ข้อปฏิบัติที่ควรทำความเข้าใจ (วิปัสสนา รูปนาม เป็นอารมณ์)


             ความสำคัญเบื้องต้น ที่ผุ้เจริญวิปัสสนาควรทำความเข้าใจ ๖ ประการ คือ

             ๑. เรื่อง อารมร์ อารมณ์ของวิปัสสนา ได้แก่ วิปัสสนาภูมิ ๖ คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจ ๔ และปฎิจจสมุปบาท ๑๒ ซึ่งเมื่อย่อวิปัสสนาภูมิ ๖ ลงแล้ว ก็ได้แก่รูปและนาม 

             รูปกับนามเป็นตัวกรรมฐานที่จำนำไปใช้ในการปฏิบัตเพื่อให้เกิดปัญญา ผุ้ปฏิบัติจะต้องศึกษานามรูปให้เข้าใจ และจำได้จนขึ้นใจเสียก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติ เพราะถ้าจำไม่ได้ เมื่อรูปอะไรหรือนาอะไรปรากฎ ผุ้ปฏิบัติก็จะกำหนดไม่ถูก

             ๒ รเื่องปัจจุบัน คำว่า ปัจจุบัน มี ๒ อย่าง คือ ปัจจุบันธรรม กับปัจจุบันอารมณ์ ปัจจุบันธรรม คือ รูปธรรมและนามธรรมที่กำลังปรากฎ ธรราดารูปนามย่อมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ติดต่อสืบเนื่องกันอย่างรวดเร็ว เป้นปัจจุบันธรรมของเขาอยู่เรื่อยไปไม่ขาดสาย ผุ้ดจะเห็นความจริงของธรรมชาติอย่างนี้หรือไม่ก็ตาม รูปนามนั้นก็เป็นไปเช่นนี้ ตามเหตุปัจจัย ปรุงแต่งอยู่เสมอ

          ปัจจุบันอารมณ์ คือ รูปนามที่กำลังปรากฎเป็นปัจจุบันธรรมอยู่เฉพาะหน้า และผุ้ปฏิบัติจับเอามาเป็นอารมณ์ได้ อารมร์นั้น ชื่อว่า ปัจจุบันอารมณ์

         ผู้ปฏิบัติจะต้องพยายามให้ได้ปัจจุบันอารมณ์นี้เสมอ เช่น เวลานั่งอยู่ ท่าทางของรูปนั่งเป้นปัจจุบันอธรรม และผุ้ปฏิบัติก็กำหนดรูปรูปนั่งที่กำลังปรากฎอยู่เฉาพะหน้านั้น รูปนั่งนั้น เป็นปัจจุบันอารมร์เป้นต้น

       ประดยชน์ของปัจจุบันอารมณ์ คือ ทำลายอภิชฌา (ความยินดี) และโทมนัส (ความยินร้าย) การเจริญสติปัฎฐานนั้น จุดประสงค์ก็เพื่อทำลายอภิชฌาและโทมนัส เพียงแต่ความเพียรอย่างเดียว หรือสติอย่างเดียว หรือปัญญาอย่างเดียว ก็ไม่สามารถทำลายอภิชฌาและโทมนัส หรือให้วิปัสสนาเกิดได้ เพราะเหตุว่าไม่มีปัจจุบันอารมณ์ ผุ้ปกิบัติจะต้องอาศัยอารมณ์ปัจจุบันเป็นปัจจัยแก่การทำลายอภิชฌาและโทมนัส และเป็นปัจจุบันให้เกิดวิปัสสนาปัญญาด้วย

        อารมณ์ปัจจุบันจะได้มาอย่างไร 

        อารมณ์ปัจจุบันนั้นจะได้มาจากอินทรีย์สังวร เช่น สำรวม หรือสังวร ในเวบลาเห้ฯ ก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อวเลาได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยินเป้ฯต้น ถ้ามีปัจจุบนอารมณืแล้ว อภิชฌาและโทมนัสก็เกิดขึ้นไม่ได้ในขณะนั้น 

        อนึ่ง ผุ้ที่มีความเข้าใจในอารมณ์ปัจจุบัน และเคยถึงอารมร์ปัจจุบันแลว จึงจะรู่ว่ากาลใด สถานที่ไใ ควรแก่การเจริญวิปัสสนา เรพาะปัจจุบันธรรมนั้นก็มีกันอยู่แล้วทุกคน และมีอยู่ตลอดเวลา ทุเมื่อ แต่กาละและเทศะ ที่ควรแก่การถือเอาปัจจุบันธรรมมาเป็นอารมณืปัจจุบันได้นั้น ผุ้ไม่เข้าใจก็อาจคิดว่าเป็รื่องที่ทำกันได้ง่ายๆ 

       ธรรมปฏิบัติที่พระพทุองค์ทรงสั่งสอนไว้แล้วนั้น หากไม่พิจารรากันโดยรอบคอบถี่ถ้วนแล้ว ก็ยากที่จะเข้าใจธรรมมะนั้นๆ ได้โดยถุกต้อง เช่น เวลาที่ฟังพระเทศน์ ไม่ใช่กาลทีควรเจริญวิปัสสนา เรพาะถ้ากำหนดได้ยินว่าเป็นนามแล้ว ก็จะไม่รู้เรื่องที่เทศน์ และสถานที่ในการเจริญวิปัสนา ก็ควรพิจารณาว่าต้องเป้นสถานที่ที่ไม่เป้นปัจจัยแก่กิเลส เช่น ที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญที่ป่า โคนไม้ เรื่อนร้างว่างเปล่า เป็นต้น ว่าเป้นสถานที่อันสงัด และเงียบสงบ เหมาะแก่การทำความเพียร ที่เกื้อกูลผุ้ปฏิบัติให้เกิดวิปัสสนา ปัญญาได้สะดวก

        ๓ เรื่อง สติสัมปชัญญะ สติสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัขงผุ้ปฏิบัติในขณะที่กำหนดรูปหรือนามอยู่นั้น เรื่องความรู้สึกตัวนี้มีหลักอยู่ว่า ในขณะนั้นผุ้ปฏิบัติกำลังทำอะไรอยู่ คือ มีตัวกรรมฐานกับตัวผุ้ทำกรรมฐาน หรือผุ้เจริญวิปัสสนา

       ตัวกรรมฐาน ได้แก่ สติปัฎฐาน ๔ คือ รูปนามที่เป้นตัวถูกเพ่ง ส่วนผุ้เจริญวิปัสสนา หรือโยคาวจร ได้แก่ อาตาปี สัมปชาโน สติมา เป็นตัวเพ่ง หมายความว่า มีตัวที่ถุกเพ่ง กับตัวเพ่ง ๒ อย่างเท่านั้น

       ความรุ้สึกตัวในการกำหนดรูปนามนี้ มีความสำคัย่ิงในการเจริญวิปัสสนา โดยมากผุ้ปฏิบัติไปนึกเอา แ้วก็เข้าใจว่าที่คิดเอานึกเอานั้นเป้นตัวความรุ้สึกตัว เรื่องนี้อธิบายให้เข้าใจได้ยาก จะต้องอาศัยการชี้แจงและซักถามครูอาจารย์ผุ้สอน ที่จะทำให้ผุ้ปฏิบัติมีความเข้าใจว่า คิดนึกกับความรุ้สึกตั้วนั้น มีลักาณะต่างกันอย่างไร

         ถ้าความรุ้สึกตัวมีมากเท่าไร ก็ได้อารมร์ปัจจุบันมากเท่านั้น เรื่องนี้เป้ฯคามสำคัญของวิปัสสนา เวลากำหนดหรือเวลาดูรูปนามนั้น จะท้ิงไม่ได้เลยว่า ดูรูปอะไร ดูนามอะไรถ้าโุรูปเฉยๆ ก็ไม่เปนการถุกต้อง เช่นดุรูปนั่ง ต้องให้ได้ความรุ้สึกตัวอ้วยว่า รู้รูปนั่งบางที่ดุรูปนั่งอยุ่ แต่สักครู่เดียว สมาธิก็เข้าพอสมาธิเข้าแล้ว ความรู้สึกตัวก็หมดไป ดังนี้ เป็นต้น ต้องกลับมาทำความรุ้สึกตัวใหม่ ต้องมีความเพียรพยายามยกจิตให้ขึ้นสู่ทางของวิปัสสนาเช่นนี้เสมอ

       สำหรับผุ้ทำสมาะินั้น ไม่ใช่ว่าเขาจะไม่มีอารมณ์ปัจจุบัน อารมณ์ปัจจุบันของเขาก็มีแต่ว่าเขาไม่มีนามไม่มีรูป ซึ่งเป้นอารมณ์ของปัญญาเท่านั้น เชน ผุ้ที่เพี่งกสิณเจิรญสมถกรรมฐานเขาก็เพ่งอยู่กับปัจจุบัน ส่วนอารมณืเท่านั้นที่เป็นบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถ์ ผุ้ปฏิบัติวิปัสสนาก็รู้อยุ่ว่านั่ง แต่ว่าท้ิงรูปไป เมื่อทิ้งรูปนั่งแลวก็จะขจัดว่า "เรานั่ง" ออกไม่ได้ คือ ขจัดกิเลสความเข้าใจผิดว่า "เรานั่ง" ออกไม่ได้

       - บางส่วนจาก วิปัสสนา แนวปฏิบัติ มี รูปนามเป็นอารมณ์

หมายเลขบันทึก: 646347เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2018 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2018 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท