูปะรรม" กับะาตุละเอียดของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งขยายส่วหยาบออกมาเป็น ดวยเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ อันรวมเรียกว่า "ใจ" คือ "นามธรรม" ว่า หมดทั้งเบญจขันธ์ เมื่อย่อลงก็เป็น ๒ คือ นามธรรม กับรูปธรรม หรือกล่าวโดยย่อ นิยมเรียกว่า "นามรูป"

          การพิจารณาเห็นนามรู ดังนี้ ก็คือ "นามรูปปริจเฉทญาณ" และเมื่อพิจารณาเห็นเหตุปัจจัยแห่งนามรูปว่า อวิชชา ตัณหา อุปสทาน กรร อาหาร และผัสสะ เป็นต้น เหล่านี้เองที่เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป ความรุ้เห็นนี้ ก็คือ "นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ" และ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดดับแห่งนามรุป ทั้งจากส่วนละเอียด ตั้งแต่ธาตุละเอียดของเบญจขันธ์ที่ขยายส่วนหบาบออกมาเป็นดวงกายและใจ (วงเห็น จำ คิด รู้) และทั้งส่วยหยาบ คือที่เจริญเติบโตเป็นกาย และใจ จิต วิญญาณ อันแสดงสามัญญลักณะคือความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) เพราะแปรปรวนไป (วิปริณามธมฺมโต) และเป็นของมิใช่ตัวตนที่เที่ยงแท้แน่นอนของมคร (อนตฺตาป ก็คือ "สัมมสนญาณ" และอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ" นั่นเอง

          แงะนี้ก็คือ การมีสติพิจารราเห็นกายในกาย ณ ภายใน (ของตนเองป ได้แก่ การมีสติพิจารณากเห็นลมหายใจเข้าออก จนลมละเอียดและหยุด (ระงับกายสังขาร) ในข้อ "อานาปานปัพพะ" และมีสติพิจารณาเห้นอุปาทินนกสังขาร ได้แก่ เห็นสังขารร่างกายของเรานี้ เป็นสักว่าเป็นธาตุ (น้ำ ดิน ไฟ ลมป ในข้อ "ธาตุปัพพะ" นั่นเอง..."หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนาเบื้องต้น ถึงธรรมกาย"

หมายเลขบันทึก: 647106เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2018 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2018 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท