The 4 Step To Effective Decision-Making (4 ขั้นตอนตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ)


เมื่อผู้นำต้องตัดสินใจ !!

The 4 Step To Effective Decision-Making


การตัดสินใจ เป็น ทักษะสำคัญที่ผู้นำทุกคน

ต้องใช้ในชีวิตการทำงานประจำวัน (Daily Skills)

.

.

การตัดสินใจเกิดขึ้นได้ทั้งในสถานการณ์

ที่มีปัญหาและไม่มีปัญหา ซึ่งการตัดสินใจ

มีโอกาสนำไปสู่ ทางออก และ ทางตัน ได้ เท่าๆกัน

.

.

แต่การมีทักษะการตัดสินใจที่ดี จะสามารถสร้างผลลัพธ์

ที่คาดหวัง และ ทำให้ผลกระทบการตัดสินใจเป็นไปในทางบวกอีกทั้งยังสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ด้วย ประโยชน์ของการตัดสินใจที่ดีมีอีกมากมาย....


----------------------------------------

The 4 Step To Effective Decision-Making

4 ขั้นตอนตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

.

.

ทบทวนอำนาจหน้าที่ : เมื่อผู้นำหรือหัวหน้างาน พบสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ (ซึ่งอาจเกินขึ้นได้ทั้งที่มีแผนปฏิบัติงานและไม่มีปฏิบัติแผนงาน) สิ่งแรกอาจต้องทบทวนบทบาทหน้าที่ดูก่อนว่า เรื่องนี้ คุณสามารถตัดสินใจได้เองเลย หรือ ต้องปรึกษาใครก่อน(ผู้บังคับบัญชา) หรือ คุณไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องนี้เลย


Tips : หากคุณมีบทบาทต้องตัดสินใจ อย่าลืม พิจารณาสถานะในเรื่องที่ต้องตัดสินใจด้วยว่าการตัดสินใจนี้ (เร่งด่วน , สำคัญมาก , ผลกระทบสูง , ต้องตัดสินใจทันที) ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการในการกำหนดทางเลือกและตัดสินใจ หากเรื่องที่ตัดสินใจสำคัญและมีผลกระทบอันตรายหากผิดพลาด (danger decision-making) ผู้นำจะต้องรอบคอบในการตัดสินใจให้มากขึ้น

.

.

รวบรวมข้อมูล : การตัดสินใจคนเดียว (Individual Decisions) แบบในอดีต อาจนำมาสู่ประสิทธิภาพที่ด้อยกว่าการตัดสินใจแบบทีม (Team Decisions) เพราะฉะนั้น การระดมสมองทีมงาน จะทำให้ข้อมูลการจตัดสินใจมีมากขึ้น มุมมองการตัดสินใจจะดีขึ้น จากนั้นให้ผู้นำกำหนดเกณฑ์หรือความคาดหวังจากการตัดสินใจแล้วจึงกำหนดทางเลือกขึ้นมา (เน้นปริมาณก่อนแล้ววิเคราะห์หาเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด) ที่สำคัญอย่าลืมสร้างแผนการรองรับทางเลือกหลังการตัดสินใจด้วย หากเกิดปัญหาและผลกระทบจะได้สามารถแก้ไขได้ทันเวลา(Risk Management)

.

.

สื่อสารการตัดสินใจ : เมื่อผู้นำตัดสินใจบนพื้นฐานเหตุผล

และข้อมูลที่พิสูจน์ได้อย่างเด็ดขาดแล้ว ผู้นำต้องสื่อสารการตัดใจสินใจนี้ไปหาผู้ที่เกี่ยวข้อง ทุกคนต้องรับทราบ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าการสื่อสารนั้น คือการสร้างการยอมรับในการตัดสินใจของทีมงาน และ ผู้ที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าการตัดสินใจจะถูกต้องและดี แต่หากการขับเคลื่อน Solution นี้จากทีมงานไม่ดี ปัญหาเกิดขึ้นแน่นอน และผลลัพธ์ที่คาดหวังจะไม่เป็นไปตามที่คาดหวังแน่นอน

.

.

ติดตามการตัดสินใจ : เมื่อ Solution จากการตัดสินใจดำเนินไปผู้นำต้องติดตามและควบคุม (Monitor Solution) เตรียมพร้อมจัดการกับปัญหาหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ตามแผนที่วางไว้ เมื่อการตัดสินใจผ่านไป อย่างลืมสร้างมาตรฐานการตัดสินใจ เอาไว้ เก็บสถิติเอาไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจครั้งต่อไป

----------------------------------------

"การตัดใจ เป็น เครื่องมือการสร้างโอกาสจากสถานการณ์ และ สถานการณ์นั้นสร้างวีรบรุษเสมอ"

----------------------------------------

อาจารย์ยศศักดิ์ มงคลปัญญาเลิศ


#หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำ4.0

#Leadership4.0

#LeadershipDevelopmentProgram

#หลักสูตรก้าวสู่การเป็นหัวหน้างานที่ทรงประสิทธิภาพในยุค4.0


เรื่องอบรม คิดถึง Perfect Training


อ่านบทความย้อนหลังทั้งหมดได้แล้วที่

www.perfecttraining.net/articl...

หมายเลขบันทึก: 645580เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2018 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2018 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท