"มหาหัตถิปโทปมสูตร"


           

            มหาหัตถิปโทปมสูตร เป็นพระสูตรที่พระสารีบุตรกล่าวอุปมาถึงรอยเท้าสัตว์ทั้งหลยรวมลงในรอยเท้าช้าง กุศลธรรมทั้งหลานับเข้าในอริยสัจ ๔ โดยชื่อพระสูตรตั้งตามเนื่อหาใจความสำคัญในพระสูตรได้อธิบายละเอียดถึงทุกขอริยสัจ แสดงถึงการที่มนุษย์ทุกข์ฺ เพราะความเข้าไปยึดมั่นในขันธ์จึงกลายเป็นอุปทานขันธ์ อันว่าโดยย่อได้แก่ รูปขันธ์ นามขันธ์ ในรูปชันธ์ประกอบเพียงธาตุ ๔ โดยชี้ประเด็นที่ทุกขเวนานั้นเกิดจากมหาถูตรูปใดมหาภูตรูปหนึ่งกำเริบเท่านั้น พร้อมทั้งกล่าวถึงการปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อความพ้นทุกข์

           มหาหัตถิปโทปมสูตร แปลว่า พระสูตรที่ว่าด้วยอุปมารอยเท้าช้าง เนื้อหาของพระสูตรนี้ เป็นข้อสนทนาระหว่างพระสารีบุตรกับภิกษุทั้งหลาย โดยพระสารีบุตรเป็นผู้เรียกภิกษุทั้งหลายมาฟังคำบรรยาย โดยประสงค์แสดงอริยสัจ ๔ ธรรมะของพระพุทธองค์ทั้งหมดสงเคราะห์เข้าในอริยสัจ ๔ ประดุจดังรอยเท้ของสัตว์ทังหมดช้างใหญ่ที่สุด กลุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมทั้งหมดย่อมสงเคราห์เข้าในอริยสัจ ๔ ฉันนั้น

            พระพุทธองค์ ทรงแสดงธรรมแก่พุทธบริษัท โดยให้เริ่มจากการสำรวมอินทรีย์ การตั้งอยุ่ในศีล การทำจิต ให้ตั้งมั่นอยู่ในสมะิ และการพิจารณาสภาวธรรมตามความเป็นจริงนั้นคือเจริญวิปัสสนา เมื่อนั้นแลผุ้ปฏิบัติ ย่อมเกิดธรรมจักษุ อันหลักธรรมทังหมดสงเราะห์เข้าในอริยสัจ ๔ โดยทรงตรัสสอนในพระสูตรต่างๆ ทั้งโดขรง และโดยอ้อม

           มหาหัตถิปโทปมสูตร ก้มีวิธีการแสดงธรรมลักษระดังกล่าวเป็นพระสูตรที่ว่าด้วยรอยเท้าช้าง ย่อมเป็นที่รวมของรอยเท้าสัตว์ทั้งหลายเปรียดังหลักธรรมต่างๆ น้นย่อมสงเคราะห์ลงในอริยสัน ๔ 

           หลักธรรมที่ปรากฎในพระสูตร เริ่มจากอริยสัจ ๔ คือ ได้กล่าวถึง"ทุกข์ริยสัจ" ซึ่งเกิดจาก "อุปทานขันธ์" คือความเข้าไปยึดมั่นในขันธ์ "ขันธ์ ๕ " ประกอบด้วย นาม-รูป  "รูปขันธ์" แบ่งออกเป็นธาตุใหญ่ๆ เรียกว่า "มหาภูตรูป" ประกอบด้วย  ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ฉะนั้น ย่อมคลายความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตน ในอรรถกถาได้กล่าวถึง การแสดงธรรมเป็นลำดับๆ ของพระสารีบุตร สมดังที่ได้รับตำแหน่งอัครสาวกเบื้องขวา หรือเสนาบดี

     "พระฑรรมเสนาบดีเริ่มพระสุตตันตะนี้ ดดยวางมาติกาว่า อริยสัจ ๔ เปรียบเหมือนเวลาที่พระเชษฐโอรสเป็นห้องแล้วนำหีบ ๔ ใบวางไว้ การเว้นอริยสัจ ๓ ข้อ แล้วจำแนกทุกข์อริยสัจแสดงปัญจขัธ์ เปรียบเหมือนการเว้นหีบ ๓ ใบ แล้ว เปิดใบเดียว นำหีบเล็ก ๕ ใบออกจากหับใบเดียวนั้น ฉะนั้น การที่พระเถระเว้นอูปขันธ์ ๔ แล้วแสดงจำแนกรูปขันธ์เดียวแสดงออกเป็น ๕ ส่วน โดยมหาภูติรูป ๔ และอุปายรูป ๑ เปรียบเหมือนเว้นหีบเล็ก ๔ ใบ เปิดใบเดียว แล้วนำผอบ ๕ ผอบจากหีบเล็กใบเดียวนั้น ฉะนั้น การที่พระเถระเว้นมหาภูตรูป ๓ และอุปาทายรูปแล้วจำแนกปฐวีธาตุอย่างเดียวเว้นปฐวีธาตุายนอกเสียเหมือปิดไว้เพื่อจะแสดงปฐวีธาตุภายในที่มีอาการ ๒๐ โดยสภาวะต่างๆ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เปรียบเหมือนเว้นหีบ ๔ ใบ เปิดใบเดียว เว้นหีบที่ปิดไว้ข้าหนึ่งแล้ว ให้เครื่องประดับมือและเครื่องประดับเท้าเป็นต้น พึงทราบว่าแม้พระเถระจำแนก มหาภูตรูป ๓ อุปทายรูป อรูปขันธ์ ๔ อริยสัจ ๓ แล้ว แสดงตามลำดับในภายหลังเหมือนราชโอรสนั้นนำผอบ ๔ ใบ หีบ เล็ก ๔ ใบ และหีบ ๓ ใบเหล่านั้นแล้วประทานเครื่องประดับตามลำดับในภายหลัง" 

         บ้างส่วนจาก วิทยานิพนธ์ "ศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนหมวดธาตุมนสิการบรรพะ ในมหาหัตถิปโทปมสูตร" โดย พระณรงค์เศรษญ์ ฐิเมโธ(คุมมณี) ๒๕๕๔

หมายเลขบันทึก: 645486เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2018 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2018 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท