วิชาการทำขวัญข้าวของจังหวัดนครปฐม (ครั้งที่2)


วิชาการทำขวัญข้าวของจังหวัดนครปฐม (ครั้งที่2)

วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561

ลงชุมชนครั้งที่ 2 เวลา 9.36 น. ออกเดินทางไปหาคุณลุงทองหล่อ สาวแสงซึ่งได้สอบถามเกี่ยวกับขั้นตอนความเป็นมาความสำคัญของพิธีการทำขวัญข้าว พวกผมก็ได้เดินทางไปหาลุงที่บ้านและก็ได้เจอคุณลุง จากนั้นพวกผมก็สอบถามประวัติส่วนตัวของคุณลุงและพิธีการทำขวัญข้าวจากนั้นลุงก็ได้เราว่าคุณลุงชื่อทองหล่อ สาวแสงอยู่หมู่บ้านหนองขโมยบ้านเลขที่ 60 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอกำแพงแสน จังหวัด นครปฐม คุณลุงได้พูด

ว่าอุปกรณ์และเครื่องสังเวยของพิธีการทำขวัญข้าวได้แก่ 1.กระบุง 2.ผ้าขาว 3.ไม้คาน 4.ธูป เทียน จากนั้นก็หามกระบุงแล้วไม้คานไปที่ท้องนาโดยในกระบุงนั้นมีหมากพลู ขนมต้มขาว ขนมต้มแดงและของสังเวย เช่น กล้วย อ้อย มะพร้าว บุหรี่ ส้ม งา ใส่ไปในกระบุงหรือตะกร้าสานแล้วนำผ้าขาวปิดไว้แล้วเดินไปที่ท้องนาเพื่อทำพิธีโดยเอาเครื่องสังเวยมาวางไว้บนผ้าขาวที่เตรียมไว้พอ ทำพิธีเรียกขวัญเสร็จจึงนำเมล็ดข้าวใส่กระบุงแล้วก็นำกลับบ้านตามแบบฉบับโบราณ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการขอขมาพระแม่โพสพพอถึงเดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำจึงจะโกยมารับประทานได้การทำขวัญข้าวทำเพื่อเป็นการขอโทษที่ได้นำ ข้าวของพระแม่โพสพมารับประทานและเดินเหยียบย่ำเมล็ดข้าว การเกิดพิธีการทำขวัญข้าวโดยมีการเปรียบเทียบว่าจะต้องรู้บุญคุณคน เช่น จะต้องมีการตักแบ่งข้าวก่อนเอามารับประทาน หลังจากนั้นพวกผมได้บอกคุณลุงว่าวันหลังคุณลุงช่วยสาธิตการทำวิธีขวัญข้าวแบบเบื้องต้นให้พวกผมดูและเก็บไว้ศึกษาเพื่อเป็นการให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อ

คำสำคัญ (Tags): #58/36
หมายเลขบันทึก: 644688เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2018 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2018 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท