The Five Learning Disciplines


Dr. Peter Senge ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ในหนังสือ The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Leaming Organization เมื่อปี ค.ศ. 1990 ถึงวิธีที่จะทำให้เกิด การเรียนรู้ได้ในองค์การ โดยยึดฐานของการสร้างวินัย 5 ตัวคือ
  1. การใฝ่เรียนรู้ ความวิระยะอุตสาหะ และความเป็นนายตนเอง (Personal Mastery)
  2. ความเชื่อฝังใจ การพัฒนากรอบแห่งภูมิปัญญา (Mental Models)
  3. ความใฝ่ฝันร่วมกัน และการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)
  4. การเรียนรู้ร่วมกันของทีม (Team Learning)
  5. การคิดเชิงระบบ (Systens Thinking)
          ในการฝึกวินัยแต่ละตัวเน้นการฝึกอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตลอดไป ปรัชญาองค์การแห่งการเรียนรู้ คือ การกระทำที่ต่อเนื่อง จริงจัง ในวินัยหนึ่ง ๆ มิใช่เป็นหัวข้อวิชาที่ต้องศึกษาเท่านั้นหากแต่มันเป็นหมวดหมู่ของเทคนิคที่ต้องฝึกฝน ซึ่งมีพื้นฐานของทฤษฎี ที่สามารถกระทำ และพิสูจน์ได้จริง เมื่อท่านได้ฝึกและเกิดเป็นวินัยแล้วจะช่วยให้เพิ่มขีดความ สามารถในการมองโลกด้วยวิธีการใหม่ ๆ ท่านจะเริ่มมีความสามารถควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง และของทีมได้ ซึ่งวินัย แต่ละตัวแบบมีวิธีการเรียนรู้ดังนี้คือ
  1. วินัยความเป็นนายตัวเอง (Personal Mastery) ซึ่งเป็นวินัยที่ว่าด้วยการมีความวิระยะอุตสาหะ
    เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน และบูรณาการสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นตามที่ตนปรารถนามากที่สุด และเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนในองค์การ เกิดการพัฒนาตนเองในทุกรูปแบบ จนบรรลุเป้าหมายที่แต่ละคน เลือกสรรค์
  2. ความเชื่อฝังใจ การพัฒนากรอบแห่งภูมิปัญญา (Mental Models) หรือการยึดมั่นถือมั่นในความคิดตนเอง เป็นวินัยที่สะท้อนแนวคิดตนเอง ให้ เข้าใจมุมมองของความคิดแต่ละบุคคลที่ไม่เป็นระบบ เพื่อแก้ไขภาพฝังใจที่เป็น
    วัฒนธรรมตนเองอยู่เดิม ให้เหลือน้อยที่สุด เป็นวินัยที่ว่าด้วยการมองให้เห็นภาพฝังใจ เป็นสิ่งที่สำคัญที่ส่งผลต่อการกระทำ
  3. ความใฝ่ฝันร่วมกัน และการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) เป็นวินัยที่เน้นการสร้างจิตสำนึก ในการรับผิดชอบร่วมกันในกลุ่มด้วยกัน ด้วยการพัฒนาความฝังร่วมกันถึงอนาคตขององค์การที่เราต้องการจะรังสรรค์ ให้เกิดขึ้น เป็นวินัยที่เน้นการฝึกปฏิบัติเพื่อบรรลุความใฝ่ฝันร่วมกัน
  4. การเรียนรู้ร่วมกันของทีม (Team Learning) เป็นการเน้นการเปลี่ยนทักษะการคิดร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มสามารถพัฒนาสติปัญญา และความสามารถของทีมมากกว่าการเน้นให้นำแนวคิดของแต่ละบุคคลมารวมกัน
  5. การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking ) ป็นวินัยที่กล่าวถึงการฝึกให้มองเห็นภาพรวมของระบบ
    มากกว่าการมองภาพย่อย การสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ที่มีผลในภาพรวมขององค์การโดยรวม การคิดเชิงระบบ จึงรวมถึงการเปลี่ยนแปลงระบบให้มีประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน เป็นสิ่งที่สะท้อนการคิดในภาพรวม

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า การที่จะเข้าไปสู่การเป็นองค์การเรียนรู้ได้นั้น หน่วยงานจะต้องสนับสนุนให้มีการปฎิบัติในทุกตัวแบบ เนื่องจากวินัย 5 ประการนี้ จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้องค์กรสามารถเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้อย่างสมบูรณ์แบบ  และสามารถนำความรู้มาบริหารจัดการองค์กรใหประสบความสำเร็จต่อไป

ที่มา : http://www.siced.go.th/km/devkm.html

หมายเลขบันทึก: 64609เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2006 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท