การปฏิบัติวิปัสสนา (สาย รูปนาม)


            หลักการของวิปัสสนา ดังได้กล่าวมาแล้วว่า วิปัสสนาเป้นช่อของปัญญาที่เห็นนามรูปเป็นไตรลักาณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน คือต้องเป็นปัญญาที่รู้หรือเห็นอย่างนี้เท่านัน จึงจะเรียกว่า วิปัสนา เปัญญาอย่างอื่นจะรู้เห็นอะไรๆ ก็ตามไม่เรียกว่า วิปัสสนาเพราะฉะนั้น ผุ้เจริญวิปัสสนา ผู้เจริญวิปัสสนาจะต้องทำความเข้าใจในหลักการดังหล่าวนี้ให้ถุกต้อง

          ต่อไปนี้ จะได้อธิบายเรื่องการกระทำหรือการปกิบัติเพื่อให้เกิดวิปัสสนา อันเป็นผล ซึ่งการปฏิบัตินี้จะต้องให้เป็นไปโดยถุกต้องตามหลักคำสอนนสติปัฎฐาน ซึ่งเป็นธรรมขึั้นแรกของโพธิปักขิยธรรม อันเป็นธรรมที่เป็นเครื่องตรัสรู้

          ในขั้แรกของการเจริญสติปัฎฐานหรือการเจริญวิปัสสนา ก็คือ ต้องทำลายส่ิงที่ปิดบังไตรลักษณ์ก่อน แล้วจึงจะเห็นไตรลักษณ์ได้ สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์นั้นได้กล่าวมาแล้ว 

          การเจริญวิปัสสนาในที่นี้ จะกล่าวเฉพาะอริยาบถบรรพะกับสัมปชัญญะบรรพะ ในกายานุปัสสนาสติปัฎฐานเท่านั้น เพื่อสะดวกแก่ผุ้ที่ยังใหม่ต่อกาปฏิบัติ หรือผุ้ที่มีปัญญาน้อย พอที่จะติดตามพิจารณาให้เข้าถึงเหตุผลตามความจริงได้

          การกำหนดอิริยาถและสัมผชัญญะนั้น ขออย่าได้เข้าใจว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย หากผุ้ปฏิบัติความเข้าใจในการพิจารณาหรือกำหนด ได้ถูกต้อง ตามคำสอนในสติปัฎฐานแล้วก็สามารถจะเห็นความจริงคือทุกขไช์ได้ เมื่อเห็นความจริงคือทุกข์ ก็ชื่อว่าเข้าถึงอริยสัจอย่าลืมว่า สิ่งที่ปิดบังทุกคืออริยาถ การกำหนดอิริยาบถ ก็เพื่อจะทำลายที่ปิดบังทุกเมื่อสิ่งที่ปิดบังถูกทำลายแล้ว จึงจะเห็นทุกข์ได้

         เมื่อผุ้ปฏิบัติได้ศึกษา มีความเข้าใจนามรูปดีแล้ว ก็พึงกำหนดนามรูปในอริยาบถบรรพะดังต่อไปนี้ คือ ในเวลาที่น่งอยู่ ก็ให้มีความรุ้สึกตัวว่าดุรูปนั่ง เวลานอนอยู่ห้มีควารุ้สึกตัวว่า ดุรุปนอน เวลายืนอยู่ให้มีความรุ้สึกตัวว่า ดุรุปยืน เวลาเกนิอยู่ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดุรูปเดิน ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความรุ้สึกตัวอย่างนี้อยู่เสมอ

         การที่ให้มีความรุ้สึกตัวเช่นนี้ ก็เพื่อแยกรูปนั่ง รูปนอน รูปยืน รูปเดิน ออำไปด้วยการเปรียบเทียบให้รู้ว่าเป็นคนละส่วน เป็นคนละรูป ถ้ากำหนดเพียงรูปไปเฉยๆ ฆนสัญญาที่ปิดบังอนัตตาก็จะไม่ถุกทำลาย จะเห็นว่าเป็นรูปเดียวกันไปหมด โดยจะสำคัว่า รูปนั่ง รูปนอน รูปยืน รูปเดิน ก็คือรุปเดียวกัน และจะทำให้เข้าใจว่า นั่ง นอน ยืน เดิน นั้นเป็น อาการของรูป ส่วนตัวจริงๆ ของรุปก็คือรูปเดียวกัน เมื่อมีความเข้าใจอย่างนี้ ก็ไม่สามารถจะกระจายฆนสัญญา คือความเห้นว่าเป็นกลุ่มเป็นก้อน ของนามรู ให้แยกออกจากกันได้ และสันตติที่สืบต่อรูปหนึ่งๆ ก็ทำลายไม่ได้ จึงต้องมีความรุ้สึกตัวดยกำหนดให้รู้ว่าเป้ฯรูปอะไร เป็นนามอะไร ต้องกำหนดอย่างนี้เสมอไป 

            การกำหนดต้องให้ได้อารมร์ปัจจุบัน คือต้องกำหนดในวเลาที่นั่งอยุ่นั้นว่า เป้นรูปนั่งในเวลาที่นอนอยู่ว่า เป้นรูปนอน ในเวลาที่ยืนอยู่ว่าเป็นรูปยืน หรือในเวลาที่เดินอยู่ว่าเป็นรูปเดิน ต้องทำควมรุ้สึกตัวให้อยู่กับอารมณ์ปัจจุบันนัเ้นๆ เสมอ รูปนั่ง ก็คื อาการหรือท่าทางที่นั่ง รูปนอน ก็คืออาการหรือท่าทางที่นอน รูปยืน ก็คืออาการหรือท่าทางที่ยืน รูปเดน ก็คืออาการหรือท่าทางที่เดิน หรือย่างไป เป็นต้น

            ดังนี้ในสติปัฎฐานกล่าวไว้ว่า เมื่อกายตั้วไว้ใอาการอย่างไร ก็ให้รู้ความเป้นไปของกายที่ตั้งไว้ในอาการนั้นๆ คือนั่งก็ให้รู้ชัดในอาการที่นั่งนั้นว่า เป็นรูปนั่ง เมื่อเดิน ก็ให้รู้ชัดในอาการที่นั่งนั้นว่า เป็นรูปนั่งง เมื่อเดินก็ใหรู้ชัดในอาการที่เดินหรือก้าวไปอย่างนั้นว่าเป็นรูป เดินเป็นต้น ระหว่างที่นั่งอยู่ ต้องมนสิการทำความรุ้สึกตัวว่า ดุรูปนั่ง แม้อยู่ในอริยาบถนอน ยืน เดิน ก็ต้องมนสิการทำความรุ้สึกตัวว่า ดุรูปนอน รูปยืน รูปเดน ไม่ใช้บริกรรมว่า "นั่งเป้นรูป รู้ว่านั่งเป็นนาม" หรือไม่ใช่กำหนดว่า "นังหนอๆ" ไปเฉยๆ เช่่นนี้ไม่ได้ เพราะอะไร เพราะถ้าบริกรรมเช่นนั้น หรือกำหนดอย่างนั้น ก็จะไม่รู้ว่า ที่นั่งอยุ่นั้นเป็นใครนั่ง เป็นรูปนั่งหรืออะไรนั่ง เมื่อไม่รู้ว่าเป็นรูปนั่ง ก็จะสำคัญิดคิดว่า เรานั่ง ความเห็นผิดก็จะเข้าอาศัยอริยาบถนั่งนั้น จงต้องมใีควมรุสึกตัวว่า เวลานี้กำลังดุรูปนั่ง หรือกำลังดุรูนอน หรือกำลังดุรูปยืน หรือกำลังดุรูปเดิน อริยาบถที่นั่ง นอน ยืน เดิน นั้น จะต้องเป็นไปตามธรรมดาที่เป็นปกติ คือก่อนที่จะมาเจริญวิปัสสนา ผุ้)กิบัติเคยนั่ง นอน ยืน เดิน อย่างไ เมื่อมาเจริญวิปัสสนา ก็นั่ง นอน ยืน เดิน ในอาการอย่างเีดยวกัน วิปัสสนานั้นไม่ใช่รุ้อะไรผิดๆ คือ ุรู้ปกติของธรรมชาติทค่เป็นปัจจุบันนั่งเองว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน คน สัตว์ ถ้าทำให้ผิดปกติ เช่น นั่ง ก็ต้องนั่งท่านั้นท่านี้ หรือเดินก็ต้องเดินให้มีท่าทางอย่างนั้นอย่างนี้แล้ว ความผิดปกตินั่นเองก็จะเข้าเคลื่อหรือฉาบทาปิดบัง ทำให้ไม่เห็นความจริง จิตก็จะเข้าถึงกฎธรรมดาไม่ได้

          อนึ่ง อาการหรือท่าทางของรูป แสดงอาการนั่งอย่างไร แสดงอาการนอนออย่างไร หรือแสดงอาการเดินอย่างไร ก็ให้รู้ในอาการหรือท่าทางของรูปนั้นๆ ไม่ใช่รู้ที่ตรงนั้นตรงนี้ เช่น รูปนั่ง ก็ไม่ใช่รู้ตรงที่ก้นหรือที่ขา ว่าเป็นรูปนั่ง หรือไม่ใช่รุ้ที่ท่อนบนหรือท่อนล่างของร่างกาย หรือไม่ใช่รู้ตรงรูปถูกว่า เป็นรูปนั่ง เพราะรูปถุกับรูปนั่งเป็นคนละรูป และคนละกาลกัน

        ฉะนั้น การกำหนดอิริยาบถนั่ง นอน ยืน เดิน ก็คือกำหนดรุ้ในอาการหรือท่าทางของรูปๆ ไป การำกำหนดอย่างนี้ เป็นกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน

        เมื่อนั่ง นอน ยืน หรือ เดิน ไปแล้วสักครุ่หนึ่ง ความผวดเมื่อยคือทุกขเวทนาก็ย่อมเกิดขึ้นที่รุปนั้นๆ เมื่อทุกข์คือความปวดเมื่อยเกิดขึ้น ก็ให้กำหนดรูนั่ง หรือรูปนอน ที่ผุ้)กบิัติกำลังดุอยุ่นั้น โดยทำความรุ้สึกตัวว่า รูปนั่งเป็นทุกข์ หรือรูปนอนเป็นทุกข์ ระหว่างที่กำหนดนั้น ต้องระวังอย่าให้มีความต้องากรอยากให้ทุกข์หายไป เพราะความอยากคือกิเลสจะเป็นเหตุทำให้ไม่เห็นควมจริง ต้องระวังเรื่องนี้ให้มาก เวลากำหนด ต้องดุไปเฉพยๆ เหมือนกับการดูละคร คล้ายกับว่าเวลานี้ตัวละครคือทุกข์ กำลังแสดงอยู่หน้าฉาก ผุ้ปกิบัติมีหน้าที่ดุเท่านั้น ไม่มีหน้าี่ไปหัดละคร หรือเข้าไปแสดงละครเสียเอง...

         บางส่วนจาก วิปัสสนากรรมฐาน แนวปฏิบัติ มีรูปนาม เป็นอารมณ์

          

หมายเลขบันทึก: 646401เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2018 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2018 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท