อิริยาบทนั่ง ตอนที่ ๓


          ถ้าอยากลืมตา ให้กำหนดว่า อยากลืมหนอๆๆ ขณะลืมตามขึ้น กำหนดว่า ลือมหนอๆๆ ขณะเห็นภาพ กำหนดว่า เห็นหนอๆๆ ขณะเหลียวกลับมาที กำหนดว่า เหลี่ยวหนอๆๆ ขณะดูนาฬกา กำหนดว่ ดุหนอๆ ต่อไปให้กำหนดรู้อาการพองยุบต่อไป 

         เมื่อนั่งสมาธิจนครบเวลาที่กำหนดแล้ว ขณะได้ยินเสียงนาฬากตีบอกเวลาหรือนาฬกาปลุก กำหนดว่ ได้ยินหนอๆๆ ขณะยกมือขวาขึ้นไปวางบนเข่า กำหนดว่ายกหนอ ไปหนอ คว่ำหนอ ลงหนด ถูกหนอ มือซ้านก็กำหนดเชนเดียวกัน 

          ขณะอยากลืมตา กำหนดว่า อยากลือมหนอๆๆ ขณะลืมตขึ้นกำหนดว่า ลืมหนอๆๆ ขณะเห็นภาพกำหนดว่า เห็นหนอๆๆ ขณะกระพระบตา กำหนดว่า กระพริบหนอๆๆ 

         ขณะขยับตัวลุกนั่งคุกเข่า กำหดนว่า ขยับหนอ ๆๆ เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วกำหนดกรอบพระเหมือนตอนก่อนนั่งสมาธิ กราบเสร็จแล้ว (ถ้าใส่แว่นกำหนดสวมเว่นตาก่อน) แล้วกำหนดอยากลุกว่า อยากลุกหนอๆๆ ขณะยันตัวลุกขึ้นกำหนดว่า ลุกหนอๆๆ 

         ขณะยืนเต็มที่กำหนดว่า ยืนหนอๆๆ ขณะเดินไปสู่ที่จงกรม หรือเข้าห้องน้ำ กำหดว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ

          ในการปฏิบัตเดินจงกรมและนั่งสมาธิ สลับกันอย่างนี้จนครบตามตารนางเวลาที่กำหดนให้ ให้กำหนดต่อเนื่องเหมือนลูกโซ่ ในช่วงเวลาการปฏิบัติธรรมต่องสำสำรวมระวังสายตามมองแต่พื้น ไม่พูดคุยกัน 

          พุทธประสงค์ของการเจริญวิปัสสนาคือการกำหนดรูปและนามเป็นอารมร์ ซึ่งเป็นกฎตายตัว ถ้าผิดจากนี้ไม่ใช่วิปัสสนา ถ้าการกำหนดรู)ใหญ่ไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อย ก็ให้กำหนดรูปทีละเอียวขึ้นไป 

         รูปที่ลมหายใจถูกต้องคือลมหายใจเข้าออกไปถูกที่ใด ก็ให้กำหนดที่น้้น สถานที่ลมหายใจถูกมี ๒ แห่ง คือ ที่จมูก และทีท้อง ที่จมูกจะชัดเฉพาะช่วงแรกเท่านั้น เมื่อลมละเอียดจะปรากฎไม่ชัดเจน ส่วนที่บริเวณท้องที่มีอการพอง-ยุบ กำหดนได้ชัดเจนสม่ำเสมอ แม้ว่าจะปฏิบัติค่อนข้างยากในช่วงแรก หากแนะนำไม่ถุกต้องจะหาพองยุบไม่ได้ หรือไม่ชัดเจน การกำหนดที่ท้องจะทำนานเท่าใดก็กำหนดได้ และจะแสดงสภาวะได้แจ้งชัดกว่าที่จมูก 

       ในการกำหนดเบื้องต้น ให้เอาจิตไปกำหนดที่ท้องของตน จะเห็นอาการพองและอาการยุบปรากฎอยุ่ที่ท้อง หากไม่ปรากฎ ให้เอามือคลำที่ท้องูสักระยะหนึ่ง อาการพองที่ท้องก็จะปรากฎและให้กำหนดอาการพองของท้องว่า "พองหนอ" ในขณะเดียวกันเวลาหายใจออกอาการยุบจาะปรากฎที่ท้อง ก็ให้กำหนดอากายุบของท้องนั้นสว่า "ยุบหนอ" อาการทั้ง ๒ ต้องปรากฎชัด จึงจะถือว่าใช้ได้ ในระยะเริ่มต้นกำหนด เราท้องบัญญัติไปหมดเลยไม่ได้ เมื่อปฏิบัติไปจนญาณปัญญาแก่กล้าถึงที่สุดแล้ว อารมณ์ที่เป็นบัญญัติทั้งหมดก็จะหายไป

         ส่วนสายที่เป็นปรมัตถ์ หรืออารมณ์ปรมัตถ์ก็จะปรากฎ ท่านมหาสีสยาดอ ได้สอนให้แบ่งอารมร์ที่ต้องใส่ใจ ๒  อยาง คือ อารมณ์ หลัก และอารมณ์รอง อารมณ์หลักคือการกำหนด ที่พอง-ยุบ จากการเคลื่อนไหวของท้อง ถ้าหากความรู้ในการเคลื่อนไหวของหน้าท้องหยุดไม่ชัดเจน หรือหายไป ควรเปลี่ยนไปที่การกำหนดท่นั่ง และกำหนดส่วนที่ร่างกายสัมผัสพื้นซึงนี้เรียกว่า อารมร์รอง ผุ้ปฏิบัติต้องเข้าใจว่า อารมณ์ของสติปัฎฐาน คือความรู้(สึก)ที่เกิดขึ้นจริงตามลำดับ ไม่ใช่สถานที่ที่ถูกระทบ และไม่ใช่ที่คำว่า ถูกนอ นั่งหนอ เป็นต้น กัมมัฎฐานรูปแบบนี้มีประโยชน์เด่นชัดหลายประการ คือ 

         - การเคลื่อนไหวของหน้าท้องเป็นไปโดยธรรมชาติอยุ่แล้ว และเกิดขึ้นสม่ำเสมอ ไม่สร้างขึ้น จึงมีโอกาสสังเกตได้ง่ายตลอดเวลา

          -เนื่องจากป้นการเคลื่อนไหว จึงเปิดโอกาสให้พิจารณาได้อลายอย่าง เช่น การเกิด ดับไปตบอดเวลา ความเกิดและความตาย เช่นเดียวกับการทีสติกำหนดลมหายใจ

         - การเคลื่ือนไหวหน้าท้อง เป้นารกระทบทีค่อนข้างหาบ เพราะป็นรูปที่มีวาโยธาตุเป็นปัจจย ง่ายตอการกหนเพื่อนำไปสู่วิปัสสนา...

           - คู่มือวิปัสสนากัมมัฎฐาน (พองยุบ)

         - 

หมายเลขบันทึก: 645589เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2018 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2018 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท