คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต



บัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเตอร์เน็ต

        1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น

        2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น

        3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น

        4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

        5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

        6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์

        7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

        8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

        9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำของท่าน

        10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏระเบียบ กติกา และมีมารยาท

 

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้งานอินเทอร์เน็ต

        เนื่องจากอินเทอร์เน็ต คือระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็กจำนวนมากเข้าด้วยกัน เมื่อมีระบบเครือข่ายเกิดขึ้น มันทำให้เราสามารถสื่อสารกับผู้อื่นผ่านทางระบบเครือข่ายได้ ทั้งกับคนสนิทและบุคคลทั่วไป ซึ่งการที่เราติดต่อสื่อสารกันได้เช่นนี้ ก็เปรียบเสมือนเรากำลังอยู่ในสังคมแห่งใหม่ที่เรียกว่า สังคมในโลกอินเทอร์เน็ตนั่นเอง

        สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยในการที่เราจะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข นั่นก็คือ มารยาทและกฎกติกาของสังคม นึกง่ายๆ ว่า ถ้าเกิดประเทศเราไม่มีกฎหมายในการจัดการบ้านเมือง เช่น กฎจราจร ผู้คนคงขับรถกันตามใจชอบ และต่อให้ขับรถชนคนอื่นก็จะไม่มีการถูกลงโทษใดๆ ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่นอน

       ดังนั้น ในยุคปัจจุบันที่เราแทบทุกคนต่างมีสังคมอีกแห่งหนึ่งอย่าง สังคมในโลกอินเทอร์เน็ต เราจึงจำเป็นจะต้องรู้จักกฎ กติกา และมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต หรือเราควรจะมีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นการให้เกียรติและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

        จริยธรรมเป็นหลักศีลธรรมจรรยาที่กําหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นเเนวปฏิบัติหรือควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจเพื่อกระทําในสิ่งที่ถูกต้องเเละหลีกเลี่ยงการกระทําความผิดต่อผู้อื่น ผู้ใช้ควรระมัดระวังเเละปฏิบัติตามคําแนะนําในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ 

1. ด้านมารยาท  ผู้ใช้งานนั้นควรระลึกเสมอว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นมนุษย์มีความรู้สึกต่างๆเหมือกับตน ผู้ใช้จึงควรยึดถือมารยาทในการปฏิบัติในการดําเนินชีวิต เช่น

        - ควรศึกษาเเละปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาทในการใช้เว็บต่างๆ ตามที่ผุ้ให้บริการกําหนดไว้

        - ควรคํานึงถึงคุณภาพของข้อมูลที่จะอัปโหลดไปไว้บนอินเทอร์เน็ตว่ามีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร

        - ควรใช้อินเทอร์เน้ตให้เกิดประโยชน์มากกว่าการทําให้เกิดความเสียหายต่อตนองเเละผู้อื่น

        - ควรใช้อินเตอร์เน็ตอย่างคุ้มค่าเเละประหยัดเวลา

        - ควรมีความรู้ในเรื่องที่เเสดงความคิดเห็นเเละเเสดงความคิดเห็นอย่างเป็นกลาง

        - ไม่ควรเเอบอ้างหรือนําข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ก่อนได้รับอนุญาติ และหากนําข้อมูลของผู้อื่นมาก็ควรมีอ้างอิงหรืระบุข้ออย่างชัดเจน

        - ไม่โกหก ไม่หลอกลวง ไม่หวังผลกําไร และไม่ใส่ร้ายผู้อื่่น

         - ไม่ส่งเสริมการกระทําความผิดใดๆบนอินเทอร์เน็ต

        - ไม่ส่งเสริมให้เกิดความเเตกเเยกหรือทะเลาะกันบนอินเทอร์เน็ต

        - ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการทดลองความรู้ในทางที่ผิด

        - ไม่นําเรื่องของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนาทางอินเทอร์เน็ต

        - ไม่สร้างความเดือดร้อนหรือความลําคาญให้เเก้ผู้อื่น เช่น การโฆษณา

2. ด้านภาษา  ภาษาทางอินเทอร์เน็ตเเบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ภาษาเเรก คือ ภาษาท้องถิ่น ภาษาที่ สอง คือ ภาษาอังกฤษ ตังอย่างหลักการใช้ภาษาในอินเทอร์เน็ตเช่น

        - พิมพ์ภาษาให้ถูกต้องทั้งในด้านตัวสะกดเเละรูปแบบ

        - ใช้ภาษาที่สุภาพเเละใช้ให้ถูกต้องตามกาละเทศะ

        - ไม่ใช้ภาษาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อความหมาย หรือความหมายกํากวมไม่หมาะสม

        - ควรเลือกใช้ภาษาที่สั้น ชัดเจน เเละกะทัดรัด

        - ก่อนการส่งข้อมูลผู้ใช้ควรอ่านทบทวนข้อมูลหรือข้อความที่ต้องการส่งก่อนลิส่งข้อมูลนั้น

3. ด้านความปลอดภัย  เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่าขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้หลากหลาย ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมหรือการกระทําผิดกฎหมายต่างๆ ตัวอย่างการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น

        - ควรระลึกไว้เสมอว่าไม่มีความลับในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลทุกอย่างมีการเชื่อมต่อผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ไปไม่มีที่สิ้นสุด

        - ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนสมทารถแสดงข้อมูลใดๆก็ได้ ดังนั้นข้อมูลที่เเสดงอาจไม่ใช้ข้อมูลจริง

        - ควรตรวจสอบเว็บไซต์หรือไฟล์ข้อมูลก่อนอัปโหลดเเละดวน์โหลด ข้อมูลนั้นทุกครั้งก่อนใช้งาน เพื่กันไวรัสเข้าคอมพิวเตอร์

        - ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของตนเองหรือผู้อื่น เช่น หมายเลขบัตรประชาชน

        - ไม่หลงเชื่อข้อความหรือข้อมูลของผู้อื่นที่ไม่มีเเหล่งข้อมูลที่ชัดเจน

        - ไม่เปิดหรือดาวน์โหลดเว็บไซต์ที่ส่งมาจากเเหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ

สำหรับคุณธรรมและจริยธรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่ควรมี มีทั้งหมด 6 อย่าง ดังนี้

        1. ใช้ถ้อยคำสุภาพ

        การที่เราจะสื่อสารกับใครสักคนบนโลกอินเทอร์เน็ต เราต้องคำนึงเสมอว่า คนที่เราจะสื่อสารด้วยเป็นใคร ถึงแม้ว่าเราจะไม่เห็นหน้าของคู่สื่อสาร แต่เราต้องคำนึงไว้ก่อนว่าเขามีตัวตน มีความรู้สึก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าครูจะโพสต์ทวงงานนักเรียนในกรุ๊ปเฟสบุ๊ครายวิชา ครูก็ต้องนึกก่อนว่า ในฐานะครู จำเป็นจะต้องใช้คำพูดกับนักเรียนอย่างไร เพื่อให้นักเรียนเข้าใจในสิ่งที่ครูต้องการจะบอก โดยที่นักเรียนก็ไม่ได้รู้สึกเหมือนถูกครูคุกคามหรือทำหยาบคายใส่

        2. ปฏิบัติตามกฎ กติกา และมารยาทที่แต่ละเว็บไซต์กำหนด

        แต่ละเว็บไซต์จะมีการกำหนดกฎ กติกา และมารยาทในการใช้เว็บไซต์ เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้เว็บไซต์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข เช่น เว็บไซต์ YouTube มีการกำหนดว่า หากผู้ใดต้องการอัปโหลดวิดีโอเนื้อหาในวิดีโอนั้นจะต้องไม่มีเนื้อหาที่สื่อถึงความลามกหรืออนาจารเป็นต้น

        3. ให้เครดิตแหล่งที่มาข้อมูลเสมอ เมื่อมีการนำข้อมูลผู้อื่นมาใช้

        เมื่อเรามีการนำข้อมูลของคนอื่นมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ เสียง หรือวิดีโอต่างๆ เราต้องให้แหล่งที่มาของข้อมูลนั้นเพื่อเป็นการให้เกียรติและไม่ละเมิดสิทธิของเจ้าของข้อมูล หากเรานำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ให้แหล่งที่มา เราอาจจะถูกฟ้องร้องเพราะไปขโมยข้อมูลของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตได้

        4. ไม่แชร์ข้อมูลผิดๆ หรือภาพที่ไม่เหมาะสม

        การแชร์ข้อมูลผิดๆ หรือภาพที่ไม่เหมาะสมต่างๆ เช่น ภาพศพที่ไม่มีการเซ็นเซอร์ ภาพอนาจาร หรือการแชร์ข้อมูลการรักษาโรคแบบผิดๆ การที่เราแชร์สิ่งเหล่านี้ออกไป ไม่ว่าจะด้วยความสนุกหรืออะไรก็ตาม หากเราแชร์ไปโดยที่ไม่คิดไตร่ตรองให้ดี ก็จะทำให้คนอื่นๆ ที่มาเห็นข้อมูลเหล่านี้เข้าใจผิดหรือรู้สึกไม่ดีได้รวมถึงอาจเป็นการละเมิดสิทธิของคนอื่นอีกด้วย

         5. ไม่สร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น

        เวลาที่เรามาเจอเพื่อนๆที่โรงเรียนเราคงเคยบอกว่าเพื่อนคนไหนน่ารำคาญจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น เพื่อนพูดมาก เพื่อนขี้บ่น หรือเพื่อนชอบเซ้าซี้ขอให้เราทำอะไรสักอย่างให้ไม่ยอมหยุด ส่วนในโลกอินเทอร์เน็ต การสร้างความรำคาญแก่ผู้อื่นก็ไม่ได้แตกต่างไปมากนัก ยกตัวอย่างเช่นการสแปมข้อความซ้ำๆการส่งจดหมายลูกโซ่หรือการส่งคำเชิญเล่นเกมไปให้คนอื่นบ่อยจนเกินไป

        6. ไม่ละเมิดสิทธิและไม่กลั่นแกล้งผู้อื่น 

         ปัจจุบันการละเมิดสิทธิและกลั่นแกล้งผู้อื่นบนโลกอินเทอร์เน็ตมีเยอะมาก เช่น การแอบถ่ายรูปคนอื่นโดยที่เจ้าตัวไม่ได้อนุญาต แล้วนำรูปแอบถ่ายไปอัปขึ้น Facebook พร้อมวิจารณ์เขาเสียๆ หายๆ หรือการไปโพสต์แสดงความคิดเห็นด้วยคำหยาบคาย ด่าทอผู้อื่นแบบไม่มีเหตุผล (ภาษาง่ายๆ ที่เราเรียกกัน คือ “พวกนักเลงคีย์บอร์ด”) เป็นต้น

         กรณีศึกษา เช่น ข่าวที่มีคนแอบถ่ายผู้ชายรองเท้าขาดบนรถไฟฟ้า BTS แล้วอัปโหลดรูปภาพดังกล่าวขึ้นบัญชีเฟสบุ๊คส่วนตัว พร้อมพิมพ์ข้อความกล่าวหาว่า ผู้ชายในภาพติดกล้องไว้ที่รองเท้าเพื่อถ่ายภาพใต้กระโปรงหญิงสาว ทั้งๆ ที่ผู้ชายคนนั้นแค่รองเท้าขาดเฉยๆ ซึ่งมันทำให้เขาเสื่อมเสียชื่อเสียงและถูกตราหน้าว่าเป็นคนโรคจิตในชั่วข้ามคืน

ผลกระทบทางบวกและทางลบ

        ผลกระทบทางบวกของการใช้อินเทอร์เน็ต

        1. ค้นคว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น งานวิจัย บทความในหนังสือพิมพ์ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ฯลฯ ได้จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก เช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการเดินทางและสามารถสืบค้นได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

        2. ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากการรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างๆ อยู่ รวมทั้งอ่านบทความเรื่องราวที่ลงในนิตยสารหรือวารสารต่างๆ ได้ฟรีโดยมีทั้งข้อความและภาพประกอบด้วย

        3. รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเงินค่าตราไปรษณียากร ถึงแม้จะเป็นการส่งข้อความไปต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเหมือนการส่งจดหมาย การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้นอกจากจะส่งข้อความตัวอักษรแบบจดหมายธรรมดาแล้ว ยังสามารถส่งแฟ้มภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงพร้อมกันไปได้ด้วย

        4. สนทนากับผู้อื่นที่อยู่ห่างไกลได้ทั้งในลักษณะการพิมพ์ข้อความและเสียง

        5. ร่วมกลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าวเพื่อแสดงความคิดเห็น หรือพูดคุยถกปัญหากับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการขยายวิสัยทัศน์ในเรื่องที่สนใจนั้นๆ

        6. ถ่ายโอนแฟ้มข้อความ ภาพ และเสียงจากที่อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ได้จากแหล่งที่มีผู้ให้บริการ

        7. ตรวจดูราคาสินค้าและสั่งซื้อสินค้ารวมทั้งบริการต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปห้างสรรพสินค้า

        8. ให้ความบันเทิงหลายรูปแบบ   เช่น  การฟังเพลง รายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมไปถึงการแข่งขันเกมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก  

        9. ติดประกาศข้อความที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบได้อย่างทั่วถึง

        10. ให้เสรีภาพในการสื่อสารทุกรูปแบบแก่บุคคลทุกคน

        11. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

        12. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่

        13. นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลเป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ เป็นต้น

        14. ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ

        15. สามารถซื้อขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

        16. ผู้ใช้ที่เป็นบริษัทหรือองค์กรต่างๆก็สามารถเปิดให้บริการและสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่างๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น

        17. การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป

        18. สามารถฟังวิทยุผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้

        19. สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ให่และเก่ามาดูได้

   

        ผลกระทบทางลบของการใช้อินเทอร์เน็ต

        1. อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีผู้คนมากมายเข้ามาใช้บริการ  เป็นเวทีเปิดกว้างและให้อิสระกับทุกคนที่เข้ามาเขียนข้อมูล  หรือติดประกาศต่างๆโดยปราศจากการกลั่นกรองที่ดี  ทำให้ข้อมูลที่ได้รับไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นจริงหรือไม่

        2. เกิดปัญญาหาของการละเมิดลิขสิทธิ์  เช่น  การดาวน์โหลดเพลง  หรือรูปภาพมารวบรวมขาย  หรือเป็นปัญหาอย่างยิ่งคือการตัดต่อภาพบุคคลที่มีชื่อเสียงให้กลายเป็นภาพแบบอนาจารหรือเสียหายได้

        3. ก่อให้เกิดปัญหาด้านอาชญากรรม  เพราะการเล่นอินเทอร์เน็ต  เช่น  การล่อล่วงหญิงไปในทางที่ไม่ดี  การก่อคดีข่มขืน  เนื่องจากเว็บไซต์โป๊

        4. ก่อให้เกิดปัญหาการหมกหมุ่นของเยาวชนที่เข้าไปในเว็บไซต์  จนทำให้เกิดโรคติดต่อทางอินเทอร์เน็ต  ทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองเเละสังคมได้

        5. โทษต่อสุขภาพกาย เช่น แสบตา, ปวดข้อมือ, ไม่รับประทานอาหาร จนแสบกระเพาะ, อดนอน ตื่นสาย ทำให้เพลีย ง่วงเวลาเรียนหรือเวลางาน เป็นต้น

        6.โทษต่อสุขภาพจิต เช่น เกิดความทุกข์ ไม่สุขใจ ขัดแย้งภายในจิตใจหรือขัดแย้งกับผู้คนรอบข้างได้ เพราะหากเล่นเกมและอินเตอร์เน็ต

        7. โทษต่อการผลิตผลงานของชีวิต ได้แก่ การเรียนตก เสียการเสียงาน เสียความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เช่น ในกรณีที่เป็นเด็กอาจเสียความสัมพันธ์กับพ่อแม่ พี่น้อง 

หมายเลขบันทึก: 645923เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2018 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2018 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท