ขณิกสมาธิ


           ขณิกสมาธิ หมายถึงภาวะที่จิตสงบระงับได้ชัวคราว จัดเป็นสมาธิขึ้นต้นอันเกิดจากการปฏิบัติกรรมฐานมี่ทำให้เกิดความสุขสบายได้ชั่วครู่ และเป็นเหตุใ้ควบคุมสติอารมฒ์ได้ในขณะประกอบกิจหรือสึกษาเล่าเรียน ทำให้ใจเย็นระงับอารมณ์ได้

           ขณิกสมาธิ เป็นพื้นฐานให้บำเพ็ยกรรมฐานและได้สมาธิที่สูงขึ้นไปคือ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ

           การเจริญวิปัสสนากัมมัฎฐาน เพื่อต้องการให้อินทรีย์เสมอกัน เป็นส่งิที่สำคัญที่สุดถ้าหากจะพยายามปลุกแต่สมาธิกันเรื่อยไปไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งเป็นอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ แบบทำสมถกัมมัฎฐานแล้ว ก็จะได้สมาธิมากมายแต่าอย่างเดียว ส่วนศรัทธา วิริยา สติ ปัญญา ทั้ง ๔ อย่างนี้ก็เกิดน้อยหรือไม่เกิดเลย เป็นอันว่า อินทรีย์ทั้งหลายไม่เสมอกัน เมื่ออินทรีย์เหลื่อมล้ำต่ำสูไม่เท่ากันเช่นนี้แล้ว การบำเพ็ยวิปัสสนาก็ไม่ได้ผล วิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดความเสมอกันแห่งอินทรีย์ การบำเพ็ยวิปัสสนาจึไม่ใช้อุปจาระและอัปปนาสมาธิ แบบสมถะ เพราะสมาะิจะมากเกินขนาดไป แต่ใช้สมาธิชนิดหนึ่งชื่อว่า "ขณิกสมาธิ คือสมาธิเฉพาะขณะหนึ่งฟ เมื่อใช้สมาธิแต่พอประมาณคือ ขณิกสมาธินี้แล้ว ก็มีโอกาสที่จะให้อินทรีย์ทั้ง ๔ ที่เหลือเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม อาจกล่าวได้ว่า การบำเพ็ยวิปัสสนานี้ แทนที่จะใช้สมาธิมากมาย ก็กลับลดสมาธิลงมาให้พอควรกับอินทรีย์อื่นๆ ที่เหลือ เพื่อให้เกิดความเสมอกัน เมื่อวิปัสสนากัมมัฎฐานจำเป็นต้องใช้ขณิกสมาธิเช่นนี้ แต่เวลาที่ปฏิบัตเข้าจริง การณ์กลับปรากฎว่า ในขณะที่โยคาวจรบุคคลฃกำหนดรู้ตามอาการโดยคำภาวนานั้น หากขณิกสมาธิมีกำลังอ่อนปรากฎไม่ชัดเจน เช่น ตั้งสติกำหนดภาวนาในใจว่า "พอง" นั้น อาการพองนั้นจะปรากฎตั้งอยู่นานกว่าคำภาวนา คือ เพียงแต่อาการพองปรากฎได้ครั้งหนึ่ง คำภาวนาว่า "พอง" ก็หมดเสียแล้ว แต่อาการพองยังมีอยุ่ต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ สมาธิที่เกิดจากคำภาวนาว่า "พอง" ก็สะดุดหยุดลง ไม่ติดต่อไปตามสภาวะของอาการพองซึ่ง ยังปรากฎต่อไปอย่างชัดเจน ใจของโยคีบุคคลก็จะกระวนกระวาย เพราะสมาะิมีกำลังน้อยเกินไป แต่ถ้าเติมคำภาวนาลงไปอีกคำหนึ่ง ก็จะเป็นการเพิ่มกำลังให้สมาธิตั้งอยู่นานพอดีกับอาการที่ปรากฎ ตามสภาวะที่เป็นจริง ฉะนั้น ท่านจึงบัญญัติให้เพ่ิมคำว่า "หนอ" ซึ่งตรงกับคำบาลีว่ "วต" เข้าด้ว เมื่อเติมเช่นนี้ สมาธิย่อมจะดำเนินไปได้โดยสะดวก 

       - คู่มือวิปัสสนากัมมัฎฐาน (พอง-ยุบ)

          เธอทั้งหลาย จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มความเพยร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวเพื่อรู้ยิ่งกายตามความเป็นจริงฯ คำบาลีเหล่านี้เป็นแค่บางส่วนที่แสดงถึงสมาธิจิตชนิดหนึ่งที่พอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนาและมรรค ผลต่อไป ขณิกสมาธินี้เป็นความตั้งมั่นที่เกิดขึ้นในขณะเจริญวิปัสสนาโดยตรงดังท่านกล่าว่า 

          ตานิ วา จิตฺตํ ขยฺโต วยโต สมฺปสฺสโต วิปสฺสนากฺขเณ ลกฺขณปฏิเวเธน อุปฺปชฺชติ ขณิกจิร เตกคฺคตา. (วิสุทธิมรรค ภาษาบาล ๒/๘๓

         เมื่อพระโยคาวจรเข้าฌานเหล่านั้น ออกแล้วมาพิจารณาจิตอันสัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้นไปเสื่อมไปอยู่ ภาวะที่ขณิกจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้นๆ 

          จะเห็นได้ว่าไม่ว่าผุ้ที่ทำฌานให้เกิดก่อนแล้วมาเจริญวิปัสสนาหรือเจริญวิปัสสนาไป โดยไม่อาศัยสมาธิระดับฌานเลยก็ตาม เมื่อเข้าสู่กระบวนการของวิปัสสนา ก็ต้องมาอาศัยสมาธิชนิดนี้เสมอ สมาธิชนิดนี้ เมื่อมีกำลังแก่กล้า แม้ไม่ก่อให้เกิดอุคคหนิมิต หรือฉิภาคนิมิตเหมือนสมาธิในฌาน เพราะยึดอารมร์สภาวธรรมอันเป็นปรมัตถ์ แต่ก็สามารถข่มอกุศลธรรมทั้งหบายให้สงบได้ ทั้งนี้เพราะอาศัยการสั่งสมด้วยสติอยุ่อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ดังท่านอธิบายว่า

            โสปิ หิ อารฺมเณ นิรนฺตรํ เอกากาเรน ปวตฺตมาโน ปฏิปกฺเขน อนภิภูโต อปปิโต วิย จิตฮตํ นิจจลํ ฐเปติ. (วิสุทธิมรรคมหาฎีกา ภาษาบาลี บาล ๑/๗๙)

           ขณิกสมาธิ หมายถึง สมาธิที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอาการที่ตั้งมั่นอย่างเดียวในอารมณ์ที่เป็นรูปนามที่ตนนำมากำหนด ย่อมไม่ถูกนิวรณืซึ่งเป็นปฏิปักขธรรมเข้ามาครอบงำ เป็นสมาธิที่สามารถทำวิปัสสนาจิตให้ตั้งมั่นจนถึงอัปปนาสมาธิ หรืเหมือนกับฌานสมาธิที่เข้าไปแนบแน่นในอารมณ์ 

          ฉะนั้น ลักษณะของขณิกสมาธินี้เป็นสภาวธรรมที่มีอารมณ์เป็นหนึ่งในอารมร์ที่เป็นไปตามกฎของำตรลักษณ์ เป็นสมาธิเพื่อการรู้แจ้งไตรลักษณ์ ไม่ใช่สมาธิที่น่ิงเงียบ ไม่รัีบรู้อะไร ทั้งในคัมภีร์ฎีกาท่านก็กล่าวแล้วว่า 

           "น ขณิกสมาธึ. น หิ ขณิกสมาธิ วินา วิปสสนา สมฺภาวติ" (ฎีการภาษาบาลี ๒/๓๓/๑๖๕)

            แปลว่า แท้จริงวิปัสสนา ย่อมไม่เกิดขึ้นโดยปราศจากขณิกสมาะิฯ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสให้พระสงฆ์สาวกเจิรญสมาธิ (ขณิกสมาธิ) เพราะทรงพบแล้วว่าเมื่อจิตตั้งมั่นด้วยสมาธินี้แบ้วปัญญาก็จะทำหน้าที่รู้แจ้งชัดสภาวธรรมตามความเป็นจริง 

           ขณิกสมาธิในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัำฐานสูตร จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ อาตาปี สัมปชาโน สติมา มีความเพียรยิ่งยวด, มีความรุ้ตัวทั่วพร้อม, มีสติระลึกรู้ทันอารมร์เที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า (ไตรปิฎกภาษาบาลี ๑๐/๓๗๓/๒๔๘)

         - บางส่วนจาก "ศึกษาขณิกสมาธิในการปฏิบัติวปัสสนาภาวนา ตามแนวมหาสติปัฎฐานสูตร" โดยพระมหาวินัย วชิรเมธี.

        

            

คำสำคัญ (Tags): #ขณิกสมาธิ
หมายเลขบันทึก: 645303เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2018 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2018 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท