ขณิกะสมาธิ ตอนที่ ๒


           ขณิกสมาธิ คือ สมาธิที่ตั้งมั่นอยู่ชั่วขณะ ขณิกสมาธินี้เกิดขึ้นได้ในขณะคนเรามีจิตจดจอยุ่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานานๆ แต่เมื่อนำมาใช้ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยการกำหนดสภาวะของรูปนามที่เป็นไปตามความเป็นจริง จิตจะตั้งั่นเป็นสมาธิอันเกิดจากการใช้สติกำหนดรู้ลักษะของรูปแบะนามอันเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ ที่กำลังแปรเปลี่ยนไปทุกๆ ขณะติดต่อกัน ท่านจึงเรียกสมาธิชนิดนี้อีกชื่อว่า "วยลกฺขณูปฎฺฐาเนกตฺตํ" ซึ่งเป็นธรรมนำไปสู่การสิ้นทุกข์โดยสิ้นเลิงได้ การพัฒนาขณิกสมาธินี้ ต้องอาศัยการเจริญสติที่เป็ฯไปในฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิตและธรรมตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาสติปัฎฐานสูตร การเจริญสติเพื่อพัฒนาขณิกสมาธินี้เป็นการเจริญวิปัสสนาที่อาศัยสมาธิเพียงขั้นต้น แต่อาศัยการสั่งสมอยุ่เรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง เป็นวิธีของผุ้ที่ยังไม่มีพื้นฐานสมาธิแบบสมถะมาก่อน แต่จะพัฒนา ศีล สมาธ ิลแะปัญญาไปพร้อมๆกัน เพื่อให้ริยมรรคมีความสมบุรณืขึ้นไปโดยลำดับ ซึ่งสมาธินี้เหมาะกับบุคคลทั่วไปที่มุ่งปฏิบัติวปิัสสนาปัญญาเพื่อจุดประสงค์จะละอภิชฌา ความละโมบ และโทมนัส ความทุกข์ทางใจ หรือกระทั่งเพื่อหวังจะบรรลุมรรคผลนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา

           การทำความเข้าใจขณิกสมาธิ มีความจำเป็นต่อการเจริญวิปัสสนาภาวนา เมื่อมีความเข้าใจดีแล้วก็จะบรรเทาวิกิจฉา ก่อให้เกิดความเข้าใจศรัทะามากขึ้น เมื่อเขาสูภาคปิบัติ ผู้ปฏิบัติจะไม่เจริญวิปัสสนาที่ยึดเอาบัญญัติมาเป็นอารมณ์ และจะสามารถแยแยะออกว่า นี้สมาธิในสมถะ นี้ขณิกสมาธิในวิปัสสนา ไม่หลงติดอยู่ในอารมณ์สมถะ และจะเกิดความั่นใจในแนวทางการเจิรญวิปัสสนาได้ว่า การปฏิบัติจะมีความเจริญก้าวหน้าไปแนวทางที่ถูกต้อง

          อนึ่ง มหาสติปัฎฐานสูตรที่พระพุทธจ้าตรัสแสดงแก่ชาวกุรุ ซึ่งเป็นบุคคลทุกขนขั้นซึ่งมีความแตกต่างทั้งวัยวรรณะและตระกุลเป็นต้น ซึ่งอยุ่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ และคนเหล่านี้เป็นผู้ที่สนใจในการเจริญสติปัฎฐานในขณะเดียวกันก็ประกอบกิจการงานของตนๆ ไปด้วย การเจริญวิปัสสนากรรมฐานแบบมีวิปัสสนานำหน้า (พระไตรปิฎกภาษาไทย ๒๑/๑๗๐/๒๓๘) คือการเจริญสติเพื่อเห็นแจ้งรูปนามไปตามลำดับตั้งแต่ต้นโดยไม่มีพื้นฐานสมถะมาก่อน ดังนั้น มหาสติปัฎฐาสูตรจึงเป็นพระสูตรที่ตรัสเพื่อเจริญวิปัสสนาขณิกสมาธิเป็นหลัก มีพุทธศาสนิกชนบางกลุ่มหรือบางคนอาจตั้งข้อสังเกตุว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสขณิกสมาธิไว้ในพระไตปิฎก แต่พระเถราจารย์ยุคหลังเมื่อพูดถึงการเจิรญสติปัฎฐาน ก็จะพูดถึงขณิกสมาธินี้อยู่เสมอ ท่านเหล่านั้นสอนถูกต้องหรือไม่ หรือท่านเอาคำเหล่านี้มาจากไหน กล่าวคือ

         - ในมหาสติปัฎฐานสูตรนี้ เมื่อแยกหมวดธรรมต่่าง ๆออกแล้ว หมวดธรรมที่มีอารมณ์เป็นวิปัสสนาล้วนก็มี ที่มีอารมร์เป็นได้ท้งสมาถุทั้งวิปัสสนาก็มี เมื่อเป็นอย่างนี้ อารมณ์กรรมฐานในมหาสติปัฎฐานสูตร จึงเป็นวิปัสสนาทั้งหมด ในข้อนี้มีหลักฐานสนับสนุนกล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า "บัณฑิตพึงขีแจงแก่นักศึุกษา (ผู้เข้าใจผิดว่า อัปปมัญญา หรือ พรหมวิหารเป็นเหตุให้เกิดฌาร ๔ได้) นั้นว่า เธออย่าเข้าใจอข่างนั้นเลย เพราะถ้าจะยกเอาข้อความี่รทรงแสดงไว้ในมูบลสมาะิมารวมเข้าในพรหมวิหารทั้ง ๔ ประการ โดยถือว่าทรงแสดงไว้โดยลำดับกันแล้ว แม้กายานุปัสสนาเป็นต้น ก็พึงเป็นเหตุให้สำเร็จ ฌาร ๔ หรือ ฌาณ ๕ ได้ด้วย แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะกาานุปัสสนาเป็นตั้นนั้น ท่านแสดงไว้ด้วยความแ่ห่งวิปัสสนากรรมฐานต่างหาก ที่จริงนั้น แม้เพียงปฐมฌานก็มีไม่ได้ในเวทนานุปัสสนาเป็นต้น ตั้งแต่ทุติยฌานก็มีไม่ไ้ในเวทนานุปัสสนาเป็นต้น ตั้งแต่ทุตยฌานขึ้นไปไม่ต้องพูดถึง ยิ่งจะมีไม่ได้ที่เีดยว เรพาะฉะนั้น นักศึกษาอย่าได้ถือเอาเพียงแต่เงาพยัญชนะแล้วมากล่าวตู่..อันพระพุทธวจนะนั้นลึกซึค้งยิ่งนัก นักศึกษาควรเข้าไปหาอาจารย์แล้วศึกษาเอาอรรถาธิบายของพระพุทธวจนะให้ได้อย่างละเอียดหมดจดที่เดียว" (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจอาสภมหาเถระ) ๒๕๔๖ : ๕๘๐-๕๘๑) 

           การเจริญวิปัสสนาภาวนาตามแนวมหาสติปัฎฐานสุตร จึงใช้สมธิระดับเบื้องต้น คือ สมาธิ ที่เกิดจากการกำหนดรู้รุปนามที่กำลังปรากฎเป็นไปอยู่ตลอดเวลา ส่วนผู้ที่มีสมถะนำหน้านั้น เป็นเพียงการต่อยอดกรรมฐานที่ดำเนินยังไม่ถูกทาง ให้ดำเนินไปถูกทางตามหลักอรยมรรคมีองค์แปดเท่นั้น และปลายทางแห่งการปฏิบัติทั้งสองแบบก็เพื่อภาวนามัยปัญญานั่นเอง

           - ในมหาสติปัฎฐานสูตรนี้ พระพุทธองค์ตรัส ธรรม ๓ ประการ อันเป็นเครื่องมือในการเจริญกรรมฐาน คือ อาตาปี มีความเพียรเผากิเลส, สัมปชาโน มีคฃปัญญาหนั่งเห็นสภาวะ สติมา มีความระลึกได้ทันถูก ตรงสภาวะ และธรรมอีกประการหนึ่งที่ไม่ได้ตรัสไว้โดยตรง คือสมาธิ แม้จะตรัสเพียง ติและปัญญา ก็เข้าใจได้ว่าเป็นอันตรัสสมาธิไว้โดยอ้อม เพราะสติเป็นเหตุเกิดสมาธิ (พระโสภณ มหาเถระ (มหาสีสยาดอ หน้า ๒๕)และในฎีกาทีฆนิกายที่กล่าวรับรองไว้ว่า "สติคฺคหเณเนว เจตฺถ สมาธสฺสาปิ คหณํ ทฎฐพฺพ฿ ตสฺสา สมาิธิขนฺเธ สงฺ คหิตตฺตา (คัมภีร์ ทีฆนิกาย ฎีกา ภาษาบาลี ๒/๓๖๘

          อนึ่ง พึงทราบการถือเอาแม้สมาธิใรเรื่องนี้ด้วยการกลวถึง สติ เรพาะสตินั้นับเข้าในามาธิขันธ์" ฉะนั้นจึงเข้าใจกันได้ว่ เมื่อตรัสสติและวิริยะก็ป็นอันตรัสสมาธิไปด้วยเรพาะธรรมท้ง ๓ นี้อยู่ในสมาธิขันธ์เหมือนกัน สมธินี้หาใช้อุปจารสมาธิ หาใช่อััปปนาสมาธิไม่ แต่เป็นสมาธิที่กำหนดลักษณะของรูปนาที่เปลี่ยนแปลงไป สมาะินั้นจตึงเป็นขณิก สมาธินั้นเอง

            - สมาธิในการเจริญสติปัฎฐาน แม้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสสัมมาสมาธิ ในสัจจบรรพะ ว่ามี ๔ คือ ปฐมฌาน อันมีองค์ ๕ ทุตยิฌาน อันมีองค์ ๓ ตติยฌานมีองค์ ๒ ซึ่งการตรัสไว้อย่าวนี้เป็นการตรัสถึงผลสัมฤทธิ์ของการเจิรญสติปัฎฐานคือตรัสหมายเอาโลกุตตรมรรคอันเป็นมรรคเบื้องปลาย ไม่ไดตรัสหมายปุพพภาคมรรค (มรรคเบื้องต้น) หรือโลกิยมรรค และสมาะิที่จะเป็นสมาธิถูกทาง (สัมมา) ได้นั้นต้องประกอบด้วยองค์ ๗ ที่เรียกว่า บริขารแห่งสมาธิ (พระไตรปิฎก ภาษาไทย ๑๐/๒๙๐/๒๒๔) มี ๗ อย่าง มีสัมมาทฎฐิเป็นต้น

           ขณิกสมาธินี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตปิฎกมากมายในความมาหยของเอกัคคตาจิตที่พอจะเป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนา แต่เป็นเครื่องนำไปสู่ความสิ้นทุกข์ได้ จึงไม่ใช่สมาธินิหนอยที่หลายคนเข้าใจ ขณิกสมาะิสามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนภาวนา โดยการยึดอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์ที่กำลังเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ดับไปเป็นขณะๆ พร้อมกับอารมณ์ที่กำหนดนั้น และพัฒนาให้เจริญขึ้นเป็นธรรมที่มีอยู่ในโพธิปักขิยธรรมโดยตรง เป้นธรรมที่พัฒนาตัวไปพร้อมกับธรรมอื่นๆ มีวิริยะและปัญญาเป็นต้น ขณิกสมาธินี้สามารถพัฒนาให้แก้กล้าจนประหารกิเลสให้หมดสิ้นไปได้อย่างเด็ดขาด

        - บางส่วนจาก "ศึกษาขณิกสมาธิในการปฏิบัติวปัสสนาภาวนา แตมแนวมหาสติปัฎฐานสุตร" วารสารบลัณฑิตศาส์น มมธ. โดย " พระมหาวินัย วิชรเมธี"

คำสำคัญ (Tags): #ขณิกสมาธิ ตอน ๒
หมายเลขบันทึก: 645323เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2018 09:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2018 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท