วิปัสสนากรรมฐาน (อุบาสกาแนบ มหานีรานนท์)


           ภาคปริยัติ ผุ้วิปัสสนากรรมฐาน ควรทำความเข้าใจให้ถุกต้องเสียก่อนว่า

           ๑) วิปัสสนา คืออะไร

           ๒) อารมณ์วิปัสสนา ได้แก่อะไร

           ๓) ประโยชน์ของวิปัสสนา มีอย่างไร 

           ๔ ธรรมะที่เป็นอุปการะแก่วิปัสสนา มีอะไรบ้าง

           เพราะวิปัสสนากรรมฐาน เป้นการปฏิบัติที่จะทำให้ผุ้ปฏิบัติถึงความพ้นทุกข์ทั้งปวงอันเป็นจุดประสงค์สูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ผุ้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จึงความจักรู้ ควรจะเข้าใจในเรื่องของวิปัสสนาโดยถุกต้องเสียก่อน ซึ่งมีหลักการี่ควรทำความเข้าใจ ดังนี้

          วิปัสสนา คืออะไร โดยหลักการแล้ว วิปัสสนาเป้นชื่อของปัญญา และปัญญานี้รู้อะไรหรือเห็นอะไร จึงเรยกว่าวิปัสสนา ก็คือ รุ้หรือเห็นนามรูปไม่เที่ยง เป้ฯทุกข์ เป้นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคลตัวตน ถ้ารู้อย่างอื่นหรือเห็นอย่างอื่น นอกจากที่กล่าวแล้ว ก็ไม่ชื่อว่า วิปัสสนาปัญญา คือโดยจะรู้หรือเห็นอะไรๆ ก็ตาม เช่น เห็นพระพุทะเจ้า เห็นพระอิทนร์ เห็นพรหม เห้นนรก เห็นสวรรค์ หรือเห็นอะไรๆ ก็ตาม การรู้การเห็นเช่นนี้ ไม่ชื่อว่าวิปัสสนา แต่อาจเห็นได้ด้วยอำนาจของสมาธิ

         เมื่อมีความเข้าใจโดยแน่นอนว่า ิปัสสนา คืออะไรแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์อันสำคัญโดยจะช่วยป้องกันและคุ้มครองผุ้นั้นไม่ให้ตกไปในความเห็นผิด งมงาย และคลี่คลายความสงสัยที่ว่า วิปัสสนาคืออะไรกันแน่

         อารมณ์ของวิปัสสนา เมื่อหลักการของวิปัสสนามีดังกล่าวว่า เป้นปัญญาที่เห็นภาวะ รูปนาม หรือขันธ์ ๕ เป็นไตรลักษณ์แล้ว การเจริญวิปัสสนาจะต้องกำหนดหรือจะต้องดุอะไรจึงจะห็นไตรลักาณ์ ก็ต้องกำหนดหรือต้องดูรูปนามที่เป้ฯอารมณ์ของปัจจุบันนั้นเองแลวจึงจะเห็นรูปนามไตรลักษรได้ ถ้าดุที่อื่นหรือดุอย่างอืน ก็ไม่มีเหตุผลเลยทีจะรูหรือเห็นสภาวะรูปนาม ตามความเป็นจริงดังกล่าวได้

         ประโยชน์ของวิปัสนามีอย่างไรประโยชน์เบื้องต้นคือทำลายวิปลาสธรรม ได้แก่ความเห็นผิดที่เห็นรูปนามว่างาม เทียง เป็นสุข เป็นตัวเป็นตน และในที่สุดทำให้ถึงสันติสุข คือ นิพพาน

        เพราะฉะนั้น การเจริญวิปัสนา จึงเป้ฯิ่งที่จำเป็นที่ผุ้ปฏิบัติ ควรรุ้ ควรจะเข้าใจในหลักการและเหตุผลของวิปัสสนาโดยถุกต้องแน่นอนเสียก่อน มิฉะนั้นก็จะทำไปอย่างผิดๆ เพราะความไม่เข้าใจหรือหลงผิดได้ เช่น ในเรื่องขันธ์ ๕ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสประกาศว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกขๆ แต่ผุ้ปฏิบัติบางท่านก็ยังมีความรู้สึกว่าขันธ ๕ เป็นสุข ในเมื่อจิตใจเข้าถึงความสงบเป้ฯสมาธิแล้ว ก้เข้าใจวา สมาธินั้นคือนิพพาน และเห็นว่าความสุขเช่นนี้ ไม่ใช่ขันธ์ เพราะพระพุทธองค์ตรัสว่า ขันธ์ป็นทุกข์ แต่ความจริงแล้ว สมาธิหาใชื่อ่นนอกไปจากขันธ์ หรือว่าพ้นไปจากขันธ์ไม่

        ความสุขเช่นนี้คือเวทนาที่เข้าไปเสวยอารมร์ที่อาศัยเกิดขึ้นจากสมาธินั่นเอง หาใช่ความสุขในพระนิพพานไม่ เรพาะพระนิพพานนั้นไม่มีเวทนา คือ ไม่มีขันธ์ จึงเป็นสุข

        หรือผู้ที่ปฏิบัติเข้าใจวา ความสงบนั้นคือพระนิพพาน โดยไปยึดเอาคำว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ ซึ่งแปลว่า สุขื่นนอกจากความสงบไม่มี แต่คำว่า ความสงบในที่นี้ ท่านหมายถึงสงบจากกิเลส สงบจากทุกข์ คือ ขันธ์ ๕ หรือจะว่าสงบจากสงขารทั้งปวง ก็ได้อย่างเดียวกัน คือ ความสงบ ตามพระคาถานี้ เป็นชื่อของความสงบที่เข้าถึงสันติสุขโดยแท้จริง คือพระนิพพาน เหตุที่ผุ้ปฏิบัติบางท่านมีความเข้าใจผิดกันไปเช่นนี้ ก็เรพาะว่าไม่มีการเอื้อเฟื้อต่อหลกปริยัติไม่พยายามปรับปรุงาปฏิบัติของตนให้ข้ากับหลักฐานตำรับตำราแห่งคำสอน แล้วยังเกิดความเห็ฯผิดที่ไ่ประกอบด้วยเหตุผลว่าปริยัติกับปฏิบัติเป้ฯคนละทาง ไม่จำเป้นต้ำงศกษาเล่าเรียนก็ได้ ปฏิบัติไปแล้วก็รู้เอง เช่นี้เป็นต้น โดยลืมไปว่า เราไม่ใช่พระพุทธเจ้า จะได้ตรัสเองโดยไม่ต้องอาศัยคำสอน

           การเจริญวิปัสสนานั้น จะต้องปฏิบัติโดยอาศัยหลักฐานตามคำสอนในสติปัฎฐาน ๔ และมีธรรมะอันเป้นอุปการระที่จะต้องเข้าร่วมประกอบไปด้วยกับวิปัสสนา คือ วิปัสสนาภูมิ ๖ ญาณ ๑๖ วิปัสสนาญาณ ๙ และวิสุทธิ ๗ เป็นต้น...

         - บางส่วนจากวิปัสสนากัมมัฎฐาน แนวปฏิบัติมี รูป นาม เป็นอารมณ์ (อุบาสกแนบ มหามารีนนท์)

หมายเลขบันทึก: 646311เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2018 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2018 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท