ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เห็ดมหัศจรรย์ สร้างสรรค์วิถีพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา


บทคัดย่อ

                      การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง  ร่วมใจสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น  “เห็ดมหัศจรรย์  สร้างสรรค์วิถีพอเพียง”  เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการความรู้  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้  2.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้   ฯ   2.2) เพื่อศึกษาพัฒนาทักษะการจัดการความรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้   ฯ  2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้   ฯ   และ 3) เพื่อถอดบทเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ ในการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีวิธีดำเนินการ 4 ขั้นตอน  ดังนี้ 1) ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1)การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A)   ขั้นตอนที่  2  การพัฒนา  (Development: D1)  การออกแบบและการพัฒนา  (Design and  Development: D & D)  ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย(Research: R2 ) การนำไปใช้ (Implementation:  I)  ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2)  การประเมินผล  (Evaluation: E)  ผลการวิจัย พบว่า

                      1. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ร่วมใจสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น   “เห็ดมหัศจรรย์ สร้างสรรค์วิถีพอเพียง” เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการความรู้ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่   4  พบว่า ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมี 6 ชุดกิจกรรม  ชุดที่ 1 เรื่อง  ก้าวสู่โลกกว้างของเห็ด  ชุดที่ 2 เรื่อง เห็ดกับเศรษฐกิจของไทย ชุดที่ 3 เรื่อง  เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุดที่ 4 เรื่อง เห็ดนางฟ้าน่ารู้   ชุดที่ 5  เรื่อง เห็ดฟางข้างครัว  ชุดที่ 6  เรื่อง  สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เห็ดแปรรูป  ชุดกิจกรรมมีค่าประสิทธิภาพแบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 67.78/65.56 ค่าประสิทธิภาพแบบรายกลุ่มย่อย (Small Group Tryout) เท่ากับ 76.94/77.22 และ ชุดกิจกรรมมี ค่าประสิทธิภาพแบบภาคสนาม (Filed Tryout) เท่ากับ 81.83/80.89 ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ในการประเมินชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ร่วมใจสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น   “เห็ดมหัศจรรย์ สร้างสรรค์วิถีพอเพียง” เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการความรู้ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่   4  ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุด

                      2. ผลการดำเนินการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ร่วมใจสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น   “เห็ดมหัศจรรย์ สร้างสรรค์วิถีพอเพียง” เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการความรู้ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4   มีประสิทธิภาพ 84.65/83.41 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80

                      3. การประเมินประสิทธิผลของชุดกิจกรรม พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ทักษะการจัดการความรู้  หลังเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ ทักษะการจัดการความรู้  โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ   

                      4. ผลการถอดบทเรียน จากการบันทึกความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนการสัมภาษณ์นักเรียนและการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนจะให้ประสบผลสำเร็จต้องเริ่มที่ตัวครู โดยครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้เตรียมการเรียนการสอน นำเสนอตัวอย่าง และแนะนำแหล่งเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักเรียนได้ดำเนินกิจกรรมให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์

คำสำคัญ (Tags): #เพาะเห็ด
หมายเลขบันทึก: 645873เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2018 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2018 08:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท