บทที่ 3 งานหล่อ


บทที่ 3 งานหล่อ

ความหมายของกรรมวิธีการหล่อโลหะ

         กรรมวิธีการหล่อโลหะหมายถึงการทำแบบหล่อ  การทำกระสวนงานหล่อ การเตรียมทรายหล่อ การจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานหล่อ การเตรียมและการหลอมละลายของโลหะก่อนที่จะทำการหล่อ การทำความสะอาดโลหะที่ผ่านการหล่อ การตรวจสองชิ้นงานหล่อ ตลอดจนการควบคุมคุณภาพ

เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยในงานหล่อ

  • ซองลม
  • แปรงขนอ่อน
  • ขอเหล็กตักทราย
  • ถุงฝุ่งผงกราไฟต์
  • เหล็กยึดทราย
  • ช้อนใบไม้
  • กระทุ้งทรายแบบลิ่ม
  • กระทุ้งทรายด้วยมือ
  • กระทุ้งทรายบนพื้น
  • ตะแกรง
  • กระสวนรูเท
  • ที่ตัดรูเท
  • เหล็กเสริมและตะปู
  • แปรงน้ำ
  • เกรียง
  • พลั่ว
  • เหล็กแทงรูไอ
  • แท่งปาดแบบ
  • เหล็กถอดแบบ
  • หีบหล่อหรือแบบหล่อ

 

ความปลอดภัยในกรรมวิธีการหล่อโลหะ

  • จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายสวมใส่ขณะปฏิบัติงานหล่อทุกครั้ง
  • ในขณะเทน้ำโลหะห้ามใส่ถุงมือหนังโดยเด็ดขาด
  • การสกัดขี้ตะกรันหรือซ่อมแซมเตาจะต้องใส่ถุงมือหนังไว้ป้องกันอันตราย
  • จะต้องใส่สนับแข้งเพื่อป้องกันการกระเด็นของน้ำโลหะร้อนๆ
  • ก่อนเทน้ำโลหะทุกครั้งจะต้องอุ่นเบ้าเป็นเวลานานๆ
  • การยกเบ้าเพื่อนำไปเทจะต้องเดินไปข้างหน้า ไม่ควรเดินถอยหลังอาจเกิดอันตรายได้
  • ขณะการเทน้ำโลหะลงแบบ จะต้องทิ้งระยะห่างจากแบบพอสมควร เพื่อป้องกันการระเบิดหรือกระเด็นจากน้ำโลหะ
  • ห้ามถอดเครื่องนิรัภัยออกจากเครื่องจักรเป็นอันขาด
  • ควรระวังอย่าให้ท่อพ่นลมหันเข้าหาใบหน้าในขณะปฏิบัติงาน
  • การตกแต่งผิวงานหล่อควรใช้ตะไบที่มีความสมบูรณ์
  • ควรตรวจสอบหินเจียระไนให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานเสมอ
  • จะต้องตระหนักอยู่เสมอถึงคติที่ว่า “ปลอดภัยไว้ก่อน”
  • ห้ามหยอกล้อกันในขณะปฏิบัติงานหล่อ
  • พื้นที่จัดเตรียมแบบหล่อจะต้องมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
  • ทรายจะต้องไม่มีความชื้นหรือแห้งมากจนเกินไป
  • การกระทุ้งทรายอย่าทุ้งให้แน่นเกินไป เวลาเทน้ำโลหะอาจจะระเบิดได้
  • เมื่อเตรียมแบบหล่อเสร็จจะต้องตรวจสอบความเรียบร้อย
  • ขณะปฏิบัติงานหากเกิดอุบัติเหตุให้แจ้งครูผู้ควบคุมทันที
  • ในการพลิกกล่องไส้แบบที่มีน้ำหนักมากๆ ควรใช้อุปกรณ์ช่วยยกให้ถูกวิธี
  • ไม่จับแผ่นรองไส้แบบในขณะที่ยังร้อน

 

กระสวนงานหล่อ

      กระสวนงานหล่อ (Patterns) คือ แม่แบบ ต้นแบบ หรือหุ่นจำลองที่จะทำให้แบบหล่อเกิดเป็นโพรงทำให้ได้ขนาดและรูปร่างที่ต้องการหล่อออกมาตามความต้องการ กระสวนที่ดีจะต้องมีสมบัติดังนี้

  • มีความต้านทานต่อสารเคมี
  • ทนต่ออุณหภูมิสูงได้ดี
  • ทรายจะต้องไม่ติดผิวกระสวนได้ง่าย
  • มีผิวเรียบ
  • มีขนาดเที่ยงตรง
  • มีความต้านทานต่อการเสียดสี
  • ทนต่อแรงกระแทกได้ดี

วัสดุที่นิยมนำมาใช้กระสวนมีดังนี้

  • ไม้
  • โลหะ
  • ปูนพลาสเตอร์
  • พลาสติก
  • ปรอท
  • ขี้ผึ้ง
  • โฟม
  • อื่นๆ

 

  • ชนิดของกระสวนที่ใช้ในอุตสาหกรรมงานหล่อมี ดังนี้

กระสวนชนดเดียวกันสามารถทำงานได้ง่าย ราคาถูก ใช้ผลิตงานจำนวนไม่มากนักมีรูปร่างง่ายๆไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก ส่วนใหญ่จะมีด้านเรียบหนึ่งด้าน นิยมใช้มือในการทำแบบทั่วๆไป 

  • กระสวนสองชิ้น

ส่วนมากจะนิยมแบ่งกระสวนออกเป็น 2 ซีกเท่าๆกัน หรืออาจจะไม่เท่ากันในบางครั้งก็เป็นได้ ทั้งสองชิ้นจะมี Parting Surface หรือระยะ Parting Line โดยมีสลักของซีกบนเพื่อสวมกับรูของส่วนซีกล่างเข้าด้วยกันเพื่อแยกส่วนหีบหล่อบนและส่วนหีบหล่อล่าง 



  • กระสวนหลายชิ้น

ส่วนมากจะมีตั้งแต่ 3 ชิ้นขึ้นไป จะมีรูปร่างยุ่งยากมากกว่ากระสวนทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมาแล้วจะมีสลักและรูไว้สวมกันในการทำแบบหล่อซึ่งจะต้องใช้หีบชิ้นกลางเข้ามาช่วยด้วย

  • กระสวนติดแผ่นชิ้น

กระสวนติดแผ่น เป็นกระสวนแบบ 2 ชิ้น แล้วนำมาติดกับโลหะทั้ง 2 ด้าน ส่วนมากใช้ทำแบบด้วยเครื่องผลิตงานเป็นจำนวนมากๆ

  • กระสวนแบบ Cope and Drag Pattern

Cope and Drag Pattern เป็นกระสวนติดแผ่นโดยมีส่วนของซีกล่างและซีกบนติดอยู่กับแผ่นไม้หรือโลหะคนละแผ่น ใช้ทำแบบหล่อด้วยเครื่อง สามารถผลิตงานใหญ่ๆ และจำนวนมากๆ

  • กระสวนโครง

กระสวนมีโครงทำด้วยไม้รูปร่างเหมือนงานจริงเวลาทำแบบใส่ทรายตรงช่องว่างของโครงแล้วกระทุ้งทรายให้ได้ที่ จึงใช้แผ่นไม้ที่มีรูปร่างเหมือนงานจริงปาดผิวแบบให้เรียบจึงใช้ได้ใช้กับงานขนาดใหญ่มากๆ ต้นทุนต่ำ

  • กระสวนกวาด

กระสวนกวาดใช้แผ่นไม้ซีกเดียวตัดให้เป็นรูปร่างเหมือนชิ้นงานจริง การทำแบบหล่อจะใช้วิธีการกวาดหมุนรอบแกนกลาง เพื่อกวาดทรายให้เป็นโพรงตามแบบที่ต้องการ ใช้ผลิตรูร่างง่ายๆและทั้งสองด้านจะต้องเท่ากัน

  • กระสวนแบบ Gated Pattern

กระสวนแบบ Gated Pattern ใช้ผลิตงานที่มีขนาดเล็กเท่านั้น จำนวนการผลิตไม่มากนักและมีระบบป้อนจ่ายติดอยู่กับกระสวนเสร็จในตัว ทำด้วยไม้หรือโลหะก็ได้

  • กระสวนติดแผ่นรอง

กระสวนติดแผ่นรองจะมี Follow Board ที่มีรูปร่างเหมือนกับผิวด้านในของชิ้นงาน ติดกับส่วนของหีบหล่อบน ขณะทำแบบจะต้องวางกระสวนลงไป Follow Board ให้ทำหีบหล่อล่างก่อนเมื่อพลิกหีบหงายขึ้นแล้วยก Follow Board จึงทำหีบหล่อบนต่อไป

การทำแบบหล่อด้วยการทำไส้แบบ

  • การทำแบบหล่อ

การทำแบบหล่อกระทำได้หลายวิธี แต่ในที่นี้จะเน้นเฉพาะการทำแบบหล่อชนิดสองชั้น ซึ่งมีขั้นตอนการทำแบบหล่อ ดังนี้

  • นำกระสวนมาวางบน Bottom Board
  • เตรียมทรายหล่อให้พอกับการใช้งาน
  • วางหีบชั้นล่างลงบน Bottom Board
  • ใส่ทรายละเอียดทับบนกระสวนแล้วกระทุ้งสลับกับการเติมทรายให้เต็มหีบ
  • ปาดทรายออกให้ได้ระดับหลังหีบ แล้วเจาะรูอากาศให้ทั่ว
  • พลิกกลับเอาทางกระสวนขึ้นแล้วเอากระดานรองแบบออก
  • โรยทรายแยกแบบให้ทั่ว
  • วางหีบหล่อชั้นบนลงบนหีบหล่อชั้นล่าง วางไม้รูเท รูล้นในตำแหน่งห่างจากกระสวนตามกำหนด
  • ใส่ทรายหล่อละเอียดและทรายหยาบทับลงไป กระทุ้งรอบๆหีบหล่อ เติมทรายลงไปให้เต็มและกระทุ้งอีกจนเต็มหีบหล่อชั้นบน
  • ปาดทรายออกแล้วเจาะรูระบายก๊าซและแทงรูไอให้ทั่ว และทำแอ่งเทน้ำโลหะแล้วจึงดึงไม้รูเทรูล้นออก
  • ยกหีบหล่อชั้นบนออก ถอดกระสวนออกเบาๆ แล้วตกแต่งแบบหล่อทราย
  • ทำช่องทางน้ำเข้าโลหะ
  • ทาผงกราไฟต์ชนิดแห้งที่ผิวของแบบหล่อชั้นบนและชั้นล่าง แล้วยกหีบหล่อประกบชั้นล่างและชั้นบนให้ตรงตำแหน่งเหมือนเดิม
  • ยกหีบแบบทรายหล่อวางบนพื้นเพื่อรอการเทน้ำโลหะ ก่อนเทน้ำโลหะจะต้องเผาแบบหล่อทรายให้แห้งเสียก่อน

  • การทำไส้แบบ

การทำไส้แบบทรายหล่อ หมายถึง ทรายที่ทำเป็นรูปร่างต่างๆ เพื่อให้ชิ้นงานหล่อที่ออกมาเป็นรู

ตามต้องการ  โดยการวางลงในโพรงแบบหล่อก่อนทำการเทน้ำโลหะลงในแบบ ไส้แบบหล่อมีอยู่หลายชนิด ดังนี้

  • ไส้แบบทรายชื้น
  • ไส้แบบทรายแห้ง
  • ไส้แบบเปลืองบาง
  • ไส้แบบหีบร้อน
  • ไส้แบบซินโฟล
  • ไส้แบบซิลิเกต
  • ไส้แบบฟูราน
  • ไส้แบบซินโคร์
  • ไส้แบบโฟลเฟ็น
  • ไส้แบบโฟลเทอม
  • ไส้แบบ Resin Bonded
  • ไส้แบบ The Cold Set Process
  • ไส้แบบ Fluid or Cartable Sand Process
  • ไส้แบบ Nishiyama Process
  • ไส้แบบ Oil – No – Bake Process

เตาหลอมโลหะ

         เตาหลอมโลหะที่จะกล่าวถึงมีหลายชนิดซึ่งมีความสำคัญในการหลอมโลหะสุดแล้วแต่งานและชนิดของโลหะที่ต้องการหล่อ มีดังนี้

  • เตาสูง (Blast Furnace)
  • เตาคิวโปลา (Cupola)
  • เตาโอเพนฮาร์ท
  • เตา Air Furnace
  • เตาไฟฟ้า
  • เตาเหนี่ยมนำกระแสไฟฟ้า
  • เตาเป่าด้วยออกซิเจน

เตาสูง ใช้ผลิตโลหะแท่งซึ่งเป็นเหล็กดิบและนำไปปรับปรุงคุณภาพในเตาอื่นต่อไป

เตาคิวโปลา มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกตั้ง เปลือกรอบนอกของเตาเป็นเหล็กแผ่น ภายในบุด้วยอิฐทนไฟและมีอุปกรณ์ต่างๆ

 

เตาโอเพนฮาร์ทเป็นเตาที่ใช้ผลิตเหล็กกล้าอีกวิธีหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่พอสมควร สร้างด้วยอิฐทนไฟเป็นส่วนใหญ่ สามารถผลิตเหล็กกล้าได้วันละ 500 ตัน

เตา Air Furnace ใช้ผลิตเหล็กหล่อสีขาว เตามีลักษณะยาวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังคาโค้ง

เตาไฟฟ้าส่วนมากใช้หลอมละลายเสษโลหะ ใช้ผลิตเหล็กสแตนเลสชนิดหล่อเหล็กทนความร้อน เหล็กเครื่องมือและเหล้กผสมอื่นๆ

เตาเหนี่ยมนำกระแสไฟฟ้าใช้ผลิตเหล็กกล้าชนิดพิเศษและเหล็กกล้าคุณภาพสูง การหลอมละลายกระทำโดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าสลับให้ไหลผ่านท่อทองแดงที่พันม้วนอยู่รอบเตา การเหนี่ยวนำในท่อทองแดงให้เกิดกระไหลวนทำให้โลหะหลอมละลายได้อย่างรวดเร็ว

เตาเป่าด้วยออกซิเจนได้พัฒนาให้ออกซิเจนบริสุทธิ์เป่าเข้าไปในน้ำเหล็กดิบ ใช้ผลิตเหล็กกล้าที่มีคุณภาพดีที่สุด เช่น เหล้กกล้าไร้สนิม เหล็กกล้าเครื่องมือ เป็นต้น

โดย นางสาวพรชลิตา สุริโย             58080502618
       นางสาวสกุลรัตน์ ศรีสมโภชน์    58080502625
       นางสาวภัคเนตร ขุนจันทึก        58080502635
                            PTE KMUTT'58

 

คำสำคัญ (Tags): #งานหล่อโลหะ
หมายเลขบันทึก: 645826เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2018 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2018 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท