บทที่ 2 งานเลื่อย


บทที่ 2 งานเลื่อย

งานเลื่อย

          งานเลื่อย (Sawing) คือ การใช้เครื่องมือสำหรับตัดโลหะ ที่มีคมเล็กๆคล้ายคมลิ่มเรียงตัวซ้อนกันเป็นแถว ไปตามความยาวของใบเลื่อย เพื่อตัดเฉือนเนื้อวัสดุให้ขาดออกจากกัน และนำไปขึ้นรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป ส่วนประกอบของเลื่อย จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้

รูปที่ 1 ส่วนประกอบของเลื่อย

  • โครงเลื่อย (Frame) มีหน้าที่จับขึงใบเลื่อยให้ตึงและนำพาใบเลื่อยให้เคลื่อนที่ไป-กลับ เพื่อทำการตัดเฉือนวัสดุงาน โครงเลื่อยที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมมีอยู่ 2 แบบ คือ

1.โครงเลื่อยแบบปรับได้ เป็นโครงเลื่อยที่ออกแบบให้สามารถปรับขนาดความยาวของโครงเลื่อยให้เหมาะสมกับขนาดความยาวของใบเลื่อย

รูปที่ 2 ลักษณะโครงเลื่อยแบบปรับได้

2.โครงเลื่อยแบบตายตัว เป็นโครงเลื่อยที่ออกแบบมาให้มีขนาดตายตัวพอดีกับขนนาดความยาวของใบเลื่อยขนาดใดขนาดหนึ่งโดยเฉพาะ


รูปที่ 3 โครงเลื่อยแบบตายตัว

ใบเลื่อย (Blade) เป็นส่วนประกอบสำคัญของเลื่อยมือ ทำหน้าที่ตัดเฉือนวัสดุงาน ใบเลื่อยที่ใช้งานกันอยู่ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ ใบเลื่อยเหล็กกล้าคาร์บอนสูง เป็นใบเลื่อยที่มีราคาถูก ฟันเลื่อยจะทื่อง่าย ไม่ค่อยนิยมนำมาใช้งาน และใบเลื่อยเหล็กกล้ารอบสูง ใบเลื่อยชนิดนี้ทำมาจากเหล็กกล้า ผสมทังสเตน ฟันเลื่อยมีความแข็งคมดีมาก ทนความร้อนได้สูง มีอายุการใช้งานได้นาน มีราคาแพง เป็นที่นิยมใช้ทั่วไป นอกจากใบเลื่อยที้งสองชนิดนี้แล้ว ยังมีการนำวัสดุอื่นๆมาใช้ทำ เช่น Molybdenum Alloy Steel, Tungsten  Alloy Steel, Molybdenum High Speed, Tungsten High Speedรูปที่ 4 ลักษณะใบเลื่อย

ฟันเลื่อย เกิดจากการใช้เครื่องจักรกลขึ้นรูปให้เป็นร่องทีชั้นของใบเลื่อย มีลักษณะคล้ายกับลิ่มเรียงซ้อนกันตามความยาวของใบเลื่อย โดยฟันเลื่อยแต่ละฟันจะทำหน้าที่ตัดเฉือนเนื้อวัสดุในลักษณะถากโดยแรงกดและแรงดันจากมือผู้ปฏิบัติงานเลื่อย ความหยาบ ละเอียดของฟันเลื่อยจะถูกกำหนดจำนวนฟันต่อความยาว 1 นิ้ว การเลือกใช้ฟันหยาบหรือละเอียดขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุและลักษณะงาน

การเลือกใช้ใบเลื่อย

 การเลือกใช้ใบเลื่อยมีวิธีการเลือกดังนี้

    1.ชิ้นงานที่มีความกว้างหรือช่วงตัดหนา ให้เลือกใบเลื่อยชนิดฟันหยาบ ส่วนชิ้นงานบางๆให้เลือกใช้ชนิดฟันละเอียด

    2.ชิ้นงานที่เป็นวัสดุอ่อน ให้ใช้ใบเลื่อยชนิดฟันหยาบ

   3.ชิ้นงานที่เป็นวัสดุแข็ง ควรเลือกใช้ใบเลื่อยชนิดฟันละเอียด

การประกอบใบเลื่อย

         การใช้เลื่อยมือ มีความจำเป็นจะต้องทราบถึงวิธีการใส่ใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยอย่างถูกต้อง เพราะขนาดของฟันเลื่อยจะต้องเหมาะสมกับวัสดุงาน เมื่อนำใบเลื่อยมาใส่กับโครงเลื่อยแล้วต้องขันให้ตึงพอดีและขนาดความยาวของใบเลื่อย ก็ควรต้องปรับให้พอดีกับครงเลื่อยเช่นเดียวกัน

การใส่ใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยควรปฏิบัติดังนี้

1.เลือกใบเลื่อยให้เหมาะสมกับวัสดุงานที่ต้องการตัด

2.ใส่ใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อย ให้รูทั้งสองใส่เข้าขอเกี่ยวทั้งสองและสังเกตให้ฟันของเลื่อยชี้ไปด้านหน้า

3.ปรับใบเลื่อยให้ตึงด้วยนอตหางปลา โดยหมุนบิดไปกระทั่งใบเลื่อยตึงพอดี

รูปที่ 5 การประกอบใบเลื่อย

การปฏิบัติงานเลื่อย

           การปฏิบัติงานเลื่อยเพื่อตัดชิ้นงานให้มีรูปร่างและขนาดตามความต้องการนั้น ต้องมีเทคนิควิธีการ ควรต้องศึกษาขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

     1.ก่อนลงมือเลื่อยงานจะต้องทำการร่างแบบหรือขีดหมายแนวเลื่อย

     2.จับยึดชิ้นงานด้วยปากกาจับชิ้นงาน โดยให้แนวที่จะเลื่อยอยู่ในแนวดิ่งและใกล้กับปากของปากกามากที่สุด ถ้าชิ้นงานเป็นแผ่นบางๆ ควรใช้แผ่นไม้ประกบชิ้นงานก่อนทำการเลื่อย

    3.ใช้ตะไบสามเหลี่ยมตะไบเส้นแนวเลื่อย เพื่อบากคลองเลื่อยให้เป็นร่อง เป็นการบังคับไม่ให้เลื่อยลื่นไถลออกจากเส้นร่างแบบ

    4.ออกแรงเบาๆเมื่อเริ่มเคลื่อนใบเลื่อยไปข้างหน้า และตั้งมุมเลื่อยไปข้างหน้ามุมยกขึ้นประมาณ 10 องศา กับแนวระดับ

   5.ใช้ความเร็วในการเลื่อยประมาณ 30-40 ครั้ง/นาที และไม่ต้องออกแรงกดขณะดึงเลื่อยกลับ

   6.เมื่อชิ้นงานใกล้จะขาดจากกัน ให้ลดแรงกดและความเร็วในการเลื่อยลง

   7.เมื่อเลิกการใช้งานเลื่อย ให้คลายนอตหางปลาปรับใบเลื่อยให้หย่อน

การใช้งานและการบำรุงรักษา 

1) เมื่อเลื่อยชิ้นงานถึงตรงปลายควรลดแรงกดลง เพื่อไม่ให้ใบเลื่อยหัก 

 2) ขณะดึงโครงเลื่อยถอยหลัง ไม่ต้องออกแรงกดและไม่ต้องยกเลื่อยขึ้น 

 3) ควรใช้คมตัดให้ฟันทุกฟันได้ทำงานตลอดใบเลื่อย 

 4) ใช้ใบเลื่อยให้ถูกต้องกับชนิดของงาน

5) ถ้าเลื่อยวัสดุแข็งควรเลื่อยโดยใช้ช่วงชักช้าๆ 

 6) ปรับความตึงของใบเลื่อยให้เหมาะสม จะทำให้อายุงานของใบเลื่อยยาวขึ้น 

7) ควรพักการเลื่อยบ้างเพื่อระบายความร้อนออกไป 

 8) จับชิ้นงานให้ครองเลื่อยอยู่ใกล้ปากกา ถ้าไม่เช่นนั้นชิ้นงานจะสั่น  

9) ควรเก็บเลื่อยแยกออกจากเครื่องมือชนิดอื่นๆ

 โดย นางสาวพรชลิตา สุริโย             58080502618
       นางสาวสกุลรัตน์ ศรีสมโภชน์    58080502625
       นางสาวภัคเนตร ขุนจันทึก        58080502635
                            PTE KMUTT'58

คำสำคัญ (Tags): #งานเลื่อย
หมายเลขบันทึก: 645827เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2018 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2018 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท