เที่ยวงานราชพฤกษ์ 2549


เที่ยวงานราชพฤกษ์ 2549
              ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปเที่ยวงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ หรือ งานราชพฤกษ์ 2549 ซึ่งเป็นงานจัดแสดงพืชสวนจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ งานนี้เป็นงานมาตรฐานโลก ระดับ A1 (มาตรฐานมหกรรมขั้นสูงสุด) จากการรับรองจาก สมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH) และสำนักงานมหกรรมโลก (BIE) โดยประเทศไทยนับเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการรับรองนี้ 
                งานราชพฤกษ์ 2549 แบ่งพื้นที่จัดแสดง เป็น 3 ส่วนคือ สวนเฉลิมพระเกียรติประเภทองค์กร (Corporate Garden), สวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ (International Garden) และสวนพันธุ์ไม้เขตร้อนชื้น (Tropical Garden) ภายใต้แนวคิด "เพื่อนำความรักสู่มนุษยชาติ" (to Express the Love for Humanity") ส่วนนิทรรศการหอคำหลวง (Royal Pavilion) เป็นส่วนเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพระมหากษัตริย์นักการเกษตรของโลก และยังเป็นอาคารหลักของงาน ส่วนประกอบย่อยๆ แบ่งเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
               
                1.   หอคำหลวง
               
2.   สวนไทยประเภทต่าง ๆ
               
3.   สวนพันธุ์ไม้เขตร้อนชื้น
               
4.   สวนนานาชาติภายในอาคาร
               
5.   สวนนานาชาติภายนอกอาคาร
               
6.   นิทรรศการแสดงพันธุ์ไม้ภายในอาคาร
              
7.   สวนเฉลิมพระเกียรติประเภทองค์กร
               
8.   เวทีในสวน
               
9.   ลานกิจกรรมกลางแจ้ง

             แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถเข้าชมตามสถานที่ต่าง ๆ ภายในงานได้ครบทุกที่เนื่องจากเวลามีจำกัดและพื้นที่ในงานกว้างถึง  470  ไร่โดยรวม  แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าสนใจเป็นพิเศษก็คือ  สวนพลังแผ่นดิน (Biodiesel  Garden) โดยกลุ่มชิน  คอร์ปอเรชั่น  ที่เข้าร่วมเฉลิมพระเกียรติในพระอัจฉริยภาพของนายหลวงด้านพลังงานไบโอดีเซล    ซึ่งเน้นให้เกษตรกรไทยผลิตน้ำมันจากผืนดินรอบๆ บ้านได้เองเพราะไบโอดีเซลเป็นส่วนผสมระหว่างน้ำมันที่ได้จากพืชน้ำมัน เช่น  ปาล์มน้ำมัน  สบู่ดำ  มะพร้าว  ถั่วลิสง  หรือน้ำมันใช้แล้วจากครัวเรือนมาผลมกับแอลกอฮอล์  ที่ผลิตได้จากพืชเช่นกัน  คือ  ข้าว  กากน้ำตาล  หัวมันสำปะหลังสด  อ้อย  ซึ่งน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้  จึงเป็นพลังงานสะอาดที่ใช้แทนน้ำมันดีเซลได้เลยโดยไม่ต้องปรับแต่งเครื่องยนต์  แถมทำให้คุณภาพเครื่องยนต์สะอาดขึ้น  พร้อมทั้งลดมลพิษทางอากาศได้อีกด้วย   ไบโอดีเซลยังมีสูตรผสมต่าง ๆ กันไปในแต่ละชุมชนเช่น   ไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าว  ทับสะแก  หรือน้ำมันสบู่ดำ  ชัยนาทหรือไบโอดีเซล  จากน้ำมันพืชใช้แล้ว  เชียงใหม่จึงเป็นอีกชุมชนที่ใช้วิถีปฏิบัติของเศรษฐกิจพอเพียง  เช่นเดียวกับภาคใต้ที่มีการรณรงค์ปลูกปาล์มกันมากเนื่องจากปาล์มเป็นพืชที่สามารถให้ผลผลิตได้ทุกส่วน   สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน   ซึ่งการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลมาทดแทนน้ำมันดีเซลนั้นมีการผลิตมาหลายปีแล้วและจนถึงปัจจุบันเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปแต่จะมีใครสักกี่คนที่จะตระหนักถึงการประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลกใบนี้ให้อยู่ต่อไปนาน ๆ โดยมีการใช้พลังงานดังกล่าวไปอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด    จนกว่าวันหนึ่งเราไม่มีไฟฟ้าใช้  ไม่มีแหล่งน้ำไว้ทำมาหากิน   ไม่มีน้ำมันเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์    ไม่มีต้นไม้ไว้เป็นที่ลบแดด  ไม่มีธรรมชาติที่สวยงาม   สิ่งมีชีวิตเริ่มตายลงเนื่องจากระบบนิเวศเสื่อมโทรม  และปัญหาอีกมากมายที่พร้อมจะเกิดขึ้นหากเราทุกคนในประเทศยังคงใช้ชีวิตอยู่ด้วยความประมาทและไม่หาทางป้องกัน  วันนั้นอาจจะสายเกินไปจนไม่สามารถย้อนกลับไปได้     งานมหกรรมพืชสวนโลกถือเป็นงานที่จัดเพื่อประโยชน์กับทุกคน  เปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับต้นไม้และธรรมชาติ   เพราะต้นไม้กับธรรมชาติอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์เราอยู่ตลอดเวลา    เราสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านั้นคุ้มค้าและรู้ค่าแค่ไหน    อยากให้ทุกคนได้ไปเที่ยวงานกันเยอะนะค่ะ   มีประโยชน์มากกว่าที่นำมาเล่าให้ฟังในครั้งนี้แน่นอนคะ    ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสวนพลังแผ่นดินของบริษัทซิน คอร์ปอเรชั่นสามารถเข้าไปดูกระบวนการผลิตไบโอดีเซลได้ที่  www.shincorp.com/royalflora

คำสำคัญ (Tags): #ไบโอดีเซล
หมายเลขบันทึก: 64543เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2006 00:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท