พบแมลงศัตรูพืช หรือโรคพืชในสวน จะทำฉันท์ใด..?


แค่พบหนอน 1 ตัว หรือโรคพืช 1 จุด เกษตรกร ก็ "มโน" เอาเองว่า หนอนน่าจะมีเต็มสวน หรือโรคพืชกำลังระบาดทั้งสวน กลัวมากๆๆๆๆๆๆๆๆ ถึงขั้น สติแตกกันเลยทีเดียว

หากเกษตรกรเดินเข้าสวน หรือแปลงเกษตรกรรม แล้วพบหนอนสัก 1 ตัว หรือพบโรคพืชสัก 1 จุด

จะรู้สึกอย่างไร...?

.

ก็รู้สึกต๊กกะใจ....มาก 

กลับบ้านไปเอาเครื่องพ่นยา พร้อมยาพ่น แล้วก็ลุยพ่นมันทั้งสวนเลย เพื่อความชัวร์

.

ลองคิดดูใหม่นะคะ

เกษตรกรเคยนึกสงสัยบ้างไหมว่า 

ถ้าวันนั้น มันดันมีหนอนอยู่แค่เพียงตัวเดียว (ตัวเดียวจริงๆ) หรือโรคพืชเพียง 1 จุด 

แต่บ้ังเอิญเกษตรกรไปเห็นเข้า 

จะนับความเป็นความซวยของเจ้าหนอน เพราะเป็นวันชะตาขาด 

หรือเป็นการทำลายโรคพืชเพียงจุดเดียว

ถ้าของแปลงเกษตรเล็กๆ ไม่ถึงไร่ 

หรือเป็นแปลงเกษตรขนาดใหญ่เป็นร้อย เป็นพันไร่ล่ะ 

.

สิ่งที่สูญเสียตามมา คืออะไร

- ค่ายากำจัดศัตรูพืช 

- น้ำมันเติมเครื่องพ่นยา 

- น้ำมันเติมรถที่ใช้ในการเข้าไปพ่น 

- ค่าสึกหรอเครื่องจักรกล 

- ค่าแรงงานคนพ่นยา 

- สารพิษตกค้างในแปลงเกษตร 

- สารพิษที่สะสมเข้าไปในตัวคนพ่น หรือเจ้าของแปลงเกษตร ที่ดันเดินเข้าไปสำรวจการพ่น ฯลฯ

- ยิ่งแปลงใหญ่ ยิ่งเปลืองหนัก 

.

แค่พบหนอน 1 ตัว  หรือโรคพืช 1 จุด

เกษตรกร ก็ "มโน" เอาเองว่า หนอนน่าจะมีเต็มสวน หรือโรคพืชกำลังระบาดทั้งสวน

กลัวมากๆๆๆๆๆๆๆๆ ถึงขั้น สติแตกกันเลยทีเดียว

.

ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์สติแตกเกิดขึ้น จนถึงขั้นเส้นเลือดในสมองแตก 

เมื่อเกษตรกรพบเห็นศัตรูพืช หรือโรคพืช ในแปลงเกษตร จึงต้องมีการประเมินสถานะการณ์เสียก่อน 

ว่ามันใช่การระบาดของศัตรูพืช หรือโรคพืช หรือไม่

.

ก่อนอื่น เกษตรกรต้องมาทำความเข้าใจ กับคำ 2 คำนี้ก่อนนะคะ

1. พยากรณ์ศัตรูพืช หรือโรคพืช

2. การเตือนการระบาดศัตรูพืช หรือโรคพืช      

.

**การพยากรณ์   หมายถึง  การคาดการณ์ล่วงหน้า ว่าจะมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อไร เดือนไหน ปีไหน  การคาดการณ์ที่แม่นยำได้ จะต้องมีการเก็บข้อมูล หรือมีประวัติย้อนหลังของการระบาดต่างๆ หลายๆ ปี  ซึ่งการเก็บข้อมูลนี้ เกษตรกรจะต้องเก็บอย่างต่อเนื่อง

**การเตือนการระบาดศัตรูพืช   หมายถึง  การแจ้งให้เกษตรกรรับทราบล่วงหน้าในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ว่าจะเกิดการระบาดของศัตรูพืชอะไรขึ้นบ้างในช่วงระยะเวลาๆ หรือในช่วงภาวะแต่ละฤดู ซึ่งการเตือนการระบาดนี้ มักจะทำความเข้าใจจากประสบการณ์ของเกษตรกร ที่เคยทำการเกษตรแปลงเดิมๆ มีข้อมูลจากปีที่ผ่านมา หรือหลายๆ ปี ที่ผ่านมา  โดยสังเกตจากการเกิดการระบาดในช่วงระยะของการเจริญเติบโตของพืช ที่มักจะมีแมลงเข้าทำลายตามช่วงเวลาต่างๆ กัน  ยกเว้นศัตรูพืชบางชนิด ที่มันเข้าทำลายทุกฤดูกาล ตลอดทั้งปี

.

ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดของแมลงศัตรูพืช หรือโรคพืช :

จะว่าไป แมลง หนอน หรือศัตรูพืชในรูปแบบต่างๆ มันจะเติบโตได้ดี แข็งแรง และแพร่พันธุ์ลูกหลานออกมาทำลายพืชผลการเกษตรได้  มันมีปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้ค่ะ 

*พันธุ์พืช

อย่างไร ถ้ามันจะเกิดศัตรูพืชได้ ก็ต้องมีของให้มันกิน  

พืชที่มันกินได้ต้องมี ถ้ามี มันก็อิ่ม และพร้อมจะผสมพันธุ์ วางไข่ แพร่ทายาทของพวกมัน 

ก็คงจะห้ามมันยากอยู่ ดังนั้นถ้าจะปลูกพืชอะไร แล้วหวังว่าแม้จะเกิดการระบาดของแมลง หรือโรคพืช ก็จะยังคงมีเหลืออยู่

ก็ควรสรรหาพันธฺุ์พืชที่มันทนต่อการเข้ัาทำลายของศัตรูพืชเหล่านั้นบ้างค่ะ

.

*ความชื้น 

หมายถึงความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ หากมีมากตั้งแต่ระดับ 80 % ขึ้นไป แมลง หรือโรคพืชหลายๆ อย่างจะมีโอกาสจะเกิดการระบาดขึ้นได้

.

*ฝน 

ฝนที่ตกลงมา มากจนเกิดการท่วม และไหลไปยังที่ต่างๆ ย่อมนำพาโรค หรือพาหะนำโรค หรือสัตว์ทำลายพืชไปด้วย ก็จะเป็นการขยายการระบาดไปสู่แปลงอื่นๆ ยิ่งถ้าท่วมแบบ น้ำไม่ยอมลด แน่นอนรากพืช โคนพืช จะเกิดอาการขาดออกซิเจน เกิดภาวะรายเน่า โคนเน่า ใบเหลืองทั้งต้น และยืนต้นแห้งตายสนิท

.

*ลม 

สามารถนำพาการแพร่กระจายของโรค และแมลงศัตรูพืช จากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว

.

*อุณหภูมิ  

ไม่ว่าจะร้อนมาก ร้อนปานกลาง หนาว หรือหนาวมาก โรคพืช และแมลงศัตรูพืชที่เหมาะสมในแต่ละสภาวะอุณหภูมิต่างๆ ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ

.

*ช่วงระยะของการเจริญเติบโตของพืช

แมลง หรือ โรคพืชบางชนิด มันก็มักจะเลือกเข้าทำลายในช่วงที่พืชเจริญเติบโต ไม่ว่าจะแตกใบอ่อน ออกดอก ออกผล  แมลง หรือโรคพืชแต่ละชนิด มันก็ชอบเสียด้วยสิ

.

*ความหนาแน่นของการเพาะปลูกพืช

เกษตรกรที่ปลูกพืชหนาแน่นเกินไป ทำให้แมลงมันสะดวกที่จะเดินทางจากต้นหนึ่ง ไปอีกต้นหนึ่ง หรือบางครั้งความหนาแน่น นอกจากจะทำให้พืชโตช้า เพราะต้องแย่งอาหารกันเองแล้ว ยังทำให้อากาศไม่ระบายถ่ายเท ทำให้มีสภาวะของอากาศที่เหมาะสมที่จะเกิดการระบาดของแมลง หรือโรคพืชได้ดี               

.

*สภาพพื้นที่ หรือดินที่อยู่ในแปลงเพาะปลูก

เป็นปัจจัยที่สำคัญ ถ้าดินไม่ดี พืชเจริญเติบโตได้ไม่ดี อ่อนแอ แมลงศัตรูพืช หรือโรคพืช ก็จะสามารถเข้าทำลายได้ง่าย

.

*ศัตรูตามธรรมชาติ 

หมายถึงพวกสัตว์ต่างๆ ตามธรรมชาติ ที่อาศัยร่วมกันอยู่ภายในแปลงเกษตร เช่น ตัวห่ำ ตัวเบียน หรือเชื้อโรคเฉพาะถิ่นบางชนิดในแปลงนั้นๆ

.

*บริบทภายในสวน หรือสภาพปัจจัยแวดล้อม ที่เกิดจากการกระทำของเกษตรกรเอง อาทิ

.      - การให้ปุ๋ย โดยให้มาก หรือให้น้อยไป หรือให้ปุ๋ยผิดประเภท ทำให้ปุ๋ยเหลือตกค้าง 

.      - การให้น้ำ โดยให้น้ำมาก หรือน้อยเกินไป การทำเขตกรรม (การเตรียมแปลง ก่อนเพาะปลูก หรือหลังการเก็บเกี่ยว)

.      - การสำรวจ  การหมั่นตรวจแปลงของเกษตรกร ทำการจดบันทึกข้อมูล  รวมถึงการติดตามข่าวการพยากรณ์ หรือการระบาดของแมลง หรือโรคพืช ของหน่วยงานราชการด้านการเกษตรฯ

.      - การดำเนินการของตัวเกษตรกร เช่นการวินิจฉัย ตัดสินใจพ่นยา การเลือกยา หรือเลือกวิธีการป้องกัน กำจัดแมลง และโรคพืชภายในแปลงเกษตร

วันนี้ขออนุญาต นำข้อมูลแนวทางการสำรวจตรวจนับ และแนวทางวินิจฉัย

จากคุณสมเกียรติ โสภา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรฯ มาให้ศึกษาดู นะคะ

.

แนวทางการสำรวจตรวจตรวจนับศัตรูพืช/ศัตรูธรรมชาติ

1. การสุ่มสำรวจตรวจนับ

          ในการสำรวจแปลงจุดสุ่มสำรวจ (Sampling Unit) ระยะห่างระหว่างจุด ควรดูความเหมาะสมของแปลง ถ้าแปลงมีพื้นที่กว้างจุดควรอยู่ห่างกันพอสมควร  โดยการกำหนดก้าวเดิน เช่น 5 หรือ 10 ก้าวต่อหนึ่งจุดสำรวจ  

           ทั้งนี้จุดสำรวจตรวจนับฯ  ควรจะกระจายครอบคลุมพื้นที่แปลงปลูก  

           ถ้าเป็นแปลงที่ยกร่อง จุดควรเรียงเป็นแถว  ไปตามความยาวของแปลง 

           จำนวนจุดไม่ควรน้อยกว่า 10 จุดต่อ 1 แปลง 

           สำรวจยิ่งมากจุดความถูกต้องก็ยิ่งมีมากขึ้น  

**ในกรณีที่จำนวนศัตรูพืชที่สำรวจพบมีปริมาณมากเกินกว่าสัดส่วน 1:5 (ศัตรูธรรมชาติ : ศัตรูพืช) ควรสำรวจซ้ำอีกครั้ง โดยเปลี่ยนทิศทางการเดินเพื่อความถูกต้องในการตัดสินใจหาวิธีการกำจัด                                             

หมายเหตุ  :  การสำรวจควรสำรวจทุกต้นภายในระยะ  1  ตารางเมตร  

.

2. วิธีการสำรวจตรวจนับ

          2.1 แมลง นับจำนวนที่พบในแต่ละชุด

          2.2 โรค สำรวจการเกิดโรคในแต่ละจุด ถ้าพบใส่ 1 มาพบใส่ 0

          2.3 สัตว์ศัตรูพืช เช่น

                   *หนู สำรวจร่องรอยการทำลายในแต่ละจุด ถ้าพบ ใส่ 1 ไม่พบใส่ 0

                   *หอยเชอรี่ นับจำนวนตัวหอยรอบจุดสำรวจ พื้นที่ 1 ตารางเมตร

                   *กลุ่มไข่หอยเชอรี่ นับจำนวนกลุ่มไข่รอบจุดสำรวจ พื้นที่ 1 ตารางเมตร

.

3. ขนาดแปลง 

          1-2 ไร่ สำรวจ 10 จุด กระจายทั่งแปลง 

          นาดำ 1 กอ ต่อจุด 

          นาหว่าน 10 ต้น ต่อจุด

.

4. เกณฑ์การตัดสินใจ

          4.1 การสำรวจครั้งแรก ถ้าพบศัตรูพืชมีปริมาณน้อย  ปัจจัยอื่น ๆ ไม่เหมาะสมต่อการเพิ่มประชากร เช่น สภาพแวดล้อม อายุพืช ศัตรูธรรมชาติมีมาก (อัตราส่วนของศัตรูธรรมชาติต่อศัตรูพืช 1: 5 ตัว) การกระจายตัวของศัตรูพืชน้อย

                 การปฏิบัติ รอดูข้อมูลในการสำรวจครั้งต่อไป

          4.2 กรณีพบศัตรูพืชมีปริมาณมาก และปัจจัยอื่น ๆ เหมาะสมต่อการระบาดเพิ่มมากขึ้น

                การปฏิบัติ ให้เดินสำรวจอีกครั้งโดยเปลี่ยนทิศทางการเดินใหม่(เส้นทแยงมุมแล้ว) แจ้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. ให้ประชาสัมพันธ์ ให้เกษตรกรข้างเคียงทราบสถานการณ์หรือพิจารณาเลือกช่องทางประชาสัมพันธ์ ตามความเหมาะสม

          4.3 กรณีสำรวจพบศัตรูพืช มีการระบาดรุนแรง ทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต

                การปฏิบัติ วางแผนการป้องกันกำจัดโดยเร่งด่วน

          4.4 การสำรวจครั้งต่อไป การปฏิบัติเหมือนครั้งแรก

          4.5 ใช้วิธีวิเคราะห์  ข้อมูลตามวิธีการโรงเรียนเกษตรกร

.

วิธีการสำรวจตรวจนับใน  กลุ่มพืช

ขนาดแปลง และจำนวนจุดที่สำรวจ

1. ไม้ผล  พื้นที่สำรวจ  

    แปลงละ 3 ไร่ ขึ้นไป

    สำรวจแปลงละ 10 ต้น/ละ 4 ทิศ/ ละ 5 ใบ  หรือ 

    ยอด หรือ ดอก ต่อต้น รวม 20 ใบ หรือ

    ยอด หรือดอก ต่อต้น กระจายทั่วแปลง

.

2. ข้าว พื้นที่สำรวจ  

    แปลงละ  1 –2 ไร่ ขึ้นไป

    สำรวจแปลงละ 10  จุด 

    นาดำ 1 กอ /จุด  

    นาหว่าน 10 ต้น /จุด กระจายทั่วแปลง

.

3. พืชผัก พื้นที่สำรวจ 

   แปลงละ  1- 2 งาน ขึ้นไป

   สำรวจแปลงละ 10 จุด กระจายทั่วแปลง

.

4. พืชไร่ พื้นที่สำรวจ 

    แปลงละ3 ไร่ ขึ้นไป

    สำรวจ แปลงละ 10 จุด กระจายทั่วแปลง

.

5. ไม้ดอก-ไม้ประดับ  พื้นที่สำรวจ 

     ประมาณ 1 งาน

     สำรวจ แปลงละ 10 จุด กระจายทั่วแปลง

หมายเหตุ     ศัตรูพืชบางชนิดจำนวนจุดที่สำรวจหรือวิธีการสำรวจแตกต่างไปจากนี้ 

                   ให้ดูรายละเอียดในตารางชนิดศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการสำรวจ / ตรวจนับ 

.

ตารางชนิดศัตรูพืชที่สำคัญ และวิธีการสำรวจ/ตรวจนับ

ชนิดพืช

ชนิดศัตรูพืช

วิธีการสำรวจ / ตรวจนับ

ไม้ผล  


ทุเรียน

เงาะ

ลองกอง

มะม่วง

มังคุด

ส้มเขียวหวาน

ลำไย 

ลิ้นจี่

หนอนชอนใบ 

หนอนกินใบ 

ไรแดง  

เพลี้ยไก่แจ้ 

หนอนกินดอก

เพลี้ยจักจั่นมะม่วง  

เพลี้ยจักจั่นฝอย 

เพลี้ยไก่แจ้ส้ม 

หนอนแก้ว-ส้ม  

มวนลำไย  

ไรกำมะหยี่ 

นับจำนวน ศัตรูพืช ที่เข้าทำลายตามส่วนต่างๆของพืช

เพลี้ยไฟ

เคาะตัวเพลี้ยไฟ จากยอด หรือใบอ่อน หรือช่อดอก ลงบนกระดาษขาว แล้วนับจำนวน ตัว

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน 

ใช้กับดักแสงไฟสำรวจตัวเต็มวัย

สำรวจไข่ผีเสื้อที่ผลทุเรียนทั้งต้น หรือผลที่ถูกทำลาย

หนอนด้วงยาวเจาะลำต้นทุเรียน

สำรวจดูร่องรอยการเจ้าทำลายที่ต้น และกิ่งใหญ่ ทุกกิ่ง

สำรวจตัวเต็มวัย

หนอนเจาะผลทุเรียน

นับจำนวนผลที่พบการทำลายทุกผล / ต้น

โรคราใบติด  

โรคราแป้ง 

โรคแอนแทรกโนส  

โรคแคงเกอร์ 

โรคใบไหม้

สำรวจที่ใบ/ดอก/ผล คิดเป็น %  ของ ของโรคที่เกิดต่อต้น

ผีเสื้อมวนหวาน

สำรวจผีเสื้อตัวเต็มวัยในกับดัก

แมลงวันผลไม้

สำรวจแมลงในกับดัก

โรครากเน่า

โคนเน่าทุเรียน

นับจำนวนต้นที่เป็นโรคทั้งแปลงใส่ผลรวม

ชนิดพืช

ชนิดศัตรูพืช

วิธีการสำรวจ / ตรวจนับ

 

ข้าว

หนอนม้วนใบ 

แมลงสิง 

หนอนกระทู้กล้า 

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

แมลงหล่า

นับจำนวนศัตรูพืชที่พบ / จุด

 

 

หนู

สำรวจร่องรอย การทำลายของหนูทั้งแปลง พบกี่จุดใส่เป็นผลรวม

 

หอยเชอรี่

นับจำนวนไข่ หรือตัวหอย ที่พบ ทั้งแปลงใส่เป็นผลรวม

 

 โรคไหม้  

โรคใบหงิก (โรคจู๋) 

โรคใบจุดสีน้ำตาล 

โรคเมล็ดด่าง

นับจำนวนใบ หรือ รวงที่เกิดโรค จุดละ 10 ใบ หรือรวง

 

พืชไร่      

อ้อย

หนอนกอ  

ด้วงหนวดยาว

สำรวจต้นที่แสดงอาการ ยอดเหี่ยว ทั้งแปลง ใส่ผลรวม

 

โรคใบขาว  

โรคเหี่ยวเน่าแดง

สำรวจต้นที่แสดงอาการ ทั้งแปลง ใส่ผลรวม

 

ถั่วเหลือง

หนอนเจาะฝัก  

หนอนกระทู้ผัก  

หนอนหลอดหอม

 นับจำนวนตัว / จุด

 

โรคราสนิม โรคใบจุดนูน

 สำรวจอาการของโรคคิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อต้น

 

หนู

 สำรวจร่องรอย การทำลายของหนูทั้งแปลง ใส่ผลรวม

 

พืชผัก

พืชตระกูลกะหล่ำ

หนอนใยผัก 

ด้วงหมัดผัก 

หนอนกระทู้ผัก 

หนอนกระทู้หอม

หนอนคืบกะหล่ำ

นับจำนวนศัตรูพืชที่พบ ต่อ จุด

 

 

ตระกูลพริกมะเขือ

โรคใบจุด  

โรคราน้ำค้าง

 สำรวจอาการของโรคคิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อต้น          

 
 

 หนอนเจาะผล

 นับจำนวนตัว / จุด

 

 เพลี้ยไฟ

 เคาะตัวเต็มวัยลงบนกระดาษขาว นับจำนวนตัว / จุด

 

 โรคเหี่ยว

 สำรวจทั้งแปลง นับจำนวนต้นที่เป็นโรคใส่ผล รวม

 

โรคแอนแทรกโนส

 สำรวจอาการของโรคคิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อต้น


ชนิดพืช

ชนิดศัตรูพืช

วิธีการสำรวจ

ตระกูลถั่ว

 

 

หนอนเจาะฝัก

สำรวจฝักที่ถูกทำลายต่อต้น

หนอนแมลงวันเจาะลำต้น  

เพลี้ยอ่อน

 สำรวจต้นที่ถูกทำลาย/แปลง

โรคราสนิม  

โรคราน้ำค้าง

สำรวจอาการของโรคคิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อต้น

ตระกูลแตง

เพลี้ยไฟ

เคาะตัวเต็มวัยลงบนกระดาษขาว นับจำนวนตัว/จุด

โรคราน้ำค้าง

สำรวจอาการของโรคคิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อต้น

 

หน่อไม้ฝรั่ง

 

 

เพลี้ยไฟ

เคาะตัวเต็มวัยลงบนกระดาษขาว นับจำนวนตัว/จุด

หนอนเจาะสมอฝ้าย  

หนอนกระทู้หอม

นับจำนวนตัว/จุด

โรคไหม้

สำรวจทั้งแปลงนับจำนวนต้นที่เป็นโรค ใส่ผลรวม

กล้วยไม้

 เพลี้ยไฟ

 

เคาะตัวเต็มวัยลงบนกระดาษขาว นับจำนวนตัว/จุด

 

หมายเหตุ : ขออนุญาต เผยแพร่ข้อมูลของคุณสมเกียรติ โสภา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร นะเจ้าค่ะ

หมายเลขบันทึก: 646711เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2018 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2018 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

Absolutely excellent advice!

Assessment instead of blind panic. Knowing the causes and the effects before launching correction measures is what we have learned in 'ariya - sacca 4' (but haven't really applied enough).

I spent 6 nights going around 20+ citrus trees catching and counting fruit piercing moths (Eudocima fullonia - with ruby red eyes in torch light). The catches were 50+ in the first night and down to 4 last night. And the numbers of fruits dropped came down from 40+ to 1. I can now say with confidence that I am winning this battle (not the war against fruit piercing moths - they will come again ;-) without using a drop of poison.

Spraying in big orchards drive those moths elsewhere to 'organic' back yards (like mine). 

คำแปล

คำแนะนำที่ยอดเยี่ยมอย่างแน่นอน!

การประเมินผลแทนการตื่นตระหนกตาบอด การทราบสาเหตุและผลกระทบก่อนที่จะเริ่มมาตรการแก้ไขคือสิ่งที่เราได้เรียนรู้ใน ‘ariya - sacca 4’ (แต่ยังไม่ได้ใช้จริง ๆ )

ฉันใช้เวลา 6 คืนไปรอบ ๆ ต้นส้มกว่า 20+ ต้นที่จับและนับผีเสื้อกลางคืนผลไม้ (Eudocima fullonia - ด้วยดวงตาสีแดงทับทิมในแสงคบเพลิง) จับได้มากกว่า 50+ ในคืนแรกและลดลงไป 4 คืนเมื่อคืนนี้ และจำนวนของผลไม้ลดลงมาจาก 40+ เป็น 1 ตอนนี้ฉันสามารถพูดได้อย่างมั่นใจว่าฉันชนะการต่อสู้ครั้งนี้ (ไม่ใช่สงครามต่อต้านแมลงเม่าเจาะผลไม้ - พวกเขาจะกลับมาอีก ;-) โดยไม่ต้องใช้พิษสักหยด

การพ่นในสวนผลไม้ขนาดใหญ่ขับไล่แมลงเม่าเหล่านั้นไปยังสนามหลังบ้าน ‘ออร์แกนิก’ (เหมือนของฉัน)

srIP: xxx.128.109.190

Initially, thank you for your advice. That can defeat your pests Without using chemicals

For me there are 600 trees and for my neighbors Which has no need more than 5000 -10000 trees and each tree is large And the height is about 3-story building. Can not catch insects that disturb Therefore need to use chemicals for prevention And get rid of those insects

But whatever your method Is interesting And is acceptable For some Thai farmers that grow organic crops And consumers are happy that they don’t have to eat crops that have pesticide residues as well

Initially, thank you for your advice. That can defeat your pests Without using chemicals

For me there are 600 trees and for my neighbors Which has no need more than 5000 -10000 trees and each tree is large And the height is about 3-story building. Can not catch insects that disturb Therefore need to use chemicals for prevention And get rid of those insects

But whatever your method Is interesting And is acceptable For some Thai farmers that grow organic crops And consumers are happy that they don’t have to eat crops that have pesticide residues as well

ในเบื้องต้นขอขอบคุณในคำแนะนำที่สามารถเอาชนะพืชของคุณได้โดยไม่ใช้สารเคมี

สำหรับฉันมีต้นไม้ 600 ต้นและใกล้เคียงกับของฉันเพราะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 -10000 ต้นและใหญ่มีขนาดใหญ่และมีความสูงประมาณ 3 ชั้นที่ไม่สามารถกำจัดได้ ในการป้องกันและกำจัดแมลงเหล่านั้น

แต่ก็ก็ดีวิธีการของคนที่น่าสนใจและเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับสำหรับชาวไทยบางกลุ่มที่ปลูกพืชและผู้บริโภคก็ดีใจที่พวกเขาไม่กินพืชผลที่มีสารตกค้างของยารักษา ศัตรูพืชไปด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท