กังขาวิตรณวิสุทธิ, สัมมัสสนญาณ


           

เมื่อนามรูปเกิดขึ้นสู่อารมร์ชัดเจนแล้ว ผู้ปฏิบัติก็เพ่งนามรูปนั้นต่อไปอีก เวลานั้นยังไม่ได้กำหนดรู้ว่า นามรูปนี้เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เป็นแต่เพียงรู้ว่าอะไรเป็นรูป อะหรเป็นนาม เท่านั้น เมื่อกำหนดนามรูปต่อไปมากๆ เข้าก็จะรู้เหตุปัจจัยที่ให้เกิดนามรูปที่กำลังดุอยุ่นั้น เช่นรูปอย่างนี้เกิดขึ้นเพราะนามอย่างนันเปนปัจจัย นามรูปที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยก็จะปรากฎ เพราะการตามกำหนดุอย่างอยุ่นี้ การเห็นปัจจัยซึ่งกันและกันของนามรูปจึงปรากฎขึ้นแก่ผุ้ปฏิบัติ

          ก่อนหน้านั้น แม้ผุ้ปฏิบัติจะเห็นนามรุปก็จริงอยุ่ แต่ว่าการเห็นนามรูปตอนนั้นยังไมรุปว่านามรูปเกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีมาจากไหน อาจจะไม่รู้อย่างนี้ ก็อาจคิดว่าพระเจ้าบันดาลให้เปนไปอย่างในศาสนาอื่น ปัญญาอย่างนั้น ไม่ชื่อว่าเข้าถึงปัจจยปริคคหญาณแต่เมื่อเข้าถึงปัจจยปริคคหญาณแล้ว จึงรู้ว่านามรุปไม่ได้เกิดจากการบันดาลของใครแต่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของปัจจัยทั้งนั้น นามกับรุปต่างก็ปัจจัยซึ่งกันแลกันอย่างนี้เมื่อเห้นดังนัเ้น ความสงสัยที่ว่านามรูปเกิดขึ้นเรพาะอะไร ก็จะหมดไป หรือความสงสัยว่าคงจะมีผุ้บันดาลให้นามรูปเกิดขึ้น ก็จะหมดไป การเห็นอย่างนี้ วิปัสสนาเรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ และความรุ้สึกอย่างนี้ ในวิสุทธิ ๗ เรียกว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ

         แต่ตอนนี้ ผุ้ปฏิบัติจะรู้เพียงปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นของนามรูปเท่านั้นส่วนการดับของนามรูปนั่นยังไม่เห็น เรพาะสัตติของนามรูปยังไม่ชขาด นามรูปกิดเร็วดับเร็ว ติต่อกันไม่ขาดสาย และปัญญาของผุ้ปฏิบัติยังหยาบอยู่ ยังไม่พอที่จะเข้าถึงปัญญาที่เห็นความดับของนามรูปได้ ต้องตามดูนามรูปนั้นต่อไปอีก แล้วจึงจะเห็นความดับของนามรูป แต่ว่าความดับของนามรูปในขั้นนี้ก็ไม่ใช่สันตติขาด เช่น ในเวลาที่นั่งอยู่ เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถนั่งก็จะเห็นอิริยาบถนั่งนั้นดับ หรือในเวลายืน เมื่อเลิกยืนแล้วรูปยืนก็หมดไป รูปนั่งก็เกิดขึ้นมาแทน จึงเห็นว่ารูปยืนไม่เทียง ตอนแรกก็จะเห็นด้วยไปอย่างนี้ก่อน คือเห็นว่ารูปนั้นหมดไปแล้ว ต่อเมื่อเห็นรูปใหม่เกิดขึ้นแทน ยังไม่สามารถเห็นโดยปัจจุบันในรูปนั้นที่ยังไม่เปลี่ยนได้  เพราะการเห็นต่อเมือรูปเดิมหมดไปแล้ว การเห็นนั้นยังไม่เป็นปัจจุบัน คือเห็่นว่ารูปนั่งดับไป ต่เมื่อรูปนั่งหมดไปแลว หาได้เห็นรูปนั่งดับในขณะที่ยังกำลังนั่งอยู่ไม่ ถ้าเห็นรูปนั่งโดยสัตตติขาด จะต้องเห็นในขณะที่กำลังนั่งอยุ่นั่งเอง อย่างนี้จึงจะแน่นอน แต่ข้้นแรกก็ต้องเป็นไปตามนั้นก่อน 

        การเห็นอย่างนี้ ก็จะรุ้ไปถึงอดีตอนาคตด้วยว่า ถึงแม้อดีตและอนาคตก็ต้องเป็นอย่างนี้เหมือนกัน ไม่สงสัยเลย

          ที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงรวบรวมใจความย่อๆ ใน "อารมณ์ขณะปฏิบัติ เฉพาะส่วนที่จะรู้ได้ในเวลากำลังปฏิบัติอยู่เท่านั้น" การเห็นอย่างนี้ วิปัสสนาเรียกว่า สัมมัสสนญาณ คือ ญาณที่เข้าไปเห็นรูปนามนี้ไม่เที่ยง แต่ว่าการเห็นนั้นเป็นอดีต เพราะว่าหมดไปแล้วจึงเห็นไม่ใช่เห็นความดับในระหว่างที่รูปนั้นยังตั้งอยุ่ แต่ก็เรียกว่าเห็นไตรลักษณ์เหมือนกัน เพราะเห็นว่าไม่เที่ยง เห็นเกิดดับเหมือนกัน แต่ว่ายังไม่ใช่ปัจจุบัน ความรุ้สึกยังไม่แรงพอที่จะลบล้างความเข้าใจผิดที่ฝังอยุ่ในสันดานออกไปได้...

        บางส่วนจาก วิปัสสนากัมมัฎฐาน แนวปฏิบัติมี รูปนาม เป็นอารมณ์

          

หมายเลขบันทึก: 646498เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2018 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2018 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท