จอมกษัตริย์ 9 พระองค์… ผู้ปกครองแห่งพิภพบาดาล


จอมกษัตริย์ 9 พระองค์… ผู้ปกครองแห่งพิภพบาดาล

นายอานนท์ ภาคมาลี (คนหาปลา ข้าราชการบำนาญ)

เรื่องราวของพญานาค ซึ่งถูกกล่าวขานกันอย่างแพร่หลายเป็นในตำนานที่มีลักษณะคล้ายงูใหญ่ มีหงอนสีแดง ลำตัวเป็นเกล็ด เหมือนปลา และมีดวงตาสีแดง สำหรับส่วนของลำตัวก็จะแตกต่างกันตามบารมี บางก็สีเขียว สีดำ สีรุ้ง ส่วนเศียรนั้น หากเป็นนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ถ้ามีเศียร 3 เศียร 5 เศียร 7 เศียร 9 เศียร จะเป็นตระกูลสูงขึ้นไป พญานาคเกิดได้จากครรภ์ และจากไข่ ทั้งในน้ำและบนบก มีอินทธฤทธิ์สามารถแปลงกายมาเป็นคน ดลบันดาลให้เกิดคุณละโทษได้ แต่ในสภาวะ 5 อย่างนี้ จะกลายมาเป็นนาคเหมือนเดิม คือ 1)ขณะเกิด 2)ขณะลอกคาบ 3)ขณะสมสู่ 4)ขณะนอนหลับโดยไม่มีสติ และ5)ตอนตาย

พญานาค หรือ นาค เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ และความสมบูรณ์ เรามักจะเห็นนาคในงานจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะสถานที่ที่สำคัญ ได้แก่ วัด อาคารที่สร้างขึ้นสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ และ ศาสนสถานต่างๆ เช่น บันไดทางขึ้นโบสถ์ หลังคาโบสถ์ นอกจากนี้ผู้ศรัทธา และมีความเชื่อ มักจะนำรูปปั้นมาวางไว้ในสระหน้าบ้าน นำภาพมาตกแต่งบ้าน หรือนำเหรียญมาบูชาห้อยคอ

ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก ได้เล่าเรื่องนาคแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบวช เพราะระอาและเกลียดกำเนิดชาตินาค จึงหาวิธีจะพ้นจากกำเนิดนาค และกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์ จึงแปลงกายมาเป็นชายหนุ่ม แล้วเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายเพื่อขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายจึงให้เข้าบรรพชาอุปสมบท ต่อมาพระนาคนั้นอาศัยอยู่ในวิหารกับภิกษุรูปหนึ่ง ณ วันหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นได้ตื่นนอนแล้วออกไปจงกลม ส่วนนาคนั้นวางใจจำวัด ภิกษุรูปนั้นก็ได้เห็นวิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงู ก็ตกใจ และร้องเอะอะขึ้น ภิกษุทั้งหลายพากันวิ่งเข้าไป แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นได้บอกอาวุโสทั้งหลายว่า วิหารหลังนี้เต็มไปด้วยงูขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง เสียงเหล่านั้นทำให้พระนาคตื่นขึ้น แล้วนั่งอยู่บนอาสนะของตน จากนั้นภิกษุทั้งหลายถามว่า พระนาคจึงแจ้งเนื้อความนั้นว่า แก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนี้แด่พระมีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทานพระพุทธโธวาทนี้ แก่นาคนั้นว่า “หากเจ้าเป็นนาคมีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา” ไปเถิดเจ้านาค เมื่อพุทธองค์ให้นาคสึก นาครู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก ถึงกับหลั่งน้ำตา เพราะความน้อยเนื้อต่ำใจ ว่าตนไม่ได้เกิดเป็นมนุษย์ จึงขอร้องให้หมู่ภิกษุ เรียกผู้ที่จะบวชเป็นพระว่า”นาค” เพื่อให้ระลึกถึงตน และชื่อของตน จะได้ปรากฏอยู่ชั่วกาลนาน

“นาค” คือ ผู้ที่ได้โกนผม ห่มผ้าขาว ถือศีล หรือผู้เตรียมพร้อมที่จะบวช อุปสมบท ในพระอุโบสถ เพื่อสำเร็จเป็นพระภิกษุ

หากคุณมีโอกาส ไปร่วมพิธีงานบุญ โดยเฉพาะงานบวชนาค หรือมีโอกาสบวชด้วยตนเอง เมื่ออุปสมบทเรียบร้อยแล้ว ขอให้ตั้งจิตอธิฐานอุทิศบุญในพญานาคราช ก็ถือเป็นการถวายบุญ เพื่อเชื่อมมนุษย์สัมพันธ์กับท่านแล้ว รวมถึงงานการทำบุญในวาระสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ วันมาฆบูชา วันเข้าพรรษา วันวิสาขะบูชา หรือทอดผ้าป่า ทอดกฐิน แม้กระทั้งเราใส่บาตรตอนเช้า ให้คุณน้อมบุญกุศลนั้นให้พญานาคราชโดยการกรวดน้ำอุทิศ หรือรำลึกถึง ก็เป็นสัมพันธ์ที่ยิ่งใหญ่อีกประการหนึ่ง

จอมกษัตริย์ 9 พระองค์…ผู้ปกครองแห่งพิภพบาดาล ตำนาน 9 พญานาคราช ผู้ปกครองพิภพบาดาล 

  1. พญาอนันตนาคราช พาหนะคู่บารมีของพระนารายณ์ คำอนันตะ มีความหมายว่าไร้จุดจบ มีความยาวมาถึงขนาดว่าสามารถพันรอบโลกได้ แต่เดิมพญานาคราชมีพระนามเดิมว่า พญาเศษะนาคราช ทรงเป็นโอรสองค์แรกของพระกัศยปะ และนางกันรุ พญาอนันตนาคราช เป็นใหญ่ในเมืองบาดาล เป็นราชาแห่งนาคทั้งปวงในเกษียรสมุทร และได้ตามเสด็จพระนารายณ์เสมอ นาคเป็นงูใหญ่ บนหัวมีหงอน ที่คางมีเครา ลำตัวมีเกล็ด และปลายหางมีลวดลาย มีอิทธิฤทธิ์สามารถแปลงตัวได้ และบันดาลให้เกิดฝนได้ด้วย เรียกว่านาคให้น้ำ นาคในวรรณคดีไทย นอกจากจะมี 1 หัวแล้ว ยังปรากฏนาคที่มี 7 หัว เรียกว่านาค 7 เศียร พญาอนันตนาคราชมี 1,000 เศียร พญาอนันตนาคราชขดตัวอยู่ กลางเศียรสมุทร เป็นแท่นบรรทมให้พระนารายณ์ หลังจากที่พระนารายณ์ ปราบผู้ที่มารบกวนเทวดาและมนุษย์ได้แล้ว พญาอนันตนาคราชสามารถพ่นพิษเป็นไฟบัลลัยกัลป์ล้างโลกได้ เมื่อถึงเวลาสิ้นอายุของโลก เมื่อพระนารายณ์อวตารมาเป็นพระราม เพื่อปราบทศกัณฐ์ พญาอนันตนาคราชก็มาเกิดเป็นพระลักษมณ์ช่วยพระรามทำสงครามกับทศกัณฐ์ด้วย
  2. พญามุจรินทร์นาคราช ครั้งล่วง 7 วัน พญานาคก็คลายขนดจำแลงกายเป็นมานพ เข้าไปถวายอัญชลี เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่งอุทานวาจาว่า “ความสงัดเป็นสุข สำหรับบุคคลผู้ทีธรรมอันเห็นแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นความเป็นจริง ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความปราศจากความกำหนัด คือ ความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก ความนำอัสมิมนะ คือความถือตัวออกให้หมดได้เป็นสุขอย่างยิ่ง”
  3. พญาภุชงค์นาคราชเจ้าวิสุทธิเทวา คือพญานาคราชประจำองค์พระศิวะเทพ หรือพระอิศวรเจ้า อยู่ในตระกูลวิรูปักษ์ มีพระวรกายเป็นสีเทาฮินดู พระนาคี และพระเศียรเป็นสีแดง มีพระเศียร 1.3.5.7.9 แล้วแต่ปางค์ แต่ส่วนใหญ่ที่ปรากฏให้เห็นคือ 1 เศียร และ 7 เศียร…มีพระอัครมเหสีคือ พญานาคิณีเทวีศรีปางตาล (แม่ย่าทองคำ) ซึ่งเป็นพญานาคินีประจำองค์แม่พระอุมาเทวี มเหสีศิวะเทพ พญาภุชงค์นาคราชเจ้าวิสุทธิเทวาเป็นพญานาคราชประจำองค์พระศิวะเทพ หรือพระอิศวรเจ้า อยู่ในตระกูลวิรูปักษ์
  4. พญาศรีสุทโธนาคราช (พญานาคาธิบดีศรีสุทโธวิสุทธิเทวา) นาคาศรีสุทโธ และนาคาศรีปทุมมา (นางพญานาคิณศรีปทุมมาวิสุทธิเทวี) เป็นพญานาคผู้เป็นใหญ่ในประเทศไทย เป็นพญานาคราชขององค์อินทราธิราชเจ้า “มีพรหมประกายโลก” หรือวังนาคินทร์คำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี มีเวียงวังที่ประทับ องค์นาคาธิบดีศรีสุทโธ มีวรกายสีเขียวมรกต เศียรสีทอง มีเมตตาสูงต่อผู้กราบไหว้บูชา หากอธิษฐานจิตขอในสิ่งที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่นจะสัมฤทธิ์ผล จึงมีผู้คนไปกราบไหว้ บนบานศาลกล่าว เป็นจำนวนมาก
  5. พญาศรีสัตตนาคราช เป็นหนึ่งในพญานาคผู้มีฤทธิ์ ทรงมีศักดานุภาพนามของพญาศรีสัตตนาคราช นี้ก็ปรากฏพบในตำนานของนางนันยักษ์แต่ก่อน มีนาคตัวหนึ่ง 7 หัว ชื่อว่าศรีสัตตนาค เข้ามาทูลขอพระศาสดาทรงย่ำรอยเท้าพระบาทไว้ ณ ที่นั้น ทรงก้าวรอยพระบาทข้ามตีนรอยก้ำขวาแล้วทรงแย้มพระโอฐ ท่านอานนท์ กราบทูลถาม ตถาคตตรัสว่าเราเห็นนาค 7 หัว เป็นนิมิต ต่อไปภายหน้าที่นี่จักบังเกิดเป็นเมือง มีชื่อว่าเมืองศรีสัตตนาค
  6. พญาเพชรภัทรนาคราช หรือ พญาเกล็ดแก้วนาคราช โอรสบุตรเพียงองค์เดียวต่อองค์พญาอนันตนาคราช และนางอุษาอนันตวดี แต่ทรงมีพระขนิษฐาน และอนุชา ต่างพระมารดามาก ทรงเป็นโอปากิกะจิต พระวรกายสีดั้งเดิม คือ ทอง ตามพระมารดาท่านเป็นราชธิดา แห่งองค์ท้าววิรูปักษ์ และพระนางนพเกตุนาคินีเทวี ตระกูลวิรูปักษ์ เกล็ดเพชรนี้ท่านได้จากบารมีปฏิบัติ แผ่พระเศียรแสดงบารมีได้ 9 เศียร ทรงเชียวชาญชำชองในการรบมากเมื่อครั้งสงครามเทวะคราต่างๆ พญาเพชรภัทรจะทรงเป็น 1 ในแม่ทัพใหญ่นำรบเสมอ ทรงได้รับประคนพระขรรค์จากฤษีเทพอัศดร และมีครูบาอาจารย์เทพพรหมฤษ๊ประสิทธิวิชามากมาย
  7. พญาคำแสนสิริจันทรานาคราช ทรงเป็นพระราชโอรสพญาศรีสัตตะนาคราช กษัตริย์ฝั่งโขง 1 ในนาคาธิบดีทั้ง 9 กับพระนางมธุรินรดีเทวีราชธิดา พญาอนันตนาคราช ท่านพญาเพชรภัทรนาคราชทรงเรียกพระองค์ว่า เจ้าชายเล็ก พระวรกายสีดำอมส้ม องค์นี้มีหงอนทองคำปลายเป็นเพชรเป็นอาวุธ สิริโสมงามมาก หวงน้องสาว แต่เจ้าสำราญชายามาก ทรงเก่งทั้งบู้และบุ๋น คล่องแคล่วปราดเปรื่อง และว่องไวดุจสายฟ้า ทั้งยังมีคุณธรรมและคุณงามความดี พระชายาวิชุราอารฎีเทวี เป็นหนึ่งใน แห่งพญาอนันตนาคราช ผู้เป็นพระชายาคู่บารมี
  8. พญายัสมัญนาคราช หรือพระนามเต็ม พญายัสมันรายะนาคราช เป็นพระราชโอรส ในพญาอนันตนาคราช และเจ้านางสร้อยแสงคีรี ตระกูลวิรูปักษ์ ทรงเป็นพระอนุชา สหายร่วมรบกับพญาเพชรภัทรนาคราช พญาภาคินทร์นาคราช และพญานฤบดินทร์นาคราช
  9. พญาครรตะศรีเทวานาคราช ประวัติและลักษณะไม่ทราบชัดเท่าไหร่นัก แต่ที่ทราบคือ ทรงมีพระชายาคู่บารมีพระนางศิริมายานาคินีเทวี ราชธิดาพญาวาสุกรีนาคราชนั่นเอง
หมายเลขบันทึก: 644830เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2018 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2018 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท