ความสัมพันธ์ระหว่าง ไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


ความสัมพันธ์ระหว่าง ไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

     จะเห็นได้ว่า ณ ตอนนี้ คนไทยนิยม ไปเที่ยวที่ ลาวกันมากขึ้น เนื่องจาก ลาวเป็นสาธารณรัฐ ที่ยังมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์น่าท่องเที่ยวและมีวัฒนธรรมที่ดีงามและน่าสนใจ อาหารต่างๆก็ยังคงความมีเสน่ห์ของตัวเอง ถึงแม้ในเมืองบางแห่ง จะมีการพัฒนาให้ทันยุคทันสมัย ตามการเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ถึงอย่างไรนั้น สาธารณรัฐประชาธิปไทยประชาชนลาวก็ยังเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปสัมพันธ์วัฒนธรรม ชุมชนการเป็นอยู่  อาหารการกิน บทความนี้เลยจะมากล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้ได้รู้กันค่ะ

                                                     ภาพรวมความสัมพันธ์ไทย - ลาว


1ความสัมพันธ์ด้านการเมืองและความมั่นคง

  •  ด้านการเมือง กลไกความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและลาวมีพัฒนาการเชิงบวกอย่างต่อเนื่อง เช่น การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ (Joint Commission : JC) ไทย - ลาว และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งไทยและลาวยังมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดในกรอบพหุภาคี และสนับสนุนกันในเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
  • ด้านการทหาร กองทัพไทย - ลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น ภายใต้กรอบคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป (General Border Committee : GBC) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานร่วม และมีความร่วมมือทางวิชาการทหารและแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างต่อเนื่อง
  • การแก้ไขปัญหาบุคคลผู้ไม่หวังดีต่อความสัมพันธ์ไทย - ลาว หรือ “คนบ่ดี” ทางการไทยได้ยืนยันกับฝ่ายลาวในทุกโอกาสว่ารัฐบาลไทยมีนโยบายชัดเจนที่จะไม่ยินยอมให้กลุ่มหรือบุคคลใดใช้ดินแดนไทยเป็นฐานหรือทางผ่านเข้าไปก่อความไม่สงบในประเทศเพื่อนบ้าน 
  • การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย - ลาว ไทยและลาวได้กำหนดเป้าหมายที่จะสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้แล้วเสร็จตลอดแนวโดยเร็ว โดยมีคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Border Commission : JBC) ไทย - ลาว เป็นกลไกกำกับดูแลการดำเนินงาน ที่สองฝ่ายได้เริ่มสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในภูมิประเทศจริงจนถึงปัจจุบัน
  • ความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไทยและ สปป. ลาว ได้ลงนามในปัจจุบันหน่วยงานด้านการปราบปรามยาเสพติดไทย - ลาว มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิด และได้รับผลสำเร็จในการสกัดกั้น การลักลอบค้าขายและการลำเลียงขนส่งยาเสพติดตามบริเวณชายแดนนำไปสู่การจับกุมนักค้ายาเสพติดที่สำคัญบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและสารตั้งต้น
  • ความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกด้านการสัญจรของประชาชน ไทยและสปป. ลาว

มีพรมแดนติดต่อกันรวม ๑๒ จังหวัด / ๙ แขวง ซึ่งสองฝ่ายได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาและได้ร่วมมือเพื่อเปิดและยกระดับจุดผ่านแดนในพื้นที่ที่มีความพร้อมอย่างต่อเนื่อง

2. ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

  • ด้านการค้า การค้าไทย - ลาวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง โดยไทยยังเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เชื้อเพลิง สินค้าอุปโภคบริโภค ยานพาหนะและอุปกรณ์ สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้านำเข้าจาก สปป.ลาว ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้และไม้แปรรูป พลังงาน สินแร่โลหะ
  • ด้านการลงทุน ไทยเป็นประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนสะสมในสปป.ลาว ลำดับที่ 3 สาขาการลงทุนที่สำคัญของไทย ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า ขนส่งและโทรคมนาคม ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว ธนาคาร อุตสาหกรรมไม้แปรรูป เครื่องนุ่งห่มและหัตถกรรม ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลำดับการลงทุนของไทยตกลงหลังจากครองอันดับ ๑ มาเป็นเวลานาน อาจเป็นเพราะการลงทุนสาขาพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นการลงทุนสาขาหลักของไทยใน สปป.ลาว ที่มีมูลค่าสูงเริ่มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและผู้นำลาวได้แสดงความประสงค์ในหลาย ๆ โอกาสให้ไทยมีบทบาทด้านการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อกลับไปเป็นผู้ลงทุนอันดับหนึ่งตามเดิม
  • ด้านการท่องเที่ยว รัฐบาล สปป.ลาว ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและบริการซึ่งเป็นสาขาที่สร้างรายได้ที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง 
  • ด้านไฟฟ้าและพลังงาน ไทย - ลาวได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป.ลาว มีศักยภาพที่จะพัฒนาโครงการพลังงานไฟฟ้าอีกหลายโครงการและไทยมีความต้องการพลังงานเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลไทยจึงได้ตกลงขยายการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว และยังมีอีกหลายโครงการ  ได้แก่ เขื่อนน้ำงึม 3 เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย และ เขื่อนไชยะบุลี รวมกำลังผลิต ๒,๐๕๐ เมกะวัตต์
  • ด้านการพัฒนาเครือข่ายคมนาคม เป็นความร่วมมือที่สำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนไทย - ลาว และนำไปสู่การขยายความร่วมมือด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ของ สปป.ลาว ที่จะเปลี่ยนจากประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลเป็นจุดเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค ปัจจุบัน 

3. ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม

  • ความร่วมมือด้านแรงงาน ความร่วมมือมีความคืบหน้าต่อเนื่องภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานไทย - ลาว  ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้หารือทั้งในระดับนโยบายและระดับเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่องเพื่อกำหนดแนวทางร่วมมือในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง โดยการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวในไทย และการนำแรงงานลาวกลุ่มใหม่มาทำงานในไทยโดยถูกกฎหมาย กำหนดขั้นตอนการจ้างแรงงาน และให้การคุ้มครองแรงงานสัญชาติของแต่ละฝ่ายอย่างเหมาะสม
  • ความร่วมมือด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ ไทยและลาวได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็กไทย-ลาว มีการหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ในปัจจุบันเกี่ยวกับการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก การเคลื่อนย้ายแรงงาน และสนับสนุนให้จังหวัดกับแขวงชายแดนที่มีพรมแดนติดกัน มีความร่วมมือด้านการประสานการต่อต้านการค้ามนุษย์เพื่อการต่อต้านการค้ามนุษย์ในบริเวณชายแดนอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ความร่วมมือด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  สปป.ลาวเป็นประเทศที่ไทยให้ความสำคัญในลำดับแรก โดยไทยให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาใน ๓ สาขาหลัก ได้แก่ การเกษตร การศึกษาและสาธารณสุข โดยคำนึงถึงความต้องการ ขีดความสามารถและความพร้อมของแต่ละฝ่าย ไทยได้ให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่ สปป.ลาว (เฉพาะที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ)
  • โครงการพระราชดำริ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตประชาชนใน สปป.ลาว ส่วนหนึ่งดำเนินไปภายใต้โครงการพระราชดำริ เช่น โครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว ซึ่งเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีโครงการแปลงสาธิตการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นโครงการภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนากับมหาวิทยาลัยจำปาสักด้วย
  • โครงการสันถวไมตรี กระทรวงการต่างประเทศได้จัดสรรงบประมาณภายใต้โครงการสันถวไมตรีเพื่อช่วยเหลือ สปป.ลาว พัฒนาด้านการศึกษาและสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง อาทิ การก่อสร้างอาคารเรียนและหอนอนของโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อนมิตรสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนที่โรงเรียนในแขวงชายแดนไทย-ลาว 
  • การอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน  กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายยังวัดใน สปป. ลาว นับตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ อย่างต่อเนื่อง โดยในปี ๒๕๕๓ ได้ดำเนินการที่วัดพมสิลา บ้านนาเซ็ง เมืองไกสอน พมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต

4. ความสัมพันธ์ด้านการทูต

  

ที่มา : http://aec.pcru.ac.th/content/...

หมายเลขบันทึก: 646173เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2018 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2018 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท