“การจัดการเรียนการสอน ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยจิตปัญญา”


การนำจิตตปัญญามาใช้ในการจัดการศึกษา

นางสาวกนกศรี ยอดทองหลาง

รหัสประจำตัว 60B0101501 เลขที่ 1

นักศึกษา ป.บัณฑิต รุ่นที่ 4 หมู่ 5

การจัดการเรียนการสอน ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยจิตปัญญา

การนำจิตตปัญญามาใช้ในการจัดการศึกษา

การนำจิตตปัญญาศึกษามาใช้กับการศึกษาในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คือ เป็นยุทธวิธีการสอน (Teaching Strategy) และ การจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้

1. ยุทธวิธีการสอนจิตตปัญญาศึกษา

Tayler (1998 Cited in Susan,1998) ได้พูดถึงหัวข้อ (theme) ทั่ว ๆ ไปในจิตตปัญญาศึกษาของ Mezirow ว่าประกอบด้วย 3 ประการ คือ

  • ประสบการณ์
  • การสะท้อนเชิงวิพากษ์
  • การอภิปรายเชิงเหตุผล (rational discourse)

 

Cranton (2003) ไม่ได้สนใจวิธีการสอนใดที่เฉพาะ เขาเน้นเหตุการณ์ที่จะกระตุ้นผู้เรียน (Activating event) ให้เกิดการสะท้อนตนเองเชิงวิพากษ์ (critical reflection) เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในตัวผู้เรียน และการเปิดกว้างที่จะรับฟังความคิดที่หลากหลาย (openness to alternatives) ซึ่งเป็นวิธีที่ยากพอสมควร เพราะจะทำอย่างไรที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ในการที่จะรับมุมมองอื่นๆ ที่แตกต่างจากตนเองออกไป เทคนิคที่เขาเสนอไว้คือ การใช้บทบทสมมติ (role play) เขียนจดหมายหรือบันทึกสั้นๆ การโต้วาทีเชิงวิพากษ์ (critical debates) การอภิปราย (discourse) ที่ทุกคนมีส่วนร่วมและการอภิปรายอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมในการจัดอบรมจิตตปัญญา คือ สุนทรียสนทนา (dialogue journal) เป็นวิธีการหนึ่งสำหรับการทบทวนตนเองและปรับสมมติฐานมุมมองของตนเอง เนื่องจากว่า ความเข้าใจความเป็นปัจเจกชนของคนอื่น และสามารถที่จะดำรงชีวิตกับสิ่งที่มากำหนดชีวิตของเราได้ ส่วน (Deborah J। Haynes: http://www.contemplativemind.org/programs/academic/Haynes.pdf)

 

2. การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้

สภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีผลต่อการเรียนรู้ เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดความตั้งใจ มีกำลังใจ และความพึงพอใจในการเรียนรู้ สำหรับแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้จิตตปัญญาศึกษา สิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดคือ ครูผู้สอน กล่าวคือ ครูจะต้องเป็นผู้ที่มีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือ (facilitator) โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้เรียนเกิดความไว้วางใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูและผู้เรียน ยอมรับศักยภาพของผู้เรียนว่าสามารถที่จะพัฒนาตนเองได้ ทั้งนี้เพื่อสร้างชุมชนของผู้รู้ (community of knower) ฉะนั้นการเรียนรู้จะต้องมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ครูจึงช่วยให้ผู้เรียนใช้เหตุผลและเจตคติในการสะท้อนเชิงวิพากษ์ (Susan, 1999) และเรียนรู้ซึ่งกันและกันที่จะยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นได้อย่างไม่ขัดแย้ง

 สุนทรียสนทนา หลักการของ Dialogue คือ การพูดคุยกันโดยไม่มีหัวข้อ หรือวาระที่ตายตัวล่วงหน้า ไม่มีประธาน ไม่เหมือนการประชุมอย่างมีเป้าหมายเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน คนในวงสนทนาสามารถพูดอะไรก็ได้ ถามอะไรก็ได้ ส่วนคนอื่นๆ จะตอบหรือไม่ตอบก็ได้

หลักปฏิบัติ Dialogue

•  ฟังอย่างลึกซึ้ง ฟังให้ได้ยิน

•  มีความเป็นอิสระ และผ่อนคลาย

•  ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีผู้นำ และไม่มีผู้ตาม

 

การจัดการวงสนทนาที่ดี แบบ Dialogue

 

การจัดการวงสนทนา ควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ซึ่ง อาจารย์ โสฬส ศิริไสย์ ได้แนะนำแนวทางแบบรวบรัดภายใต้คำพูดสั้นๆว่า SPEAKING ดังนี้

1. S Setting หมายถึง ฉาก สถานที่ และเวลาของการทำ Dialogue ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ กล่าวคือ การจัดสถานที่ ควรจัดให้นั่งเป็นวงกลม ให้ทุกคนในวงสนทนาหันหน้าเข้าหากัน เพื่อให้สามารถมองเห็นหน้า ซึ่งกันและกันได้หมดทุกคน และให้มีพื้นที่ว่างพอที่ให้ทุกคนจะสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวก ถ้าหากมีทิวทัศน์ที่สวยงานที่เป็น “ ต้นทุน ” ทางธรรมชาติที่ดีอยู่แล้ว ควรใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด โดยเปิดม่านเพื่อให้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ และปลดปล่อยอารมณ์และเป็นที่พักสายตา

2. P Process หมายถึง กระบวนการ Dialogue เป็นเรื่องของกระบวนการ (Process Determinism) ซึ่งเป็นไปตามเหตุและปัจจัยไม่สามารถคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ ผู้เข้าร่วมวงสนทนาต้องมีสติอยู่เสมอ สิ่งที่พูดไม่มีการสรุปหรือสร้างความคิดรวบยอด เพื่อหาคำตอบสุดท้าย และให้ทุกคนคิดเหมือนกันหมด แต่ถ้าผู้เข้าร่วมวงเชื่อมั่นในเรื่องของกระบวนการ จะเห็นว่า คำตอบจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ และเป็นหน้าที่ของผู้เข้าร่วมวงที่จะทำความรู้จักกับคำตอบนั้นด้วยตนเอง คำตอบบางอย่างรู้ได้เฉพาะตัว อธิบายให้ใครฟังไม่ได้

3. E Ends หมายถึง เป้าหมาย Dialogue ไม่อนุญาตให้แต่ละคนนำเป้าหมายส่วนตัว หรือวาระส่วนตัวเข้าไปใช้ นอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อการฟัง เรียนรู้ตนเอง และเรียนรู้ผู้อื่นเท่านั้น นอกจากนี้จะต้องหลีกเลี่ยงมิให้มีการตั้งผลลัพธ์ไว้ล่วงหน้า ไม่นำสิ่งที่เชื่ออยู่ในใจออกมาโต้แย้งประหัตประหารซึ่งกันและกัน Dialogue จึงเหมาะสมสำหรับเริ่มต้นทำงานที่มีความซับซ้อน หลากหลาย หรือต้องการแก้ไขปัญหาที่ยากร่วมกัน Dialogue จึงไม่มีการโอ้อวด ไม่แนะนำสั่งสอน หรือหวังจุดประกายให้คนอื่นคิดตาม รวมทั้งไม่โต้แย้ง หรือยกยอปอปั้น หรือตำหนิติเตียน

4. A Attitude หมายถึง การมีเจตคติที่ดีต่อคนอื่น มีจิตใจที่เปิดกว้าง มีความสุขที่ได้ยินได้ฟังและได้เรียนรู้จากผู้อื่น Dialogue คือชุมชนสัมมาทิฐิ ไม่เริ่มต้นด้วยการประณามคนอื่น การเสนอแนะให้คนอื่นทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือการพูดถึงปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่การโต้เถียง การปกป้อง และการมุ่งเอาชนะกัน

5. K Key Actor หมายถึง คณะทำงานที่อยู่เบื้องหลัง ผู้ทำหน้าที่ประสานงาน สร้างฉาก และค้นหาผู้ที่เหมาะสมจะมานั่งพูดคุยกัน เพื่อวัตถุประสงค์ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะรวมความถึง Facilitator ผู้ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้เป็นไปตามหลักการของกระบวนการ รวมทั้งแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที โดยสุภาพและไม่ทำให้ผู้ร่วมวงสนทนารู้สึกเสียหน้า

6. I Instrument หมายถึง เครื่องมือของ Dialogue คือ จะต้องช่วยลดทอนความเป็นทางการของการใช้ภาษาให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงถ้อยคำแบบพิธีการ เช่น ขออนุญาตพูด เพราะการพูดนี้ไม่ต้องขออนุญาตใคร หากผู้พูดคนก่อนพูดจบและมีความเงียบเกิดขึ้นก็สามารถแทรกตนเองขึ้นมาพูดได้โดยอัตโนมัติ แต่สิ่งที่จะต้องระวังคือพูดสิ่งใดออกไป สิ่งนั้นจะย้อนกลับมาเข้าสู่ตนเอง ทำให้รู้สึกได้ภายหลัง

7. N Norms of Interaction หมายถึงบรรทัดฐานของการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งจะต้องมีความเท่าเทียมกัน ทั้งในแง่ของคำพูดและการปฏิบัติ กล่าวคือ จะต้องหลีกเลี่ยงคำพูดและการประทำทางวาจาใดๆที่แสดงว่าตนเองเหนือกว่า หรือด้อยกว่าคนอื่น วัจนะกรรมที่แสดงความเหนือกว่าได้แก่ คำพูดแบบแนะนำ อบรม สั่งสอน โอ้อวด ยกตนข่มท่าน ส่วนคำพูดที่แสดงความด้อยกว่าคนอื่น เช่น คำพูดแบบวิงวอนร้องขอ คำแนะนำและความช่วยเหลือจากผู้อื่น

8. G Genre หมายถึง ประเภทของการพูดคุย Dialogue ไม่ใช่การพูดคุยแบบพิจารณาถกเถียงหรือโต้แย้ง ไม่ใช้การบรรยายไม่ใช่การประชุมที่มีประธานทำหน้าที่วินิจฉัย สั่งการ หรือมีเป้าหมายวาระไว้ล่วงหน้า แต่เป็นการพูดคุยแบบเปิด ไม่มีเป้าหมาย และวาระ เพื่อสร้างความหมายร่วมกัน แต่หากเป้าหมายจะเกิดขึ้นตามมาในภายหลังก็คงไม่มีใครห้าม แต่ต้องเกิดภายใต้บริบทของการสร้างความหมายร่วมกัน

Dialogue หรือบทความนี้ ไม่ใช่เป็นคำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาอันสลับซับซ้อนบนโลกใบนี้ได้ทุกเรื่อง แต่ Dialogue เป็นเพียงการเริ่มต้นของ “ สัมมาทิฐิ ” เพื่อการแก้ปัญหาที่มนุษย์สร้างขึ้น นับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

ดังนั้น การทำ Dialogue จึงควรทำอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ คนในวงสนทนาจะเป็นกระจกเงาให้กันและกัน อย่างปราศจากอคติ เพื่อเปิดโอกาสให้แต่ละคนเรียนรู้ตนเอง และแก้ไขปรับปรุงตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกัน และอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข สามารถทำงานที่ยากๆที่ไม่สามารถจัดการด้วยวิธีการธรรมดาได้

 

 

 

ที่มา :    http://pinayo.blogspot.com/2009/09/blog-post_29.html

            http://www.flas.kps.ku.ac.th/forum/index.php?topic=61.0;wap2

 

หมายเลขบันทึก: 646592เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2018 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2018 00:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท