การเรียนรู้สร้างภาวะผู้นำเพื่อยกระดับ “จิตวิญญาณความเป็นครู”


                                       เป็นครูใช่ไหม  ขอฝากเด็กๆ ด้วยนะ  ช่วยสอนให้เขาเป็นคนดี

                                                                                                   พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙

 

                                                                                                                  โดย นักคิดอิสระ...นักวิชาการไทบ้าน

                                                                                                                                 กิตติกรณ์  ยวนจิตร์

              ปัจจุบันมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมาก   พัฒนาทางด้านนวัตกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนในการแข่งขันเชิงธุรกิจในตลาดนั้น    การแข่งขันมีความรุนแรงแม้ภาพรวมในตลาดช่วงนี้ จะไม่ค่อยดีนัก เพราะเหตุปัจจัยเศรษฐกิจโลกตกต่ำ  มีการจับจ่ายใช้สอยน้อยลง  สิ่งที่น่าแปลกใจ คือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของประเทศไทย ในเครือเซ็นทรัลย์ และเครือเจริญโภคภัณฑ์  ได้มีการเข้ามาลุกตลาดคอนโดมีเนียมกลางใจเมืองและขยายไปยังส่วนภูมิภาค  ทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย ผลประกอบการในตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหุ้น มีความผันผวนเล็กน้อย บริษัทและรัฐวิสาหกิจ ที่มีกำไรในการลงทุนปี 2560-2561   เพิ่มร้อยละ 7.5 กลุ่มบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)  ธนาคารอาคารสงเคราะห์ การไฟฟ้านครหลวง จากวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศไทยนำเข่าสู่สภาพสังคมในยุคโลกาภิวัตน์  ยุคของการเปลี่ยนแปลงกันทั้งประเทศ ที่นักวิเคราะห์ต่างเรียกว่า 4.0 ยุค 4.0 คืออะไร   ทำไมต้องเกิดการพัฒนาให้สู่ยุค 4.0 ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบหักศอกในทุกวงการต้องการพัฒนาแบบทันกับเหตุการณ์  พร้อมทั้งความรู้ความสามารถ  และในส่วนแวดวงการศึกษาไทย  ก็มีการตื่นตัวเป็นอย่างแพร่หลาย  เกือบทุกสถานศึกษาจัดประชุมเชิงวิชาการ  แนวทางการศึกษาไทยในยุค 4.0  และอีกหลายๆโครงการเกี่ยวกับยุค 4.0 เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ในด้านต่างๆ  ผู้เขียนเห็นว่าต้องมีการพัฒนาการเรียนรู้สร้างภาวะผู้นำเพื่อยกระดับจิตวิญญาณความเป็นครู  เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน  และสามารถนำไปปรับและประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความหมาย  การเรียนรู้สร้างภาวะผู้นำเพื่อยกระดับ”จิตวิญญาณความเป็นครู”

          การเรียนรู้  :  การได้รับความรู้ พฤติกรรมทักษะคุณค่าหรือความพึงพอใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่ หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่  การเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลต่อเนื่องจากการได้รับประสบการณ์  โดยการเปลี่ยนแปลงเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม (2017: ออนไลน์)

          ผู้นำ  บุคคลที่ได้รับการยอมรับ  และการยกย่องจากบุคคลอื่นซึ่งได้รับการแต่งตั้ง  หรือรับการยกย่องให้เป็นหัวหน้าในการดำเนินงานต่างๆ (เนตร์พัณณา ยาวิราช 2552:1)

                      บุคคลที่มีความสามารถในการชี้นำ สั่งการมีอิทธิพลเหนือสมาชิกในกลุ่ม  หรืองค์กรสามารถขจัดปัญหา ขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น  และสามารถชักจูงให้สมาชิกปฏิบัติงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และประสิทธิผล ในขณะเดียวกันก็สามารถทำให้สมาชิกในกลุ่มหรืองค์กรเกิดความพึงพอใจ (ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ:ภาวะผู้นำของผู้บริหาร หน้า 2)

          ภาวะผู้นำ  :  กระบวนการในการผลักดันให้กิจกรรมหรือ ภารกิจของกลุ่มดำเนินไปสู่เป้าหมายของกลุ่มที่ตั้งไว้  โดยผู้นำต้องเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานต่อความพึงพอใจ ของสมาชิกในกลุ่ม (ชัยยนต์ เสรีเรืองยุทธ์ 2548:4

          ภาวะผู้นำ  :  เป็นกระบวนการที่ผู้นำมีอิทธิพลในการจูงใจ  และปฏิสัมพันธ์ให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจและมุ่งมั่นในอุดมการณ์ขององค์กร  เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ (ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ:ภาวะผู้นำของผู้บริหาร หน้า 7)

       จิตวิญญาณ  :  จิตวิญญาณ เป็นภายในแล้วก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล จะต้องปฏิบัติเองจึงจะรู้และเข้าใจ  เป็นเรื่องภายนอกเกี่ยวข้องเชื่อมโยง หรือสัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรม จะพูดในระดับที่ไกลและเหนือกว่าไปอีก และเป็นการเชื่อมโยงระหว่างโลกกับจักรวาลทุกสรรพสิ่งที่แยกกัน  ซึ่งเกี่ยวข้องกับศาสนาหรือเหนือศาสนา (ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน:ออนไลน์)

          ครู  คุรุ แปลว่า หนัก ,ผู้สั่งสอนศิษย์ ผู้ถ่ายทอดแก่ศิษย์  ดังนั้นเมื่อรวมเข้าด้วยกันเป็นคำว่า 

“จิตวิญญาณความเป็นครู” จึงหมายถึงจิตสำนึก,ความคิดและทัศนคติ  พฤติกรรมที่แสดงออกที่ดี ลุ่มลึกสงบเย็นเป็นประโยชน์ของกรอบจริยธรรม  คุณธรรม  ค่านิยม  จารีตประเพณี วัฒนธรรม เป็นผู้ที่ใฝ่รู้ค้นหา สร้างสรรค์ ถ่ายทอด ปลูกฝังและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม ซึ่งขึ้นได้ทุกคนไม่เฉพาะผู้ประกอบอาชีพเท่านั้น  (ศาสตร์ว่าด้วยจิตวิญญาณครู : ออนไลน์)

                การเรียนรู้สร้างภาวะผู้นำเพื่อยกระดับ “จิตวิญญาณความเป็นครู”  การเรียนรู้ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด  สำหรับชีวิตที่เรียกว่า “ครู”การเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์  และพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงตามยุคตามสมัยนิยม  ยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารที่ทันสมัย  สามารถเขาถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว  นอกจากนี้ ครูยังต้องมีการพัฒนาในเรื่องของการจัดการเรียนการสอนแล้ว  ยังต้องมีการพัฒนาตัวเองและสร้างภาวะผู้นำอีกด้วย  เพราะภาวะผู้นำของครู จะทำให้ครูมีความกล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง  ต้องมีคุณธรรม จริยธรรมในด้านต่างๆ และฝึกฝนให้ตัวเองเป็นโค้ช เพื่อช่วยแนะนำ นักเรียน,นักศึกษา,เพื่อนครู,ผู้บริหารสถานศึกษา  ทว่าภาวะผู้นำไม่สำคัญในสังคมนี้  จะไม่เกิดการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆ  และไม่สามารถยกระดับจิตวิญญาณความเป็นครู  ความหมายโดยรวม มีจิตสำนึกที่ดีและความคิดทัศนคติ ,พฤติกรรม ค่านิยมเป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ สร้างสรรค์ ค้นหา ถ่ายทอดและปลูกฝังเป็นต้นแบบที่ดีต่อสังคมและประเทศชาติ  และได้นำทั้ง 3 ศาสตร์มารวมกัน  1.ศาสตร์การเรียนรู้  2.ศาสตร์ด้านภาวะผู้นำ 3.ศาสตร์จิตวิญญาณความเป็นครู 

                ดังนั้น การเรียนรู้สร้างภาวะผู้นำเพื่อยกระดับ “จิตวิญญาณความเป็นครู” จึงเหมาะสมในการพัฒนาในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารที่ทันสมัย  จะต้องมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดทั้งความรู้  และความสามารถพร้อมทั้งการเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด  นำความรู้มาถ่ายทอดแก่นักเรียนนักศึกษาหรือผู้ที่สนใจ  ให้มีภาวะผู้นำทางความคิด  ทางการเรียนรู้ มีสติปัญญารู้เท่าทันเหตุการณ์ ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  และมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติสืบไป

 

หมายเลขบันทึก: 646405เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2018 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2018 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท