บำเพ็ญสติปัฎฐาน ตอนที่ ๒


           ขั้นอนุปัสสนา คือ เมื่อพระโยคาวจรอบรมจิตใจ ให้สงบ ให้หยุด ให้ิ่่ง ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อันเป็นธรรมเครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญานั้น เป้น "จิตตวิสุทธิ" แล้ว มีสติพิจารณา เห้นกายในกาย เวทนานในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม บรรดาที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งชื่อว่า "สังขาร/สังขตธรรม" ทั้งปวง ให้เห็นแจ้งชัดตามธรรมชาติที่เป็นจริง ว่า มีสามัญญลักษณะ คือมีลักาณะที่เป้นเองโดยธรรมชาติเสมอกันหมด ที่ไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) เพราะต้องแปรปรวนไปเป็นธรรมดา (วววิปริณมมฺธมฺมโต) จึงมิใช่ตัวตน บุคคล เราเขา ของเรา-ของขา (อนตฺตา) นี้เป็น "วิปัสสนาปัญญา" ที่เกิดขึ้นแจ้งชัด ตั้งแต่มัคคามัคคญาณทัสสนิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนาวิสุทธิ เจริญวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ ต่อไป ตั้งอุทยัพพยญาณ จนถึงสัจจานุโลมิกญาณ ปรีชาญาณเป็นไปสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจ ๔

        ขั้นโลกุตรวิปัสสนา คือ เมื่อพระโยคาวจร เจิรญวิปัสสนาเปัญญาแล้ว ใช้ตาเหรือญาณธรรมกาย พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อันมีอริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ เป็นต้นต่อไป จนเห็นแจ้งแทงตลอดพระอริยสัจ ๔ เ็นไปในญาณ ๓ (สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญณ) มีอาการ ๑๒ นี้เป็น "โลกุตตรปัญญา" อันเป็นลำดับแห่งญาณทัสสนวิสุทธิ (วิสุทธิที่ ๕) 

        ขณะเมื่อธรรมกายทำนิโรธถึงอายตนะนิพพาน โคตรภูญาณยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ มรรครวมเป็นเอกสมังคี มรรคจิตมรรคปัญญาเกิดและเจริญขึ้น เป้นโลกุตตรมรรค (มรรคญาณ) ทำหน้าที่ปหาร (ละ) สัญโญชน์กิลเศเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย ๓ ประการ คือ สักายทิฎฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้แล้ว ก้าวล่วงข้ามโคตรปุถุชน เป็นพระอริยบุคคล บรรลุอริยมรรค อริยผล ตามระดับภูมิธรรมทีปฏิบัติได้แล้ว ธรรมกายอริยผลนั้นเข้าผลสมาบัติ พิจารณามรรค ผลกิเลสที่ละได้ และกิเลสที่ยังเหลือ (กรณ๊พระเสขบุคคล) และพิจารณาพระนิพพาน อันเป็น วิสังขาร/อสังขตธรรมด้วยปัจจเวกขณญาณ ให้เห็นแจ้งพระนิพพานทั้งดดยสภาวะ ผุ้ทรงสภาวะ และอายตนะนิพพาน ว่า เป็นวิสังขาร/ อสังขตธรรม ที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (อสงฺขตํ) เป็นธรรมชาติที่ไม่ีความเกิด (อชาตํ) อีก จึงไม่มีความแก่ (อชรํ) ไม่เจ็บไข้ (อพฺยาธิ)/อนาพาธํ) ไม่เคลื่อน (อจจตํ) คือ ไม่ตาย (อมตํ) เป็นธรรมชาติที่คงที่ (ตาทิ) ที่เที่ยง (นิจฺจํ) เป็นบรมสุข (นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ) ยั่งยืน (ธุวํ) มั่นคง (สสฺสตํ) เป็นธรรมมีเจ้าของ (สสมากิกํ) คือเป็นธรรมเฉพาะของพระอริยเจ้าพระอรหัตเจ้า ผุ้ได้บรรลุแล้ว

        ดังพระพุทธดำรัสว่า 

        " ชญฺญา นิพฺพานมตฺตโน พึงรู้พระนิพพานของตน" ดังมีอรรถาธิบายว่า 

         "ความว่า พระนิพพาน อันเป็นอสังขตธาตุ นำมาซึ่งความสุขโดยส่วนเดียว โดยเป็นอารมณ์อันดีเยื่ยมแก่มรรคญาณผลญาณ วึ่งได้โวหาร (ชื่อ) ว่า "อัตตา" เพราะพระนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของปุถุชนอื่น แม้โดยที่สุดความฝัน แต่เพราะพระนิพพานเป็นแผนกหนึ่งแห่งมรรคญาณแฃละผลญาณนั้น ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และเพราะพระนิพพานเป็นเช่นกับอัตตา จึงตรัสว่า "อตฺตโน" (ของตน)"

          อันแสดงอัตตลักษณะ คือ ลักษณะที่เป็น "อัตตา" (ตัวตน) แท้ ที่ตรงกันข้าามกบอนัตตลักษณะของสังขาร/สังขตธรรมทั้งปวงทุกประการ ดังพระสารบุตรได้แสดงธรรมไว้ในเรื่อง "ภิกษุย่อมได้อนุดลมขันติ (พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ด้วยปัญญา โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา) ด้วยอาการ ๔๐ หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ย่อมหยั่งลงในขณะแห่งมรรคและผล) คือย่อมหยั่งลงสู่ความเที่ยง ต่อการบรรลุมรรค ผลนิพพาน ด้วยอาการ ๔๐ นี้เป็น "โลกุตตรปัญญา" ..บ้างส่วนจาก "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนาเบื้องต้นถึงธรรมกาย"


หมายเลขบันทึก: 646892เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2018 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2018 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท