ตั้ง Tag ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


1. ใช้ tag ที่มีเรทติ้งสูง

เรื่องนี้มีผู้ยกมากล่าวถึงพร้อมรายละเอียดแล้ว เช่น

การใช้ tag กับการแสวงหา feedback ใน gotoknow

แนวคิดแบบนี้ อาจไม่เหมาะกับผู้ใช้ที่ชอบอยู่แบบสบาย-สบาย หรือผู้ใช้ที่ไม่ค่อยรู้เรื่องเทคโนโลยี

2. ใช้ tag ให้สั้น ถ้าเป็นไปได้ ใช้คำ ไม่ใช้วลี หรือหากใช้วลี ควรมีคำ

ตรงนี้มองจากมุมของผู้ใช้คนอื่น และมองจากมุมของ search engine

มองในมุมของผู้ใช้คือ ถ้าเราสนใจอะไรสักเรื่อง เวลาค้น เราจะนึกถึงคำที่สังคมมนุษย์รู้จักไว้ก่อน ไม่นึกถึงวลีที่มีความซับซ้อน เพราะเราคงมีโอกาสจินตนาการถึงสิ่งที่เราไม่เคยจินตนาการได้ยากกว่าการจินตนาการถึงสิ่งที่เราคุ้น

เช่น สมมติคนเขียนนึกอยากเขียนเรื่องผัดกระเพรายังไงให้น่ากิน ถ้าใช้ tag ว่า "ผัดกระเพรา น่ากิน เคล็ดลับ ปรุงอาหาร" แบบนี้น่าจะเป็นไปได้ว่าเชื่อมข่ายโยงใยกับคนอื่นได้ดีกว่า "ผัดกระเพราะอย่างไรให้น่ากินโดยใช้เคล็ดลับสุดยอดในการปรุงอาหาร"

มองในมุมมองของ search engine คือ ถ้าค้นวลี วลีนั้นต้องเคยมีผู้นิยมใช้มาก่อน หรือไม่ตัว search engine นั้นต้องรู้จักตัดคำในภาษานั้นเป็น จึงจะสามารถมองว่า tag ดังกล่าว เป็นคำที่มีความหมาย ควรเก็บไว้ ซึ่งตรงนี้ ถ้าเป็น search engine นอก ก็คงไม่สนใจลงทุนตรงนี้เท่าไหร่ให้คนไทย

ผมเคยเห็นบาง blog แก้ปัญหานี้ด้วยการใช้ tag คำ เสริมกรณีที่จำเป็นต้องใช้ tag ที่เป็นวลี ดูเผิน ๆ เหมือนซ้ำซ้อน แต่ผมเชื่อว่า blog นั้น จะเข้าถึงง่ายกว่า blog อื่น

3. ใช้ tag มาตรฐาน

แนวคิดนี้คงต้องเป็นเรื่องของผู้ดูแลระบบ มากกว่าที่จะเป็นภาระของผู้ใช้ทั่วไป จึงขอไม่ออกความเห็นครับ

 

หมายเลขบันทึก: 64570เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2006 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอขอบคุณอาจารย์ wwibul...

  • บันทึกนี้ทำให้นึกถึงประโยคของท่านอาจารย์ชูมากเกอร์...
  • ท่านเป็นนักเศรษฐศาสตร์เยอรมันที่อพยพไปอยู่อังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

รัฐบาลอังกฤษส่งท่านไปช่วยดูแลเศรษฐกิจพม่า... ท่านเห็นคนพม่านับถือพระพุทธศาสนา ปลูกข้าว ปลูกพืชผักสวนครัว มีความสุขมากกว่าคนอังกฤษ...

  • ท่านเลยบอกว่า อังกฤษควรจะเรียนรู้จากพม่ามากกว่าไปสอนพม่า
  • ท่านเขียนหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
  • ประโยคที่เรารู้จักกันดีคือ "Small is beautiful." หรือ "เล็กๆ นั่นละดี"

เรื่อง Tag ก็เช่นกัน.... เรียบง่าย + สั้นไว้ก่อนละดี

เรื่องของ tag และการเผยแพร่ข้อมูลนั้น ถ้ามองที่จุดประสงค์ มองที่เป้าหมาย สามารถที่จะกำหนดรูปแบบที่เหมาะกับตัวเราเองได้ครับ

หากต้องการบันทึกที่มีความเป็นส่้วนตัว ต้องการความเห็นเชิงคุณภาพ ความเรียบง่าย tag ไม่ใช่สิ่งสำคัญครับ
เพราะในเวบที่ไม่ระบุ tag นั้น google และเวบค้นหาอื่นๆ ก็สามารถที่จะค้นพบได้

เช่นเอกสาร word , excel, pdf ที่ใส่ไว้ในเวบ ประกาศ ข่าวสาร ต่างๆ google ก็สามารถค้นพบได้

หากต้องการเผยแพร่ข้อมูลให้ออกสู่วงกว้าง มีคนน้ำข้อมูลเหล่านั้น ไปใช้ประโยชน์ต่อไป ไม่อยากให้ถูกจำกัดปิดกั้น หรือต้องการทำให้มีผู้เข้าชมเวบ หรือบล็อกนั้น เพิ่มสูงขึ้น เพื่อประโยชน์ในแง่ของธุรกิจ สามารถที่จะหารายได้จากการติดป้ายโฆษณาได้

การใส่้ tag  เพื่อเพิ่มเรทติ้งให้มากๆ ซึ่งหลายบล็อก ได้เขียนบันทึกในประเ็ด็นนี้ ออกมาอย่างหลากหลาย ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเดินไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

แต่บันทึกนี้ของอาจารย์ก็ให้ข้อมูลที่มีคุณค่ามากจริงๆครับ

หลายบล็อกที่เคยเข้าไปอ่าน มุ่งเน้นในยอดจำนวนผู้เยี่ยมชมมากเกินไป ใช้ทั้ง tag ,ไปแนะนำบล็อกไว้ในที่ต่างๆ แจ้งผ่านอีเมล์...ฯลฯ

เทคโนโลยีและสิ่งที่จะทำให้เป็นไปตามมาตรฐาน ก็ทำให้หลายคนลืมจุดหมายที่แท้จริงของการนำเสนอข้อมูลได้่เ่ช่นกัน
  • เห็นด้วยกับคุณนายบอน!-กาฬสินธุ์ ครับ ในเรื่องที่ว่า ถ้ามีกลุ่มเฉพาะอยู่ การใช้ tag เป็นวลี ก็น่าจะดี เพราะทำให้ร้อยโยงกันได้เหนียวแน่น ก็เป็นรูปแบบการจัดการที่มีพลังมากแบบหนึ่ง
  • ข้อเสนอของผมอยู่ที่ผู้ใช้ทั่วไปที่ยังไม่มีกลุ่มเฉพาะ แต่ชอบคุ้ยซอกแซกครับ
  • ขอขอบคุณนพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์ที่ช่วยกรุณายกตัวอย่างที่โดนใจครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท