ธุรกิจดาวรุ่งของไทย



ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์

      คาดกันว่าในปี 2561 มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยจะขยายตัวได้ที่ 5% จากปีที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวสูงถึง 9% แม้อัตราการขยายตัวจะลดลงแต่นับว่าดีกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นที่เติบโตน้อยกว่าไทย มี 2 ปัจจัยหลักสนับสนุนคือ 

      1. ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ขณะที่นโยบายของรัฐบาลก็มีรูปธรรมมากขึ้น เช่น นโยบายการที่เอื้อต่อการลงทุน เมื่อเศรษฐกิจดี ทำให้สินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

      2. สอดคล้องกับนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 สังเกตได้จากอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตก็พึ่งพาอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น

      ด้านการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ผู้ผลิตได้เริ่มปรับตัว เปลี่ยนแปลงตัวเองมาล่วงหน้าเป็นเวลากว่า 10 ปี เช่นการนำระบบอัตโนมัติมาปรับใช้ โดยค่อยๆ ทยอยเข้ามาเป็นระยะ ประเมินขณะนี้การปรับตัวเพื่อก้าวไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ของผู้ผลิตรายใหญ่นับว่าทำได้ดีไม่ต่างกับบริษัทในยุโรปหรืออเมริกา 

      ด้านบุคลากร ต้องพัฒนาต่อเนื่องเช่นกัน บทบาทของสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีแผนงานรองรับไว้ชัดเจนเสมอ เช่น การสนับสนุนด้านการฝึกอบรม พัฒนาทักษะบุคลากร โดยปกติจะต้องวางแผนล่วงหน้าระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือ 1 ปีครึ่ง เน้นเรื่องการเพิ่มทักษะใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่าน เพิ่มสมรรถนะในงานสำคัญที่จะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ประเทศ  ในมุมผู้ผลิต ต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา คำนึงถึงประเด็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทุกวัน ขณะเดียวกันให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร คำนึงถึงความสุขของคนในองค์กร เพิ่มความเชี่ยวชาญ รวมถึงการทำงานร่วมกันเป็นทีม และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ

     ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญมาจากการที่เทคโนโลยีกลายเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ในทิศทางเดียวกันส่งผลให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการบริโภคชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไปได้ ทั้งแนวโน้มมีความเป็นไปได้ว่านักลงทุนจะย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ กลุ่มสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องไปกับนโยบายส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ รวมถึงการลงทุนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี

 

หมายเลขบันทึก: 646645เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2018 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2018 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท