5 Steps สอนงานขั้นเทพ


"5 Steps สอนงานขั้นเทพ"

การพัฒนาลูกน้อง เป็นภารกิจสำคัญของ 
หัวหน้างาน ทุกคน เพราะ ผลงานและความสำเร็จ
ส่วนหนึ่งของ หัวหน้างาน มาจาก "ลูกน้อง" 
ถ้าลูกน้องเก่งขึ้น มีกำลังใจมากขึ้น นั่นก็อนุมาน
(คาดคะเน)ได้ว่าผลงานหรือผลผลิตต้องดีขึ้นแน่นอน

--------------------------------------

การสอนงาน ถือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งในการพัฒนา
ขีดความสามารถของลูกน้อง ซึ่งความหมายที่แท้จริง
ของการสอนงานนั้น ไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาและสาระ
ของการสอนอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันรวมไปถึง 
การสนับสนุน ให้โอกาส ให้กำลังใจ ให้ลูกน้อง
ได้ทำอะไรมากขึ้น ได้เรียนรู้ผ่านการทำงาน 
และกระบวนการต่างๆ มากขึ้น

--------------------------------------

การสอนงานไม่ยาก แต่ 
จะสอนให้งานได้ผล และคนพัฒนาก็ไม่ง่ายเช่นกัน

แต่จงเชื่อเถอะว่าคุณทำได้แน่นอน
"5 Steps สอนงานขั้นเทพ"
เป็นขั้นตอนในการสอนงานให้ครบ Loop(กระบวนการ)
.
.
ขั้นตอนแรก >>> พูดให้เขาฟัง (Explain)
แต่ไม่ต้องรีบเข้าเนื้อใช้เวลาช่วงแรกในการพูดคุย
สร้างบรรยากาศและความคุ้นเคยเสียก่อน 
จากนั้นก็พูดถึงเป้าหมายในการสอนงานครั้งนี้
พูดภาพกว้างและค่อยลงรายละเอียดแต่ละขั้นตอน
ในแต่ละขั้นตอนเน้นการพูดคุยแบบมีส่วนร่วม
ทวนสอบความเข้าใจเขาด้วย จากนั้นในช่วงสรุป
ให้พูดสิ่งที่เน้นและให้ความสำคัญอีกครั้ง
เพื่อสร้างความตระหนักในการรับรู้
.
.
ขั้นตอนที่สอง >>> ทำให้เขาดู (Demonstration)
สาธิต ลงรายละเอียดเชิงปฏิบัติพร้อมบอกข้อควรระวัง
ในแต่ละขั้นตอน พร้อมกระตุ้นให้ลูกน้องตั้งคำถาม
ถามในประเด็นที่สงสัยและยังไม่แน่ใจ สม่ำเสมอ
เมื่อครบทุกขั้นตอนแล้ว ในช่วงสรุปให้ สรุปเชื่อมโยง
แต่ละขั้นตอนในภาพกว้างอีกครั้ง อย่าลืมจบด้วย
การให้กำลังใจ เพื่อให้ลูกน้อง พร้อมที่จะลงมือ
ฝึกปฏิบัติ
.
.
ขั้นตอนที่สาม >>> ให้เขาทำให้เราดู (Practice)
คราวนี้ลองให้ลูกน้องได้ลองปฏิบัติดูบ้าง 
แต่ก่อนเริ่มให้ลูกน้อง ช่วยอธิบายทบทวนขั้นตอนต่างๆ
ก่อน เพื่อเพิ่มความมั่นใจก่อนที่ลงมือฝึก
ระหว่างที่ลูกน้องปฏิบัติ เกิดลูกน้องทำผิดพลาด
และความผิดพลาดนั้นไม่ก่อให้เกิดอันตราย
หัวหน้าหรือผู้สอนงาน อย่าเพิ่งขัด เพราะอาจทำให้เขา
เสียความเชื่อมั่นและอาจลืมหรือสับสนในขั้นตอนต่อๆไป
หากเป็นไปได้ให้ สรุปพร้อมให้คำแนะนำหลังจากลูกน้อง
ฝึกปฏิบัติครบทุกขั้นตอนแล้ว

ข้อควรจำ : ความสามารถในการรับรู้ของคนแต่ละคนมีไม่เท่ากันบางคนเรียนรู้ได้ช้า เพราะฉะนั้นจงอดทน อย่าทำให้เสียบรรยากาศ หรือ ทำให้ลูกน้องเสียกำลังใจจากการต่อว่าเป็นอันขาด
.
.
ขั้นตอนที่สี่ >>> ปล่อยให้เขาทำ (Operate)
เมื่อลูกน้องผ่านขั้นตอนการฝึกฝน และสามารถไปปฏิบัติงานได้แล้ว หัวหน้างานอาจมอบหมายให้มีพี่เลี้ยง หรือ บัดดี้ ให้ช่วยดูแลและให้คำแนะนำเบื้องต้น และคอยติดตามอย่างใกล้ชิดในช่วงระยะเวลาแรกๆ หัวหน้างานต้องยืนยันความสะดวกใจให้กับลูกน้องว่าหากพบปัญหาอะไรให้สามารถ ปรึกษาได้ตลอดเวลา และต้องให้กำลังใจสม่ำเสมอ หัวหน้ามืออาชีพ ต้อง อุทิศตน ในการพัฒนาลูกน้อง และให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ
.
.
ขั้นตอนที่ห้า >>> ตามเข้าไปดูเขา (Followup)
เมื่อผ่านไประยะหนึ่งตามแผนการสอนงาน 
(ควรมีแผนการสอนงาน) หัวหน้า ต้องติดตามและประเมินศักยภาพลูกน้องว่าผ่านเกณฑ์หรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่อย่าลืมลงบันทึกเป็นเอกสารไว้ด้วยนะ หากพบว่ายังมีข้อผิดพลาด ก็ให้คำแนะนำและให้กำลังใจ ในการพัฒนาให้ครบตามเกณฑ์ต่อไป หรือ หากพบว่าลูกน้องสามารถทำได้ตามที่คาดหวัง(ต้องมีเกณฑ์และแบบประเมินชัดเจนเป็นรูปธรรม) ก็ดำเนินตามแผนการพัฒนาลูกน้องในเรื่องต่อไป

--------------------------------------

"การพัฒนาลูกน้องเป็นเรื่องสำคัญที่หัวหน้าทุกคนต้องเอาจริงเอาจัง เพื่อพัฒนาทีมงาน และองค์กรของเราให้ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายให้ได้"

--------------------------------------
อาจารย์ยศศักดิ์ มงคลปัญญาเลิศ
www.perfecttraining.net

หมายเลขบันทึก: 645124เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2018 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2018 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท