ความช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย แก่ชาวนาไทย ปี2560


                        เกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำนวนหลายพันไร่ร้องสื่อมวลชนกรณีราคาข้าวเปลือกตกต่ำในช่วงนี้ส่งผลให้ได้รับผลกระทบในเรื่องราคาอย่างหนัก  ในขณะนี้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักเนื่องจากปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำซึ่งราคารับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 6-6.50 บาท แต่ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวปี 2560 นี้ชาวนาขายข้าวเปลือกได้ราคาเพียง 6 -6.50 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ยังถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาราคารับซื้อด้วย ขณะทีต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนค่าเตรียมดิน ค่าปุ๋ย ค่ายา รถเกี่ยว ยังไม่รวมถึงแรงงานกำจัดวัชพืช และปีนี้ยังได้รับผลกระทบฝนตกชุก ทำให้ข้าวเกิดการเสียหาย ผลผลิตข้าวลดลง และทุกวันนี้ทำนาแล้วหักลบหนี้แทบไม่เหลืออะไรเลย มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว 

                     จากเหตุการณที่เกิดขึ้นนี้ ธ.ก.ส.พร้อมจ่ายสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปี 2560/61 โดยไม่คิดอัตราดอกเบี้ย และสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 เป้าหมายรวม 4.5 ล้านตัน ทั้งนี้ เพื่อชะลอปริมาณข้าวเปลือกออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากและบรรเทาความเดือดร้อนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในระหว่างรอขายผลผลิต รวมถึงเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกรในการเก็บรักษา และปรับปรุงข้าวเปลือกให้มีคุณภาพ วงเงินสินเชื่อรวม 33,510 ล้านบาท พร้อมเตรียมวงเงิน 47,273 ล้านบาท จ่ายค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 3.9 ล้านราย และ ธ.ก.ส.พร้อมสนับสนุนสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ตามนโยบายของรัฐบาล ในการรักษาเสถียรภาพและยกระดับราคาข้าวเปลือกในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก โดยเพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกรในการเก็บรักษาและปรับปรุงคุณภาพข้าวเปลือกเพื่อรอราคา รวมถึงไม่ต้องกังวลกับภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และภาระหนี้สิน จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย

                    1. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2560/61 โดยจ่ายสินเชื่อให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรเพื่อเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ที่ยุ้งฉางของตนเอง กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อตันข้าวเปลือกที่ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 สิ่งเจือปนไม่เกินร้อยละ 2 ในอัตราร้อยละ 90 ของราคาตลาด ตามชนิดข้าวเปลือก ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาตันละ10,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 7,200 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานี 1ตันละ 8,500 บาท กำหนดวงเงินกู้สำหรับเกษตรกรสูงสุดรายละไม่เกิน 300,000 บาท สหกรณ์การเกษตรไม่เกิน 300 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกร ไม่เกิน 20 ล้านบาท และวิสาหกิจชุมชนไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยไม่คิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้กู้ เนื่องจากรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยแทนผู้กู้ทั้งหมด 

                   2.โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2560/61 เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับสถาบันเกษตรกรในการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรสมาชิก และรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อนำไปจำหน่ายหรือแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม รวม 2.5 ล้านตัน วงเงินสินเชื่อ 12,500 ล้านบาท โดยสถาบันรับภาระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 และรัฐบาลรับภาระดอกเบี้ยแทนสถาบันเกษตรกรไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี ระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน  "การดำเนินโครงการดังกล่าวคาดว่าจะดูดซับปริมาณข้าวเปลือกไม่ให้ออกสู่ตลาดในปริมาณมากเกินความต้องการ ซึ่งจะทำให้ราคาข้าวเปลือกมีเสถียรภาพ และปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น"

                  

หมายเลขบันทึก: 644826เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2018 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2018 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท