สัมมาอรหัง


          วิธีเจิรญสมถวิปัสสนาภาวนา โดยพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ

          วิธีนั่ง นั่งคู้บัลลังก์ขัดสมาะิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับใมือซ้ายเว้นหวแม่มือทั้งสองให้ห่างกันสององคุลี คือหวแม่มือซ้ายจรดกับปลายน้ิวชี้ขวา แล้วตั้งกายให้ตรงคือ วัดตั้งแต่ปลายน้ิวชี้ของเท้าขวาถึงกลางลูกสะบ้าของหัวเข่าขวานั้น แล้วเอาเครื่องวัดนั้นจรดลงที่ตรงบนตาตุ่มขาขวา แลวเอาเครื่องวัดอีกข้างหนึ่งจรดเข้าที่ใต้ลูกคาง นี้เป็นส่วนของกายตรง เรียก อุชุํ กายํ ปณิธาย ตั้งกายให้ตรง ปริมุขํ สตึ อุปฎฺฐเปตฺวา เข้าไปต้งสติไว้ให้มีหน้ารอบ คือเข้าไปตั้งสติไว้ไม่ให้เผลอ (ตรงกับพระขีณาสพผุ้เป็นสติวินัย มีสติทุกเมื่อนี่เป็นทางไปขงอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ สติไม่เผลอจากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ให้ติดกัน ไม่แยกแตกจากกน นี้แลเป็นของสำคัญในเรื่องที่จะเป็นหรือไม่เป้ฯ สติไม่เผลอจากบริกรรมทั้งสอง บริกรรมว่า "สัมมาอรหัง" นี้เรียกว่า บริกรรมภาวนา

         กำหนดเครื่องหมายให้ใสเหมือนเพชรลูกที่เจรียระไนแล้ว ไม่มีขนแมว โตเท่าแก้วตตามประมาณเท่าวงของตาดำ ใสขาวเหมือนกระจกที่ส่งเงาหน้า สัณฐานกลมรอบตัว ไม่มีตำหนิเรียบรอบตัว เหมือนดวงแก้วกายสิทธิ์ นี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต

        บริกรรมทั้งสองนี้พรากจากกันไม่ได้ ต้องให้ติดกนอยู่เสมอืในอริยาบถทั้ง ๔ คือยืน เดิน นั่ง นอน ไม่เผลอ ให้มีสติอยู่เสมอ ไม่ให้ขาด เมื่อเห็นดวงนิมิตเกิดเป็นดวงใสขึ้นแล้วให้หยุดบริกรรมภาวนา เพ่งอยู่ที่กลางดวงนั้น แล้วทำใจให้หยุดในหยุดที่กลางดวงนั้น มีจุดเป็นเครื่องหมาย ให้ใสหนักขึ้นทุกที จนเป็นรัศมีคือแสงสว่าง ถ้าไม่หยุดให้บริกรรมภาวนาไว้ว่า "สัมมาอรหังๆๆ" ร้อยครั้ง พันครั้ง จนกระทั้งใจค่อยๆ รวมหยุดอยุ่ที่เดียว ดังจะอธิบายข้าหน้าเป็นลำดับไป

        ฐานที่ ๑ ปากชองจมูก หญิงซ้าย ชายขวา ตรงกลางพอดี ไม่ล้ำเข้าไป ไม่เหลื่อมออกมา

        ฐานที่ ๒ เพลาตา หญิงซ้าย ชายขวา ตรงหัวตาพอดี ตามช่องลมเข้าออกข้างใน

        ฐานที่ ๓ จอมประสาท กลางกั๊กศีรษะ ให้ได้ระดับกับเพลาตา อยุ่ภายในตรงศุนย์กลางของศีรษะ

        ฐานที่ ๔ ปากช่องเพดาน ไม่ใหล้ำไม่ให้เเหลื่อม ตรงช่องที่รับประทานอาหารสำลัก

        ฐานที่ ๕ ปากช่องคอ เหนือลูกระเดือก อยู่ตงกลางที่เดียว

        ฐานที่ ๖ ที่สุดลมหายใจเข้าออก คือ กลางตัว ตรงระดับสะดือ แต่อยู่ภายใน

        ฐานที่ ๗ ถอยหลังกลับมาเหนือระดับสะดือประมาณ ๒ นิ้วมือ (๒ องคุลีหรือประมาณ ๕ ซ.ม.) ในกลางตัว 

          กำหนดดวงนิมิตเครื่อ่งหมายไปหยุดอยู่ตามฐานั้นๆ พร้อมกับภาวนาในใจว่า "สัมมาอรหังๆๆ" ๓ ครั้ง แล้วจึงเลื่อนดวงนิมิตนั้นต่อไป

          สำหรับฐานที่ ๓ เวลาจะเลื่อนดวงนิมิตต่อไป ต้องเหลือบตากลับเข้าข้างใน คล้ายๆ กับคนนอนกำลังจะหลั แต่แล้วก็ปล่อยให้เป็นไปตามปกติ ทั้งนี้ เพื่อจะให้ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู (รวม ๔ อย่างนี้เรียกว่า ใจ) กลับเข้าข้างใน ให้เพ่งอยู่ตรงนั้นที่เดียวให้คู่กันไปกับบริกรรมภาวนาว่า "สัมมาอรหัง" ถ้าหากรู้จักทางคือฐานที่ตั้งเหล่านี้แล้ว ในการทำคราวหลังๆ จะเอาใจไปจรดฐานที่ ๗ เลยที่เดียวก็ได้

           ตรงนั้นมีศูนย์อยู่ ๕ ศุนย์กลาง หน้า ขวา หลัง ซ้าย ศุนย์กลางคืออากาศธาตุ เครื่องหมายที่ใสสะอาดลอยอยุ่กลางช่องอากาศ พร้อมด้วยควารุ้ที่เรียกว่า วิญญาณธาตุ ศูนย์ข้างหน้าคือะาตุน้ำ ศุนย์ข้างขวาคือะาตุดิน ศุนย์ข้างหลังคือธาตุไฟ ศูนย์ข้างซ้ายคือธาตุลม นิยมพร้อมด้วยธาตุทั้ง ๖ เมื่อแรกเกิดมาก็พร้อมด้วยธาตุทั้ง ๖ เมื่อไปเกิดก็พร้อมด้วยธาตุทั้ง ๖ ธาตุไม่ประชุมพร้อมกัน ปฐมมรรคก็เกิดไม่ได้ เมื่อไม่มีปฐมมรรค มรรคผลนิพพานก็ไปไม่ถูก เหตุนี้จึงต้องทำปฐมมรรคให้เกิดให้มีขึ้น

         เมื่อดวงปฐมมรคเกิดขึ้นเป็นดวงใสที่ศุนย์กลางกายฐานที่ ๗ แล้ว ก็ห้หยุดบริกรรมภาวนา แต่ให้เพ่งอยุ่กลางดวงนั้ ดดยทำใจให้หยุด ในหยุดที่กลางดวงนั้ มีจุดเป็นเครืองหมายให้ใสหนักขึ้นทุกที จนเป็นรัศมีคือแสงสว่าง ต่อไปให้ฝึกผฏิบัติต่อไปตามลำดับ ดังนี้คือ

          ๑ ฝึกเจริญสมถภาวนา ถึง ๑๘ กาย ถึงธรรมกาย คือกายมุนษย์ มนุษย์ละเอดียด กายทิพย์ ทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม อรูปพรหมละเอดียด กายธรรมโคตรภู โคตรภูละเอียด กายธรรมพระโสดา พระโสดาละเอียด  กายธรรมพระสกทาครามี พระสกทาคามีละเอียด กายธรรมพระอนาคามี พระอนาคามีละเอียด กายะรรมพระอรหัต พระอรหัตละเอียด ตั้งแต่กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมละเอียด นี้เรียกว่า ขึ้นสมถะ ตั้งแต่กายธรรมโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด จนถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด นี้เป็นขึ้นวิปัสสนาทั้งนั้น

          ๒ ฝึกพิสดารกาย (ทั้ง ๑๘ กาย) สุกายหยาบกายละเอดียด ให้เป็นวสี คือให้คล่องแคล่ว ชำนาญเพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการเจริญวิชชาชั้นสุง และนำนิโรธดับสมุทัย (มไ่ใช่นิโรธสมาบัติ แต่เป็นการดับหยาบไปหาละเอียด) ละอกุศลจิตของกายในกายดลกิยะ จากสุดหยาบ เข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ของกายที่ละเอดียดๆ ไปจนสุดละเอียด ได้เข้าถึง ได้รู้ เห้น และเป็นธรรมกาย ซึงเป็นกายโลกุตตระไปจนสุดละเอดียด ถึงพระนิพพานของพระพุทธเจ้า

         ๓ ฝึกซ้อนกาย สับกาย และพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวี

         ๔ ฝึกเจริยฌานสมาบัติ (รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔) โดยอนุดลมและปฏิโลม

         ๕ ฝึกเจริยภาวนาถึงนิพาน ทั้งนิพพานถอดกายและนิพพานเป็น

         ๖ ฝึกตรวจภพ ตรวจจักรวาล

         ๗ ฝึกเจริญพรหมวิหาร ๔ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) 

         ๘ ฝึกพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม ทั้ง ณ ภายใน และ ณ ภายนอก

         ๙ ฝึกพิจาณาอิยสัจ ๔ ในกายมนุษยื ทิพย์ พรหม อรูปพรหม ให้เห็นแจ้ง รุ้แจ้ง ในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อันเป็นไปใญาณ ๓ คือ สัจจญาณ กิจญาณ และกตญาณ มีอาการ ๑๒ นี้เป็นโลกุตตรปญญา รพ้อมกับทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ แต่เป็นนิโรธในความมหายของการดับสมุทัยป ดับหยาบไปหาละเอดียด จนถึง อายตนะนิพพาน เพื่อให้รู้เห็น และเป็นพระนิพพานธาตุ ซึ่งมีสภาวะที่เป็น "วิสังขาร คือ นิพพาน" ที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า

        ๑๐ ฝึกเจริญวิชาาธรรมกายชั้นสุง (วิชาสะสางธาตุธรรม) เพื่อเข้าถึง/บรรลุวิชชา ๓ คือ "ปุพพเพนิวาสานุสสติญาณ" "จุตูปปาตญาณ" และ "อาววักขยญาณ" และคุณธรรมที่ควรบรรลุย่ิงขึ้นไป ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เพื่อช่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของตน และสังคม ประเทศชาติ ตามที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านได้เคยกล่าวไว้ว่า "ธรรมกายคนหนึ่ง ข่วยคนได้ครึ่งเมือง" ซึ่งหมายความว่าผุ้ปฏิบัติไม่ถึงธรรมกาย เจริญวิชาธรรมกายชั้นสุง ช่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พลเมืองได้มาก....

          บางส่วนจาก "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนาเบื้องต้นถึงธรรมกาย"          

          

คำสำคัญ (Tags): #สัมมาอรหัง
หมายเลขบันทึก: 646588เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2018 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2018 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท