การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)


การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)

 หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถทำผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตัวอย่างการทำธุรกรรมเช่น การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการซื้อขายสินค้าแบบออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจในรูปแบบดั่งเดิมลง เช่น ตำแหน่งที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มี 4 ประเภทหลักๆ คือ

  • ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B to B)
  • ธุรกิจและลูกค้า (Business to Consumers หรือ B to C))
  • ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B to G)
  • ลูกค้ากับลูกค้า (Consumers to Consumers หรือ C to C)

ประโยชน์ของ E-Commerce

ประโยชน์ต่อบุคคลคือ ทำให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ในเวลาที่รวดเร็ว เลือกสินค้าตรงตามความต้องการมากที่สุด สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกค้ารายอื่นได้ และทำให้เกิดการเชื่อมโยงการดำเนินงานภายในโซ่มูลค่า (Value Chain Integration)

ประโยชน์ต่อองค์กรธุรกิจคือ สามารถขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการบริการลูกค้าได้จำนวนมากทั่วโลกด้วยต้นทุนที่ต่ำ ประหยัดต้นทุนในด้านเอกสารเกี่ยวกับการสร้าง การประมวล การกระจายและการเก็บข้อมูล ลดต้นทุนทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเพราะเป็นการทำธุรกรรมโดยผ่านอินเทอร์เน็ต และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันสำหรับบริษัทขนาดเล็ก

ประโยชน์ต่อสังคมคือ การเดินทางน้อยลงเนื่องจากไม่ต้องเดินทางไปซื้อสินค้า ส่งผลทำให้ลดการจราจรและลดปัญหามลพิษทางอากาศ เพิ่มโอกาสทางการขายสินค้าและบริการได้สำหรับคนหลายระดับ

ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจคือ เพิ่มโอกาสทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศสำหรับสินค้า SMEs ในประเทศที่กำลังพัฒนา บทบาทของพ่อค้าคนกลางลดลง ประชาชนสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้โดยตรง ลดช่องว่างในการเข้าถึงสินค้าของชุมชนในชนบทและในเมือง

ข้อจำกัดของ E-Commerce

ข้อจำกัดด้านกฎหมายคือ กฎหมายที่สามารถคุ้มครองการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ยังเป็นที่ยอมรับน้อยและยังเป็นที่สงสัยว่าสามารถเป็นหลักฐานในทางกฎหมายได้ เมื่อเกิดปัญหาทางธุรกรรม เช่น การส่งสินค้ามีลักษณะแตกต่างจากที่โฆษณาบนอินเทอร์เน็ต อยากต่อการเรียกร้องค่าเสียหาย

ข้อจำกัดด้านธุรกิจคือ การลอกเลียนผลิตภัณฑ์ทำได้ง่าย เกิดคู่แข่งเข้ามาในตลาดได้ง่าย ดังนั้นต้องมีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เสมอ การจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมทำได้ยากและยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง ในการสร้างระบบ E-Commerce จนครบวงจรมีต้นทุนค่อนข้างสูง เพราะรวมถึงค่า Hardware, Software ที่มีประสิทธิภาพ ระบบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ การจัดการระบบเครือข่าย ตลอดจนค่าจ้างบุคลากรในการดูแลระบบ ประเทศกำลังพัฒนาต้องลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสูงมากในด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะโครงข่ายความเร็วสูง และเกิดการฟอกเงินผ่ายระบบได้ง่าย เนื่องจากการใช้เงินสดผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อชำระสินค้า ทำให้การตรวจสอบที่มาของเงินทำได้ยาก

ข้อจากัดอื่นๆ คือ การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จบนอินเทอร์เน็ตมีมาก และมีการขยายตัวเร็วอย่างรวดเร็ว การให้ข้อมูลของลูกค้าทางอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้ขายทราบว่าผู้ซื้อเป็นใคร ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ทำได้ง่าย

โครงสร้างของ E-commerce

  • หน้าร้าน ( Storefront )  คือส่วนแสดงข้อมูลรายการสินค้าทั้งหมดของร้าน รวมทั้งระบบค้นหาข้อมูลรายการสินค้าของร้านค้า ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นความประทับใจครั้งแรกของลูกค้า
  • ระบบตะกร้ารับคำสั่งซื้อ ( Shopping Cart System ) เป็นระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสั่งซื้อสิ้นค้าของร้าน เมื่อลูกค้าต้องการสินค้า จะทำการคลิกไปบนสินค้าที่ต้องการ สินค้าจะนำมารวมกันในตะกร้าหรือรถเข็ญสินค้า เพื่อทำการสั่งซื้อ
  • ระบบชำระเงิน ( Payment System )  มีวิธีการชำระเงินได้หลายรูปแบบ เช่นโอนเงินเข้าบัญชี การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การชำระเงินควรมีหลายทางเลือกสำหรับลูกค้า และสิ่งที่สำคัญคือความปลอดภัย และรักษาความลับของลูกค้า
  • ระบบสมาชิก ( Member System ) ข้อมูลสมาชิกใช้ในการจัดส่งสินค้าตามที่อยู่ แจ้งสินค้าใหม่ หรือโปรโมชั่นพิเศษ ข้อมูลสมาชิกจัดเป็นข้อมูลส่วนตัว (private date)
  • ระบบขนส่ง ( Transportation ) เป็นระบบจัดส่งสินค้าให้ถึงลูกค้า โดยต้องมีตัวเลือกหลายทางให้ลูกค้า ที่สำคัญลูกค้าควรจะสามารถติดตามสินค้าที่ได้ทำการชำระเงินแล้วได้ เช่นระบบไปรษณีย์ EMS ใช้หมายเลขของพัสดุที่มีการลงทะเบียนเป็นต้น
  • ระบบติดตามคำสั่งซื้อ ( Order Tracking system ) เป็นระบบติดตามคำสั่งซื้อของลูกค้า เมื่อเสร็จสิ้นการสั่งซื้อแต่ละครั้ง

แหล่งที่มา : https://help.pushthetraffic.co...

หมายเลขบันทึก: 645515เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2018 01:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2018 01:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท