อิริยาบทใหญ่


          การปฏิบัติวิปัสสนากัมัฎฐานตามแนวของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจะให้เร่ิมฝึกตามหลกกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน ๓ อย่า คือ ขณะเดินจงกรม )รวมอริยาบถ ยือน และเดิน) ขณะนั่งสมาธิ และขณะอิริยาบทอื่นๆ ทุกอย่าง ดังต่อไปนี้

          ๑. อริยาบถยืน ยืนเป็นอริยาบลถนิ่ง โดยไม่มีการเคลื่อนไหวส่วนใดน่วนหนึ่งของร่างกาย ลักษระของการยืนคือ กายทั้งส่วนบนและกายส่วนล่างตั้งตรงและน่ิง ถ้ายังมีการเคลื่อนไหวอยู่ ก้ไม่เรียกว่า "ยืน" (แต่เป็นกายที่เคลื่อไหว จะต้องกำหนดที่กายเคลื่อนไหว จะกำหนดกายยืนไม่ได้ ตอเมื่อกายนั้นหยุดนิ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหวแล้ว จึงจะกำหนดกายยืนได้) ลักษณะเช่นี้เรียกว่า "การยืน" การกำหนดหรือการดุกายยืนนั้น คื อให้ทำความรู้สึกทั่วทั้งร่างกาย รหือระลึกรู้ในรูปยืน ซึงตั้งตรงอยู่นั้น ไม่ใช่ไปดุที่ขาหรือเท้าที่กำลังยืนอยุ่ 

          ๒. อิริยาบทเดิน (เดินจงกลม) จัดเป็นนอิริยาบทเคลื่อนไหว แต่การเคลื่อนไหวนนั้นต้องอยุ่ทีเท้า หมายถึง อาการก้าวไปหรืออาการเหวี่ยงไปของเท้าแต่ละก้าวๆ ถ้าไหวที่ส่วนอื่นนอกจาเท้าแล้ว ไม่ใช่อริยาบทเดิน ลักษณะของการเดินนั้น อยู่ที่กายสวนบนกับกายส่วยล่างตั้งตรง แล้วเท้าข้างหนึ่งยืนตั้งตรงยันกายไว้ เท้ารอีกข้างหนึ่งก้าวไปหรือเหวี่ยงไปข้างหน้า เรียกว่านันกายไว้ข้างหนึ่ง และเหวี่ยงไปข้างหนึ่ง ผลัดเปลี่ยนกันอยุ่อย่างนี้ ฉะนั้น การเดินจึงอยู่ที่อาการก้าวไปหรือการเหวี่ยงไของเท้าแต่ละก้าวแต่ละครั้ง ถ้าท่านไม่เข้าใจ่าการเดินอยู่ตรงไหนท่านก็จะกำหนดการเดินไม่ถุก การปฏิบัริของท่านก็จะไม่ได้ผล และวิปัสสนาก็เกิดไม่ได้

        ๓. อริยยาบทนั่ง จัดเป็นอริยาบทน่ิง เช่นเดียวกับอริยาบยืนและนอน ลักษระการนั่ง คือ กายส่วนบนตั้งตรงไว้ และกายส่วนล่างขดคู้ไปตามลักษณะของท่าแต่ละ่า สิ่งที่แสดงออกให้เราททราบว่าเรานั่งอยุ่ท่าใด คือ อยู่ที่ท่าทางของการนั่ง มิใช่อยุ่ที่ก้น มิใช่ที่ขา หรือที่ใจ ฉะนั้นกานั่งจึงอยุ่ที่ท่าทางหรืออาการของกายนั่นเอง การนั่งสมาธิหรือการนั่งกำหนด ในมหาสติปัฎฐานสูตร ได้แสดงไว้และปแลความว่า คือการนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรง (ตั้ง) สติไว้เฉพาะหน้า

           "คู่มือปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (สายอิริยาปถปัพพะ หรือยุบหนอพองหนอ)"

คำสำคัญ (Tags): #อิริยาบทใหญ่
หมายเลขบันทึก: 645104เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2018 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2018 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท