ตกผลึกการเรียนรู้การให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด


Dx.Heat Stroke (อัมพาตซีกซ้าย)   pt.ดนัย  25 y.o.  8 กุมภาพันธ์ 2561  เวลา 09:00น. - 09:40น.

S:  “แต่งตัวกินข้าวได้”  “เตรียมของเองไม่ได้เท่านั้น”  “ตอนนี้ไม่มีกิจกรรมไหนที่ยากจนทำไม่ได้ครับ”  “ถ้าหายอยากกลับไปเรียนต่อ” พูดติดขัด ออกเสียงไม่ชัดแต่สามารถฟังออกว่าพูดว่าอะไร

O:  แขนมีspasticity, ใช้Walkerช่วยพยุงตัวเดินได้, ขาซ้ายสั่นขณะเดิน, ใช้เวลานานก่อนจะก้าว1ก้าว, นั่งหลังงอเล็กน้อย, เรียงหมุดสีใส่รูโดยแยกสีได้, ใช้เวลาเล็งนานในการหยิบหมุดสีใส่รู, เคลื่อนย้ายตัวจากเตียงไปwheel chairได้ด้วยตัวเอง

A:  ขายังไม่แข็งแรงพอที่จะเดินโดยปราศจากwalker, มีincoordinateระหว่างขา2ข้าง, เคลื่อนไหวแขน2ข้างได้ช้าแต่ใช้ในการทำสิ่งต่างๆได้,  มีEye-hand incoordinationเล็กน้อย, fine motorไม่แย่ สามารถเขียนหนังสือได้, สามารถทำADLได้โดยมีระดับต้องการความช่วยเหลือน้อย (minimum assist ADLs), ประเมินStatic sitting balanceได้Normal, Dynamic sitting balanceได้Fair

P:  ใช้Rehabilitation frame of refferenceในการรักษา, เพิ่มmuscle strengthและcoordinateของขาด้วยการฝึกเอาเท้าแตะstep20ครั้งสำหรับการเดิน, ฝึกHand functionด้วยการหยิบหมุดสีที่มีขนาดเล็กกว่าเดิมใส่รู, ฝึกBalanceในท่าDynamic sitting,  ADL trainingให้สามารถเตรียมของทุกอย่างได้เอง, ฝึกการพิมพ์เพื่อใช้งานcomputer สำหรับeducationและwork, แนะนำให้ผู้รับบริการใช้มือซ้ายในการทำกิจกรรมเพื่อฝึกใช้มือข้างซ้ายให้คล่องขึ้น, ปรับสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสม

Occupational Profile

จากผลวินิจฉัยของหมอทำให้ทราบว่าคุณพี่ดนัยเป็นอัมพาติครึ่งซีกทางด้านซ้าย 

Domain

OCCUPATIONAL                       minimum assist ADLs 

CLIENT FACTOR                       เห็นvalueในตัวเอง ใช้งานร่างกายทั้งทั้ง2ซีกทั้งด้านที่ปกติและด้านที่อ่อนแรง

PERFORMANCE SKILL               สามารถขยับแขนขาได้ มีความคิดเป็นระบบ และสามารถสื่อสารกับคนอื่นได้ปกติ

PERFORMANCE PATTERN          กิจวัตรประจำวันที่ทำเป็นปกติ

CONTEXT AND ENVIRONMENT   สิ่งต่างๆรอบตัวของผู้รับบริการ ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งรูปธรรมและนามธรรม

MODEL : Person-Environment-Occupation-Performance (PEOP)

Person  คุณพี่เป็นอัมพาตครึ่งซีกทางด้านซ้าย มีปัญหาด้านการพูดเล็กน้อย ขยับแขนขาในข้างซ้ายซึ่งอ่อนแรงได้ค่อนข้างดี

Environment  มีคนคอยช่วยในการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆสำหรับทำADL สภาพแวดล้อมที่บ้านดี

Occupation  การใช้คอมพิวเตอร์

Performance  สามารถทำADLได้ดีระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถทำกิจกรรมที่หนักๆเหมือนเมื่อก่อน 


FoR : Rehabilitation Frame of Reference 


กรอบอ้างอิงนี้ใช้เพื่ออธิบาย การฟื้นฟู การส่งเสริม และป้องกัน โดยเน้นให้ผู้รับบริการซึ่งมีความบกพร่องทางด้านร่างกาย ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และการใช้ความสามารถที่มีอยู่ในปัจจุบันทำกิจกรรมด้วยตนเองอย่างสนใจ โดยอาจใช้เทคนิคต่างๆเข้ามาช่วย เช่น เทคนิคการฟื้นฟู ช่วยปรับปรุงทักษะความสามารถที่ทำได้อยู่แล้วให้ดีมากขึ้น เทคนิคการป้องกัน และการส่งเสริม ให้มีสุขภาพที่ดี ป้องกันความเจ็บป่วยจะแทรกแทรงเข้ามา โดยในแต่ละกิจกรรมควรมีช่วงเวลาพักบ้างไม่ควรใช้เวลานานเกินไป ให้มีการพักผ่อนให้เพียงพอและเหมาะสม มีการดัดแปลงสภาพแวกล้อม การให้ความรู้ การแนะนำท่าออกกำลังกาย การให้ข้อมูลโรค และอาจแนะนำกิจกรรมยามว่างหรือ  เพื่อให้ผู้รับบริการได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น 

การให้เหตผลทางคลินิก Clinical reasoning

Procedural clinical reasoning 

การวางแผนการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยโดยอาศัยผลวินิจฉัยจากหมอมาตั้งเป็นGoalในการรักษา  หลังจากวางแผนเสร็จก็จะไปอธิบายขั้นตอนและรายละเอียดต่างๆให้กับญาติและผู้ป่วยรับทราบและทำความเข้าใจ  ต่อมาก็จะทำการสังเกตและประเมินความสามรถต่างๆของผู้ป่วยดู เช่น  Sitting balance, การมองเห็น, การได้ยิน, การรับรู้  รวมทั้ง Self-care เช่น การบาดเจ็บและแผลกดทับ

Interactive clinical reasoning

การใช้น้ำเสียงที่ฟังดูน่าเชื่อถือ พูดจาชัดถ้อยชัดคำดูมั่นใจในการอธิบายและให้คำแนะนำในการดูแลฟื้นฟู  โดยไม่ได้เน้นแค่ที่ตัวผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว แต่จะสนใจการให้ความดูแลผู้ป่วยของญาติในขณะอยู่ที่บ้านด้วย ให้เขาสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธีโดยปราศจากนักกิจกรรมบำบัด 

Condition Clinical Reasoning

วางแผนระยะสั้นและยาวในการฟื้นฟูร่างกายส่วนต่างๆเพื่อให้เขากลับไปทำสิ่งต่างๆที่ต้องการได้โดยใช้กิจกรรมที่เขาสนใจ  ผู้รับบริการต้องการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนและทำงานจึงให้เขาการใช้งานมือด้วยเครื่องพิมพ์


คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 645462เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2018 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2018 07:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท