"หนอ"


           คำว่า พอง-ยุบ ที่เป็นอาการของท้อง ซึ่งท่านวิปัสสนาจารย์นำมาใช้กำหนดภาวนาในการนั่งสมาธิ พอง-ยุบ นี้ ผู้ที่ไม่เคยเข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานแบบนี้ หรือแม้แต่ผู้ที่เคยเข้ามาปฏิบัติแล้ว บาวคนอาจสงสัยว่า มันเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติอย่างไร เพราะเป็นคำตื้นๆ พื้นๆ ไม่น่าจะนำมาใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนา..

          การตั้งสติกำหนดภาวนา ในใจว่า "พอง" นั้ อาการพองขึ้นจะประกฎตั้งอยู่นานกวา่คำภาวนา สมาธิที่เกิดจาคำวานาว่า "พอง" ก็สะดุดหยุดลงไม่ติดต่อไปตามสภาวะของอาการ "พอง"  ซึ่งยังปรากฎต่ไปอย่างชัดเจน

         การที่ให้กำหนด พอง-ยุบ ในระยะแรกนั้น เนื่องด้วย พอง-ยุบ นี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจของวาโยธาตุ คือ ลมหายใจเข้าออกที่ทำให้เกิดความเคร่งตึง และเคลื่อนไหวแก่ร่างกาย พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบติอย่างหนึ่งคือ ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้ ตามที่ดำรงอยู่ ตามที่เป้นไปอยู่โดยความเป็นธาตุว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลมที่อยู่ในกาย

        พระโสภณมหาเถรอธิบายว่า กำหนดรู้สภาวะพอง-ยุบ จัดเป็นธาตุกรรมฐานตามพระบาลีข้างต้นโดยสภาวะ พอง-ยุบ เป็นลมในท้องที่ดนให้พองออกและยุบลงตามลักาณะของวาโยธาตุ

       สภาวะตึงหย่อนของธาตุลมที่เป็นโผฎฐัพพารมร์ เป็นลักษณะพิเศษของวาโยธาติ (วิตฮถมฮภนลกฺขณา) 

       การทำให้เคลื่อนไหวจากระยะหนึงไปสู่อีกระยะหนึ่งเป็นหน้าที่ของวาโยธาตุ(สมุทีรณรสา) 

       การผลักดันออก ขยายออก ดึงออก เป็นอาการปรากฎของวาโยธาตุ (อภินีหารปจฺจุปัฎฐานํ) 

      คำว่า "หนอ" เป็นภาษาไทย เป็นคำพูดที่เป็นกลางๆ มาจากคำบาลีว่า "วต"

       วต แปลว่า หนอ ก็ได้ แปลว่า ธรรมที่ยังสรรพสัตว์ให้ข้ามซึ่งวัฎฎสงสาร มีวิเคราะห์ตามหลักบาลีว่า วฎฺฎสํสาสํ ตาเรตีติ วโต(ธมฺโม) แปลว่า ะรรมใด ย่อมยังสรรพสัตว์ให้ข้ามวัฎฎสงสาร ฉะนั้น ธรรมนั้นได้ชื่อว่า หนอ หรือ คำว่า หนอ หมายถึงสติปัญญา

        บางส่วนจาก วิทยานิพนธ์ เรื่อง "ศักษรหลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาแบบพอง - ยุบตามแนวการปฏิบัติของพระโสภณมหาเถระ" โดย พระครูปลัดสุนทร สุนฺทโร (แซ่เตียว) 

        สำหรับสาเหตุที่ต้องออกเสียว่า ..หนอ ในข้างท้าย เพราะว่า กิริยาในภาษาพม่านั้นจะต้องมีคำบ่งให้รู้กาลเสมอ ต่างจากภาษาไทยที่มไ่ต้องมีคำบ่งกาล เช่น เขาไปบ้าน แต่พม่าต้องบอกว่า เขาไปบ้านอยู่ ดดยคำว่า "อยู่" บ่งปัจจุบันกาล (และ และ จะ ล่งอดีตกาล และอนาคตการตามลำดับ เช่นกัน) ลักษณะคล้ายกับกริยาบ่งกาล กิริยา ๓ ช่อง ของภาษาอังกฤษ 

        การใช้คำว่า ยุบ กับพอง ในภาษาพม่า 

        ยุบหนอ - เบงแด่ ออกเสียงไวยากรณ์ เบงแหน่

        พองหนอ - พองแด่ ออกเสียงตามไวยากรณ์ พองแหน่

        ด้วยกฎไวยากรณ์และการออกเสียงในภาษาพม่า แด่ จึงมีเสียงเป็น แหน่ ครูบาอาจารย์ที่สอนกรรมฐานในพม่า เมื่ออกเสียงแหน่ๆๆ..ท่านสมเด็จวัดมหาธาตุยุวรัสฤษดิ์ฯ จึงได้บัญญัติ จากแหน่ เป็น หนอ หนอ ให้เหมาะสมกับคนไทยhttp://panyayan.tnews.co.th/co...

คำสำคัญ (Tags): #"หนอ"
หมายเลขบันทึก: 644887เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2018 08:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2018 08:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท