อุทยัพพญาณ


          

           เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดนามรูปต่อไป ปัญญาก็กล้าขึ้น หรือจิตละเอียดขึ้น ยิ่งตามดูนามรูปมากเข้า จิตก็ได้อารมณ์ปัจจุบันมากเข้า โดยเพ่งนามรูปที่เป็นอารมร์ปัจจุบันอยู่ไม่ตกไปในที่อื่น แล้วในนามรูปนั้นเองก็จะแสดงความเกิดขึ้นและดับไปในนามเดียวหรือรูปเดียวและกาลเดียวกัน คือในปัจจุบันกาลเท่านั้น โดยเห็นทั้งเกิดและดับในอารมณ์เดียวกัน ในนามหรือรูปเดียวกัน ปัญญาความรู้อย่างนี้ วิปัสสนาเรียกว่า อุทยพพยญาณ เป็นการรวบรวมอารมร์ของญาณทั้ง ๓ ในตอนต้นๆ ทั้งหมด มาอยู่ในอุทยัพพญาณนี้ คือ เห็นรูปนามทั้งเกิดและดับในอารมร์เดียวกัน 

         อุทยัพพยญาณเป็นญาณที่สำคัญมาก สันตติขาดที่ญาณนี้ ฉะนั้น การเห็นไม่เที่ยงในญาณนี้จึงไม่เหมือนในสัมมัสสนญาณ เป็นความรู้ที่มีน้ำหนักผิดกันมาก คือในอุทยัพพยญาณนั้น เห็นความดับของรูปนามในระหว่างที่รูปนามใหม่ยังไม่เกิดขึ้นแทนที่ การเข้าไปรู่้อย่างนี้เป็น ปัญญาที่มีความรู้สึกแรงมาก และความรู้สึกอย่างนี้จะกระชากอนุสัยกิเลสเที่เห็นว่าเที่ยง เห็นว่าเป็นสุข เห็นว่าเป็นตัวเป็นตน ออกจากสันดานที่ดองอยู่ในจิตใจ แต่ยังเป็นตทังคะอยู่ คือชัวขณะหนึ่งๆ  เท่านั้น ยังไม่เป็นสมุจเฉท และทุกครั้งที่กำหนด ก็จะกระชกอนุสัยกิเลส คือความรู้สึกที่เห็นว่าเป็นตัวเป็นตน ซึ่งดองอยู่ในสันดานั้น ออกทุคราวไป ความรู้สึกในญาณนี้เป็นความรู้สึกที่แรงมาก แม้อาจารย์จะไม่บอกว่าศิษย์รู้แล้วปัญญาของผุ้ปฏิบัติเองก็สามารถตัดสินได้ว่ารู้แล้วเห็นแล้ว

           การเกิดดับของนามรู้ที่เห็นในอุทยัพพยญาณนี้ ไม่ได้เห็นด้วยการฟังหรือการหรือการเรียนและไม่เห็นได้ด้วยการคิดนึกตรึกตรอง อารมร์นั้นก็เป็อดีตบ้าอนาคตบ้าง คิดอย่างนี้แล้วผ่านไป ไปเชื่อมกับอย่างโน้นด้วยการเปรียบเทียบ จึงไม่สามารถทำลายอนุสัยกิเลสได้เรพาะไม่เป็นปัจจุบัน ต้องเป็นอารมร์ที่เห็นได้ด้วยวิปัสสนญาณที่เกิดจากการเพ่งด้วยการปกิบัติที่ถุตอ้งเท่านั้นจึงจะเห็นได้

          บ้างส่วนจาก "วิปัสสนากัมมัฎฐาน แนวปฏิบัติมี รูป นาม เป็นอารมณ์"

          รูปภาพ จาก http://petopfy.blogspot.com/20...

     

          

คำสำคัญ (Tags): #อุทยัพพญาณ
หมายเลขบันทึก: 646524เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2018 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2018 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท