"กำหนด"


           การกำหนด มาจากภาษาบาลีว่า สัลลักขณะ เป็นคำไวพจฯ์ของคำว่า วิปัสสนา และยังหมายถึง "ปริญญเญยะ" เช่นคำว่า "พองหนอ ยุบหนอ" ถือว่าเป็นการกำหนด ทุกขอริยสัจ เพราะภาวะที่พองยุบเป็นความทุกข์โดยสภาวะ แม้จะไม่ได้รับความเจ็บปวด แต่ก็เป็นก้อนทุกข์ของขันธ์ ๕ "รูปูปาทานขันธ์" ที่อยู่ในหลักไตรลักษณ์ การกำหนดรู้ (แนวยุบหนอ-พองหนอ) คือการใส่ใจ การนึกในจ การพูดในใจ พร้อมกับอาการที่เกิดขึ้นทางกายและใจ ห้ได้ปัจจุบัน ไม่ก่อนไม่หลังกับอาการที่เกิดขึ้น คือกำหนดแฃละรู้อาการไปพร้อมกัน เหมือนกับการวางจิตเป็นเีพยงผุ้กำหนดรู้ แล้วปล่อย อย่าไปอยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็จะเห็นความเป็นจริง หมายถึงการกำหนดรู้ตามสภาพที่เป็นจริงๆ โดยไม่มีการวิเคราะห์วิจารณ์ใดๆ ทั้งสิ้น เทคนิคการปฏิบัติแนวพองยุบนั้น จะไม่ให้ไปวิเคราะห์วิจารณ์ คือ กำหนดไปตรงๆ ที่สภาวะนั้นๆ ปรากฎ โดยไม่ต้องไปแยกแยะว่าอันใดเป็นรูปอันใดเป็นนามเพราะรู้ไปก็ยังเป็นบัญญัติ หากสภาวะที่แท้จริงยังไม่เกิด แต่ก็ไม่ใ้หไปบังคับว่าต้องไม่คิดถ้าเกิดความคิดขึ้น ก็ให้กำหนดที่อาการคิด เพราะอาการคิดก็เป็นอารมณ์วิปัสสนา ให้กำหนดเช่นกัน แต่สิ่งที่คิดว่าอันนี้เป็นนาม อันนี้เป็นรูปอย่างหนึ่ง หมายถึง เห็นอารมณ์ต่างๆ โดยความสิ้นไป โดยความเสื่อไป การกำหนดรู้อารมร์ คือ รูปนั้น และเห็นอารมณ์คือรูปนั้นโดยความสิ้นไปและเสื่อมไป

            การเจริญวิปัสสนากัมมัฎฐาน เพื่อต้องการให้อินทรีย์เสมอกัน เป้นสิ่งที่สำคัญที่สุดถ้าหากจะพยายามปลุกแต่สมาธิกันเรื่อยไปไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งเป็นอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ แบบทำสมถกัมมัฎฐานแล้ว ก็จะได้สมาธิมากมายแต่อย่างเดียว ส่วนศรัทธา วิริยะ สติ ปัญญา ทั้ง ๔ อย่างนี้ก็เกิดน้อยหรือไม่เกิดเลย เป็นอันว่า อินทรีย์ทั้งหลายไม่เสมอกัน เมื่ออินทรย์เหลื่อมล้ำต่ำสูงไม่เท่ากันเช่นนี้แล้ว การบำเพ็ยวิปัสสนาก็ไม่ได้ผล วิปัสสนาญาณจะเกิดขึช้นไม่ได้เลยหากขาดความเสมอกันแห่งอินทรีย์ การบำเพ็ยวิปัสสนาจึงไม่ใช่อุปจาระและอัปปนาสมาธิ แบบบำเพ็ยสมถะ เพราะสมาธิจะมากเกินขนาดไป แต่ใช้สมาธิอีกชนิดกนึงชื่อว่า ขณิกสมาธิ คือสมาธิเฉพาะขณะหนึ่งๆ เมื่อใช้สมาธิแต่พอประมษณคือขณิกสมาธินี้แล้ว ก็มีโอกาสที่จะให้อินทรีย์ทั้ง ๔ ที่เหลือเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม สรุปว่า การบำเพ็ญวิปัสสนานี้ แทนที่จะใช้สมาธิมากมาย ก็กลับลดสมาธิลงมาให้พอควรกับอินทรีย์อื่นๆ ที่เหลือ เพื่อให้เกิดความเสมอกัน เมื่อวิปัสสนากัมมัฎฐานจำเป็นต้องใช้ขณิกสมาธิเช่นนี้ แต่เวลาที่ปฏิบัติเข้าจิง การณ์กลับปรากฎว่า ในขณะที่โยคาวจรบุคคลกำหนดรู้ตามอาการโดยคำภาวนาน้้น หากขณิกสมาธิมีกำลังอ่อนปรากฎไม่ชัดเจน เช่น ตั้งสติกำหนดภาวนาในใจว่า "พอง" นั้น อาการพองนั้นจะปรากฎต้งอยู่นานกว่าคำภาวนา คือเพียงแต่อาการพองปรากฎได้ครั้งหนึ่ง คำภาวนาว่า "พอง" ก็หมดเสียแล้ว แต่อาการพองยังมีอยู่ต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ สมาธิทีเกิดจากคำภาวนาว่า "พอง" ก็สะดุดหยุดลง ไม่ติดต่อไปตามสภาวะของอาการพองซึ่ง ยังปรากฎต่อไปอย่างชัดเจน ใจของโยคีบุคคลก็จะกระวนกระวาย เพราะสมาธิมีกำลังน้อยเกินไป แต่ถ้าเติมคำภาวนาลงไปอีกคำหนึ่ง ก็จะเป็นการเพ่ิมกำลังให้สมาธิตั้งอยู่นานพอพีกับอาการที่ปรากฎ ตามสภาวะที่เป็นจริง..

           ประโยชน์ของการกำหนดรูป-นาม (ปรมัตถอารมณ์) มี ๖ ประการ ดังนี้ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ (ขณิกสมาธิ) ทำให้สมาธิเจริญขึ้นและสติอยู่กับปัจจุบัน, เกิดสติสัมปชัญญะละอัตตาตัวตน, สั่งสมเหตุปัจจัย เพื่อเว้นไกลจากิเลส, รู้ถ้วนท่วอย่างวิเศษในปัจจุบันขณะ ทำให้เท่าทันต่อสิ่งที่ปรากฎ และเห็นอย่างชัดเจนของอาการนั้น, ละควาเกี่ยจคร้าน สะสมญาณหยัะ่งรู้, กอบกู้อิสรภาพกำราบกิเลส และสกัดกั้นกิเลไม่ให้ไหลเข้าสู่จิตเพิ่มขึ้น 

          อานิสงส์ของการกำหนดพอง-ยุบ มี ๗ ประการ ได้แก่

          ๑. สักกายทิฎฐิหาย เนื่องจากขณะที่เข้าไปกำหนดรู้แล้ว ก็จะรูว่า เช่น พอง-ยุบ ที่อยู่ในตัวเรา มิใช่เราสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เมื่อเข้าใจอยู่อย่งนี้ก็ชื่อว่า ขจัดสักกายทิฎฐิไ้

         ๒ สัมมาทิฎฐิมรรคเกิด เมื่อขณะกำหนด เช่น พอง-ยุบ อยู่นั้น ความสำคัญมั่นหมายว่า พอง-ยุบ ของเราไม่มี ความรู้สึกยินดีนิยร้ายไม่เกิด และไม่มีความรุ้สึกยินดียินร้ายในโลภะ โทสะ และโมหะ ผลคือกิเลสก็ไม่เข้ามาเจื่อในจิต

        ๓. ตทังคปหาร ดับกิเลสชั่วขณะ เมื่อกำหนดอยู่ กิเลสดังไปชั่วขณะ ดับไปหายไปชั่วขณะหนึ่ง จึงเป็นตทัคปหานคือประหานกิเลส หรือดับกิเลสชั่วขณะหนึ่ง ิใช่ตลอดกาล 

        ๔. เกิดอนิจจานุปัสสนา ในขณะกำหนด จะเกิดการเห็นถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ "พอง-ยุบ" ไม่เทียง โดยมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา

        ๕. ทุกขสัจ เมื่อกำหนดอาการ เช่น พอง-ยุบ อยู่ อาการนั้นๆ จะแสดงสภาวะลักษณะให้เห็นว่าพระไตรลักษณ์ การเกิดดับ เกิดความเบื่อหน่ายและไม่พอใจในรูปนาม ที่เรียกว่า ทุกข์ภายในใจ

        ๖. สัสสตทิฎฐิหาย ผลการจากกำนหดพอง-ยุบทำให้เห็นว่า พองก็เกิดดับ ยุบก็เกิดดับ มิได้เนื่องเป็นอันเดียวกัน เมื่อเข้าใจอย่างนี้ เรียกว่า สันตติขาด คือ ความสืบต่อขาดไป

        ๗.อุจเฉททิฎฐิหาย เมื่อเข้าใจ พอง-ยุบ มิได้เป็นอันเดียวกัน รูปนามสังขารมิได้สืบต่อเนื่องกันเป็นอันเดียวกัน ก็ทำใหเข้าใจว่า รูปนา แต่กาลก่อนไม่มี แต่เดี๋ยวนี้เกิดมี ถึงเกิดมีมก็จริง แต่ก็ต้องแตกสลายไปดับไปเปนะรรมดา มิได้สูญสิ้นไป หารูปนามยังมีกิเลสอยู่ 

            - บางส่วนจาก "คู่มือการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน (สายอิริยาปถปัพพะ หรือ ยุบหนอพองหนอ) 

คำสำคัญ (Tags): #กำหนด พองยุบ
หมายเลขบันทึก: 644954เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2018 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2018 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท