ประวัติความเป็นมาของภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว


      ... ลงพื้นที่ครั้งที่ 3 ของหมู่บ้านบางหลวง อ.บางเลน จ.นครปฐม กลุ่มของดิฉันได้เดินทางออกจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เวลา 9:30 นาที และถึงที่หมายเวลา 10:28 นาที...

          วันนี้กลุ่มของดิฉันก็ได้ทำการสัมภาษณ์ ผู้ใหญ่วิทย์ ในเรื่องของการทำขวัญข้าว ผู้ใหญ่วิทย์เล่าว่า การทำขวัญนั้น มีความสำคัญสำหรับหมู่บ้านบางหลวง เพราะหมู่บ้านของเรา เต็มใจ และให้ความร่ววมมือในเรื่องนี้ ท่านผู้ใหญ่บอกว่า การที่ทำขวัญขึ้นมาเพื่อความสบายใจของคนที่ทำนา เพราะเวลาทำพิธีลงไปเหมือนเราได้ใส่ใจรายละเอียดในการทำนาข้าวและเป็นการสร้างแรงบันดาลใจของคนทำนา อาจจะดูวุ่นวายนิดหน่อย แต่มันก็คือความสบายใจขอคนทีี่ทำนาและเป็นแรงบันดาลใจของคนทำนา ท่านผู้ใหญ่ก็เล่าให้ฟังอีกว่า หมู่บ้านของเราก็พึ่งเริ่มสืบสานได้ไม่นานมากหนัก เขาต้องการอนุรักษ์ประเพณีไทยไว้ไม่ให้สูญหายไป ต้องการหาคนที่มาสืบทอดประเพณีนี้ไปเรื่อยๆ โดยหาคนที่สนใจจริงๆเข้ามาทำต่อไป

          การทำขวัญข้าวของหมู่บ้านบางหลวงนั้น เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชาวนาให้รู้ว่า การทำนาปลูกข้าวของตนนั้น จะไม่สูญเปล่า เพราะพระแม่โพสพเป็นผู้ดูแล และเมื่อมีการเกี่ยวข้าวก็จะมาช่วยกันเกี่ยวข้าว เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคี และที่สุดคือการร่วมสนุกสนานเมื่อทุกคนเหนื่อยยาก และประสบความสำเร็จด้วยดี

         หมู่บ้านบางหลวง เชื่อว่าถ้าได้ทำขวัญข้าว และถ้าพระแม่โพสพได้รับเครื่องสังเวยแล้ว ไม่ทำให้เมล็ดข้าวล้ม หนอน สัตว์ต่าง ๆ มากล้ำกราย ได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนถวายแก่พระสงฆ์เมื่อข้าวนาสุกดีแล้ว เมื่อนวดข้าวเสร็จก็จะกำหนดวันพฤหัสบดีหรือวันศุกร์นำข้าวขึ้นยุ้ง ชาวบ้านก็จะมาร่วมทำขวัญข้าว ร้องเพลงทำขวัญแม่โพสพ

       จากนั้นกลุ่มของดิฉันก็ได้เดินสำรวจรอบๆหมู่บ้านบางหลวง ว่ามีอะไรบ้าง... 


เข้าไปเดินดูทุ่งนาของชาวบ้านที่มีความเขียวขจี สวยสดงดงาม...

หมายเลขบันทึก: 644803เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2018 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2018 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท