การเรียนการสอนที่มากกว่า " ในชั้นเรียน "


ในปัจจุบันยุคสมัยการเรียนรู้  มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก  จากยุคสมัยเก่า เก่า ซึ่งในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น  เด็กสามารถหาความรู้ได้ตลอดเวลา ตลอดเวลาไม่ใช่แค่ในห้องเรียนเท่านั้น ข้อมูลข่าวสารจะมีตลอดเวลาทำให้เราสามารถสอนหนังสือได้มากกว่าในห้องเรียน  เทคโนโลยีในปัจจุบันมาเร็ว

  • กิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า    เป็นการฝึกฝนให้เด็กมีทักษะการพูดและการแสดงออกที่ดี
  • กิจกรรมเรียนรู้ด้วยการคิด    ช่วยให้เด็กฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ
  • กิจกรรมเรียนรู้ด้วยโครงงาน    การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการลงมือปฏิบัติ
  • กิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน    ความรู้ไม่เคยถูกปิดกัน ในทุกๆ สถานที่คือการเรียนรู้
  • กิจกรรมเรียนรู้ด้วยการอ่าน    เมื่อได้อ่านเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เด็กเกิดความชำนาญในการอ่าน การสรุปใจความ การวิเคราะห์ ฯลฯ

นักเรียนได้อะไรจากกิจกรรม “เรียนรู้คือความสุข”

นับเป็นโอกาสดีสำหรับเด็กๆ ในยุคนี้ ที่ได้เกิดมาในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ การเข้าถึงแหล่งความรู้ทำได้หลายวิธีและสะดวกอย่างมาก ซึ่งเปรียบเทียบไม่ได้เลยกับโลกในยุคเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ซึ่งดูเหมือนว่าห้องสมุดจะเป็นแหล่งเรียนรู้เพียงแห่งเดียวและห้องสมุดก็มัก จะมีแหล่งข้อมูลอย่างจำกัดเป็นอย่างมาก

แหล่งข้อมูลที่เด็กๆ สามารถเข้าถึงได้ น่าสนใจและเหมาะสมกับวัย แต่ไม่ได้บรรจุอยู่ในหลักสูตรยังมีอยู่มากมาย “เรียนรู้คือความสุข” เป็นกิจกรรมมีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมหลายหลากที่น่าสนุก ชวนติดตามและเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ให้กับเด็กๆ กิจกรรม “เรียนรู้คือความสุข” ได้ให้อะไรมากมายหลายอย่างกับนักเรียนที่โรงเรียนฯ

  • เปิดโลกทัศน์นักเรียนให้กว้างขวาง รู้จักโลกรอบตัวของพวกเขา
  • สร้างความทันสมัยในเรื่องข่าวสารข้อมูล ทำให้นักเรียนได้รับรู้ข้อมูล เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ บุคคล และเหตุการณ์รอบตัวทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
  • บูรณาการความรู้ที่เรียนในกลุ่มสาระวิชาต่างๆ สู่กิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการยกระดับทักษะการเรียนรู้
  • สร้างเจตคติที่ถูกต้องต่อการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนเห็นการเรียนรู้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีความสุขกับการได้เรียนรู้ เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาตนเองเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learners)
  • พัฒนาทักษะและตรรกะในการคิดทั้งในเชิงวิเคราะห์เชิงกระบวนการ เชิงวิพากษ์และเชิงสร้างสรรค์(critical and creative thinking)
  • ฝึกให้นักเรียนได้คิดในระดับที่สูงขึ้น (higher orderthinking)
  • พัฒนาทักษะด้านสังคม ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • กระตุ้นให้กล้าแสดงออกซึ่งความคิดและความคิดเห็น กล้าคิด กล้าซักถามในสิ่งที่ตนกระหายใคร่รู้
  • ฯลฯ

เรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า

เรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า (Learn through Stories)

เด็กๆ กับเรื่องเล่า

เด็กทุกคนล้วนมีความใฝ่รู้ และมีความสุขกับการได้ฟัง ได้ชม เพลิดเพลิน เข้ามีส่วนร่วม และเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมเรื่องเล่าที่หลายหลาก ประเภทของเรื่องเล่าที่เด็กชอบที่จะฟังมีอยู่มากมายเช่น นิทาน ตำนาน ชีวิตสัตว์ประวัติศาสตร์ เรื่องเกี่ยวกับบุคคล เรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ สถานที่ที่น่าสนใจ เรื่องลี้ลับ ฯลฯ

กิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่าจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของนักเรียนดังกล่าวข้างต้น และพัฒนานักเรียนในหลายด้าน:

  • เป็นกิจกรรมเรียนรู้ที่ไม่จำกัดขอบเขต จัดให้เหมาะสมสอดคล้องกับระดับของนักเรียนได้ง่าย
  • เด็กๆ ได้รับรู้เรื่องราวรอบตัว ทำให้เปิดกว้างต่อการคิดและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างเต็มใจ โดยไม่คำนึงว่าเรื่องนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับวิชาที่เรียนในระบบหรือไม่
  • ยกระดับโลกทัศน์ให้กับนักเรียนได้อย่างกว้างขวาง
  • สร้างให้เด็กเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ และทำให้นักเรียนได้ค่อยๆ ซึมซับเจตคติที่ถูกต้องต่อการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต
  • ขยายขอบเขตการเรียนรู้ในกลุ่มสาระวิชามุมมองที่กว้างขวางและ/หรือลึกซึ้งขึ้น
  • เด็กๆ ได้เห็นและเข้าใจถึงวิธีการค้นคว้าข้อมูล เพื่อการนำเสนอ

เรียนรู้ด้วยการคิด

แม้ว่าในห้องเรียน นักเรียนจะได้รับการพัฒนาการคิดอยู่ตลอดเวลา แต่ก็เป็นการดำเนินการที่ผสมผสานไปกับเนื้อหาในกรอบของหลักสูตรโรงเรียนฯ โรงเรียนฯจึงได้พัฒนากิจกรรมเรียนรู้ด้วยการคิดขึ้นโดยใช้เวลาโฮมรูมวันละประมาณ30 นาทีหลังกิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า กิจกรรมดังกล่าวนี้เป็นกิจกรรมปลายเปิดเพื่อพัฒนากระบวนการคิดในด้านต่างๆ ทั้งที่อยู่ในและนอกเหนือหลักสูตร 

เรียนรู้ด้วยโครงงาน

เรียนรู้ด้วยโครงงาน (Learn Through Projects)

โครงงานเป็นการเรียนรู้ที่สร้างแรงบันดาลใจ ความสำเร็จและพลังให้กับนักเรียน

การเรียนรู้ด้วยโครงงาน สร้างแรงบันดาลใจ ความสำเร็จและพลัง ให้กับนักเรียน ได้โดย

  • ให้ประสบการณ์นอกเหนือไปจากชั้นเรียน
  • เสริมสร้างทักษะสำคัญสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ การคิดเชิงวิพากษ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความสร้างสรรค์
  • ให้นักเรียนได้มีโอกาสบูรณาการเทคโนโลยีเข้าสู่ชั้นเรียน และนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสู่เป้าหมาย แทนที่จะเรียนแล้วจบลงตรงนั้น
  • ให้โอกาสเด็กได้ประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้รับจากการเรียนการสอนในระบบ
  • เพิ่มพูนความต้องการ ความสนใจ และจุดแข็งให้กับเด็กทุกคน และให้เด็กได้มีโอกาสทำงานด้วยจังหวะความเร็วของตน
  • สร้างให้เด็กเกิด “สำนึกในเป้าหมาย (sense of purpose)” และเสริมสร้างการตระหนักในคุณค่าของตน (self-esteem)
  • พัฒนาทักษะการอ่านเขียนและการสื่อสารให้แหลมคมยิ่งขึ้น โดยให้เด็กสามารถใช้สื่อต่างๆ เพื่อแบ่งปันกระบวนการและผลผลิตของตนต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสม
  • บูรณาการทักษะและความรู้ในเนื้อหารายวิชาต่างๆ เพื่อให้เด็กได้เห็นและสร้างการเชื่อมโยงภายในหลักสูตร

เกณฑ์การกำหนดหัวข้อโครงงาน

  • มีสภาพความเป็นจริง เป็นรูปธรรม
  • สอดคล้องกับหลักสูตร
  • สอดคล้องกับระดับความรู้ความสามารถและวัยของผู้เรียน
  • เป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ
  • ตอบสนองต่อความกระหายใคร่รู้ของเด็ก

ข้อดีของการเรียนรู้การเรียนรู้ด้วยโครงงาน

  • การออกแบบโครงงานที่ดีกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและใช้ทักษะการคิดขั้นสูง
  • เป็นการยกระดับศักยภาพการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ให้กับตัวนักเรียน
  • ช่วยให้นักเรียนรู้จักการค้นคว้าและสร้างสรรค์ความรู้เชิงนวัตกรรมด้วยตนเอง
  • พัฒนาการทำงานแบบร่วมมือ และการสื่อสาร
  • ในกิจกรรมโครงงาน นักเรียนจะตั้งเป้าหมายการทำงานให้กับตัวเอง นับเป็นการฝึกตั้งเป้าหมายชีวิตควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่นๆ
  • ช่วยพัฒนาความตระหนักในคุณค่าของตนเอง (self-esteem) ที่โดกปกติแล้ว ในการเรียนการสอนในระบบ เด็กมักประสบปัญหาเมื่อสอบได้ไม่ดีเท่าเพื่อน
  • พัฒนาเจตคติต่อการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
  • หากผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบในโครงงาน ผลสัมฤทธิ์จะมีค่าเท่ากับหรือสูงกว่าการเรียนรู้แบบอื่น
  • เด็กได้เห็นการเชื่อมโยงของความรู้ในวิชาต่างๆ
  • ช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือกับเพื่อนครูด้วยกัน
  • เป็นการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพครู
  • ครูได้ค้นพบรูปแบบของวิธีสอนที่เหมาะสมกับความหลากหลายของนักเรียน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานสอนในระบบของตนได้ในหลายโอกาส

เรียนรู้นอกห้องเรียน

เรียนรู้นอกห้องเรียน (Learn Beyond Classroom) กิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นกิจกรรมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนฯ เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสสัมผัสกับแหล่งเรียนรู้จริง และยังเป็นโอกาสที่ครูและนักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกันนอกโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางเที่ยวปิดท้าย จะเป็นการพักแรมเป็นเวลา 1 คืน ในการเดินทางเพื่อเรียนรู้นอกห้องเรียนทุกครั้ง จะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มละ 10-15 คน ประกอบกับการเตรียมการล่วงหน้า ทำให้การทำกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนเกือบไม่ต้องเดินเรียงแถวหรือยืนรอนานซึ่งทำให้เสียบรรยากาศและโอกาสเรียนรู้  คุณครูแต่ละกลุ่มจะมีข้อมูลและมีความพร้อมในการดูแลนักเรียนเพื่อการเรียนรู้ดังกล่าว การจัดการเรียนรู้นอกโรงเรียน ของโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์จะดำเนินไปอย่างมีระบบและมี 3 ขั้นตอนคือ   

เรียนรู้ด้วยการอ่าน

อ่านเพื่ออะไร (Reasons to Read)

  • การอ่านช่วยให้เราเป็นบุคคลที่น่าสนใจ (Reading helps you become an interesting person.)
  • การอ่านช่วยให้เราเขียนได้ดี (Reading helps you learn how to write correctly.)
  • การอ่านให้ความเพลิดเพลิน (Reading entertains you.)
  • การอ่านสอนให้เราได้รู้จักสิ่งใหม่ๆ (Reading teaches you about things unfamiliar to you.)
  • การอ่านพาเราไปดินแดนที่เราไม่เคยไป (Reading helps you to places you’ve never visited.)
  • การอ่านพาเราไปสู่กาลเวลาที่เราไม่เคยได้ประสบ (Reading takes you to times you’ve never experienced.)
  • การอ่านแนะนำให้เรารู้จักกับบุคคลที่เราไม่เคยเจอ (Reading introduces you to people you’ve never met.)
  • การอ่านแนะนำให้เรารับความคิดใหม่ๆ (Reading introduces you to new ideas.)

ความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่าน

เมื่อพูดถึงการเรียนการสอนเกี่ยวกับการอ่าน วิชาที่เราจะคิดถึงทันทีได้แก่ วิชาภาษาไทยและ/หรือวิชาภาษาอังกฤษ และโดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะคิดว่าก็มีอยู่เพียงสองวิชานี้เท่านั้น ที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน แท้ที่จริงแล้วการเรียนการสอนในวิชาทางภาษาส่วนใหญ่ เป็นการพัฒนาความสามารถให้อ่านได้ ให้เข้าใจในหลักภาษา (Learn to Read) เพื่อนำเอาความสามารถเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่ออ่านได้เป็น สามารถคิดวิเคราะห์เนื้อความที่อ่าน ในแง่มุมต่างๆ ในการพอกพูนความรู้ความเข้าใจได้ (Read to Learn)

 การเรียนการสอนที่มากกว่า " ในชั้นเรียน " จะเป็นส่วนสำคัญในการที่จะให้นักเรียนให้ความสำคัญในการเรียน การทำให้นักเรียนมีความสุขต่อการเรียนแล้วอยากมาเรียน ครูต้องรักนักเรียนเหมือนคนในครอบครัวให้มากที่สุด

 ขอบคุณ http://attaphiwat.ac.th/book/e...

 

หมายเลขบันทึก: 646696เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2018 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2018 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท