อานาปานสติ จตุกกะที่ ๓


              จตุกกะที่ ๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน(ตังแต่การกำหนดลักษณะของจิต จนถึง การทำจิตให้ปล่อยสิ่งที่เกิดกับจิต)

               บัดนี้มาถึงการปฏิบัติในอานาปานสติจตุกกะที่ ๓ ซึ่งกล่าวถึงอานาปานสติอีก ๔ ขั้น เป็นลำดับไปคือ

               ขั้นที่ ๙ การเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิ หายใจเข้า-ออก ๑

               ขั้นที่ ๑๐ การทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า-ออก๑

               ขั้นที่ ๑๑ การทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า-ออก ๑

               ขั้นที่ ๑๒ การทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า- ออก๑

               รวมเป้น ๔ ขั้นด้วยกันดังนี้ ที้ง ๔ ขั้นนี้ จัดเป็นหมวดที่พิจาณาจิตเป็นอารมณ์สำหรับการศึกษา แทนที่จะกำหนดพิจารณากายคือลมหายใจ และวเทนาดังที่กล่าวแล้วในจตุกกะที่ ๑ และที่ ๒

               ตอนที่ ๙ อานาปานสติ ขั้นที่ ๙ (การรู้พร้อมซึ่งจิต)

              “ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า “เราเป็นผุ้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า ย่อมทำในบทศึกษาว่า “เราเป(นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต จักหายใจออก”

               ในขณะแห่งอานาปานสติขึ้นหนึ่งๆ นั้น ผู้นั้นกำลังปฏิบัติอย่างไรอยู่ คือกำลังพิจารณาอารมณ์อะไรอยู่ โดยอาการอย่างใด แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ยังเป้นอันกล่าวได้ว่าด้วยการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวนั้น เขาก็กำลังทำในบทศึกษาครบทั้ง ๓ อย่างในตัวอยู่นั้นเอง

              “ รู้พร้อมเฉพาะ”  การทำสิ่งนั้นให้เกิดขึ้นเป็นอารมณ์ของการกำหนด แล้วพิจารณาโดยละเอียดถี่ถ้วนว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร ประกอบอยู่ด้วยลักษณะอย่างไร จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดจากสิ่งนั้นอยู่ทุกลมหายใจเข้า-ออก รู้พร้อมเฉพาะต่อสิ่งนั้น ในที่นี้ ก็คือรู้พร้อมเฉพาะต่อจิตดดยวิธีดังกล่าว

             “จิต” ท่านจำแนกโดยละเอียดด้วยคำต่อไปนี้คือ มโน ใจ, มานสํ มนัส, หทยํ หัวใจ, ปณฑรํ น้ำใจ(คำนี้แปลว่าขาว), มนายตนํ อายตนะ คือใจ, มนินฺฑริยํ อินทรีย์ คือใจ, วิญญาณ ธรรมชาติที่รู้โดยวิเศา, วิญญาณกฺขนฺโธ กองหรือส่วนคือวิญญาณ, มโนวิญญาณธาตุ ธาตุคือความรู้วิเศษฝ่ายใจ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่หมายถึงจิต หรือป้นคำที่ใช้เรียกแทนคำว่าจิต แม้จะมีคำว่า หทยํ รวมอยู่ด้วย ก็ให้ถือเอาความว่า หมายถึงจิต มิได้หมายถึงก้อนเนื้อหัวใจดังความหมายธรรมดา ฉะนั้น ขอให้ถือเอา ความหมายของคำเหล่านี้ทุกคำมารวมกันเป็นความหมายของคำว่า “จิต” ในที่นี้

            หรือจะกล่าวว่า รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตทั้งปวงนั้น หมายถึงจิตทุกขนิด ในขณะแห่งการปฏิบัติอานาปานสติทุกขั้น ได้รับการพิจารณาสอดล่องด้วยญาฯและสติอย่างทั่วถึง จนไม่มีความยึดถือจิตว่าเป็นตัตนแต่ประการใดนั่นเอง และมีความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จากความยึดถือจิตว่าเป็นตัวตนมาแต่เดิมเสียได้...

           ตอนที่ ๑๐ อานาปารสติ ขั้นที่ ๑๐ (การทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่)

           “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า “เราเป็นผุ้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจเข้า ย่อมทำในบทศึกษาวา “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทน์ยิ่งอยู่ จักหายใจออก

            “ย่อมทำในบทศึกษา” มีอธิบายอย่างเดียวกัน “ทำจิตให้ปราโมทย์” คือ ทำให้ปราโมทยเกิดขั้นในขณะไหน และความปราโมทย์นั้นมีอยู่อย่างไร กล่าวคือ ความปราโมทย์โดยธรรม ในที่นี้ เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ย่อมทำให้เกิดขึ้นได้ในทุกขั้นแห่งอานาปานสติ เพราะฉะนั้นผุ้ที่ลงมือปฏิบัติในชั้นนี้ จะต้องพยายามทำให้เกิดความปราโมทย์ขึ้นในทุกขั้นแห่งอานาปานสติ เขาจักต้องย้อนไปปฏิบัติมาตั้งแต่อานานปานสติขึ้นที่ ๑ เป็นลำดับมา จนกรุทั่งถึงขั้นที่ ๙ พยายามทำความปราโมทย์ให้เกิดขึ้นให้ปรากฏชัดในทุกขั้นและให้ประณีต หรือสูงขึ้นมาตามลำดับดุจกัน

             ใจความสำคัญคือมุ่งหมายถึงการนรู้จักทำ หรือสามารถทำจิตให้ปราโมทย์ขึ้นมาได้ในทุกๆ ขั้น แล้วถือเอาความรู้สึกปราโมทย์นั้นเป็นอารมณ์สำหรับพิจารณา เพื่อเห็นลักษณะแห่งความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความเป็นอนัตตาแห่งจิตที่ปราโมทย์นั้นสืบต่อไป เหมือนดังที่ได้กล่าวแล้วในการพิจารณาปีติในอานาปานสติขั้นที่ ๕

            ปราโมทย์เกินในอานาปานสติที่ลำดับขั้นตั้งแต่ขั้นที่ ๑ ตามลำดับความละเอียด ในอานาปานสติขึ้นที่ ๑๐ นี้ เป็นการประมวลมาซึ่งความปราโมทย์ทั้งหมดทุกชนิมากำหนดพิจารณาอยู่ และมีความปราโมทย์เฉพาะในข้อนี้ว่า บัดนี้ตนเป็นผุ้สามารถบังคับจิตได้ตามความต้องการ ดังที่สามารถบังคับให้เกิดความปราโมทย์อยู่ในขณะนี้ อย่างพลิกแพลงอย่างไรก็ได้ตามต้องการ และกว้างขวางถึงที่สุด จึงเป็นจิตที่บันเทิงอยู่ด้วยความปราโมทย์ที่กว้างขางและสูงสุดไปตามกัน

             เมื่อกล่าวตามศัพท์ ปราโมทย์คือ อาโทนา ความเบิกบาน, ปโมทนา ความยันเทิงหรือปราโมทย์, หาโส ความร่าเริงหรือหรรษา, ปาหาโล ความรื่นเริงอย่างยิ่งหรือความรื่นรมย์แห่งใจ, โอทคฺยํ ความโสมนัสหรือความเย็นใจ และอตฺตมนตา ความปลื้มใจ หรือ ความภูมิใจต่อตัวเองเป็นที่สุด อาการทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า อาการของความปราโมทย์

            เช่นเดียวกับปีติและสุข กล่าวคือปราโมทย์นี้อาจจะเป็น “เคหลิต” คืออาศัยกามเรือนหรือกามก็ได หรือจะเป็นเนกขัมมลิต คืออาศัยธรรมโดยเฉพาะ คือความปราศจากกามก็ได้ แต่สำหรับในที่นี้นั้น เป็นที่เห็นได้ชัดเจนอยุ่แล้ว่า เป็นปราโมทย์ที่อาศัยธรรมแท้ ทุกขั้นแห่งอานาปานสติที่เดียว ผุ้ศึกษาพึงสังเกตในข้อที่ชื่อเหมือนกันว่า ปราโมทย์ๆ แต่ตัวจริงนั้นอาจจะแตกต่างราวกับฟ้าและดิน เพราะวัตถุหรือารมณ์แห่งการเกิดของปราโมทย์นั้นต่างกัน...

           ... ด้วยอำนาจของเอกัคคตจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน นี้เรียกว่า สติการกำหนดติดตามดูปราโมทย์นั้นด้วยอำนาจของสติ จนเกิดการพิจารณาเห็นความเป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตาสติกลายเป็นอนุปัสสนาญาณไป นี้เรียกว่า ญาณ ผู้ปฏิบัติกำหนดและพิจารณาจิตซึ่งประกอบด้วยปราโมทย์ทั้งหลายด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น การกระทำนื้ชื่อว่าจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐานภาวนา...

           ปานาปานสติ ขั้นที่ ๑๑ (การทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่)

           “ภิกษุนั้น ย่อมทำให้บทศึกษาวา “เราเป็นผู้ทำจิรให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้รา ย่อมทำให้บทศึกษาวา “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก”

            .... การสำรวมหรือระวังจิตไม่ให้ละไปจากอารมณ์ ที่กำลังกำหนดอยู่ในขั้นนั้นๆ ในขณะท่ำดลังปฏิบัติอยู่ในอานาปานสติขึ้นสูง เหล่านี้ การสำรวมในศีลก็ยังสมบุรณือยู่ตามเดิม จึงเป็ฯการทำให้ไตรสิกขา หรือสิกขาทั้ง ๓ ยังคงเป็นธรรมสมังคีสมบูรณ์อยู่...

             “ความตั้งมั่น” หรือสมาธินั้นเอง ในทางศัพทศาสตร์ เมื่อถามว่าสมาธิคือะไรแล้ว ย่อมตอบด้วยการจำแนกชื่อต่างเหล่านี้คือ ฐิติ ความตั้งมั่น, สมฐิติ ความหนักแน่น หรือ ความตั้งมั่นด้วยดี, อธิฏฺฐิติ ความเข็งแรงหรือเข้มแข็ง, อวสาหาโร ความมิได้มีอการดุจอาหารเป็นพิษ, อวกฺเขโป ความไม่ฟุ้งซ่าน, อวิสาหตมานสตา ความมีใจที่พิษมิได้กระทบกระทั่ง, สมโถ ความสงบ, สมาธินฺทฺรียํ อินทรีย์คือความต้งมั่น, สมาธิพลํ กำลังคือความตั้งมั่น, สฺมาสมาธฺ ความตั้งมั่นชอบ

            ตั้งมั่น ความที่อามณืหรือนิวรณ์กรทะบไม่หวั่นไหว

             หนักแน่น ความเป็นอย่างนั้นยิ่งไปอีก คือสามารถทนสู้ต่ออารมณ์หรือนิวรณ์ที่มีกำลงมากได้จริง

             แข็งแรง หมายถึงไม่อ่อนไปตามอารมณ์ ที่ยั่วเย้าหรือขูเข็ญบังคับ

             มิได้เป็นดุจอาหรารเป็นพิษ เป็นอุปมา เหมือนอย่างว่าคนที่เกิดมีอาหารเป็นพิษ ย่อมทมีอาการกระสับกระส่าย ไม่มีความสดชื่นเบิกบานแต่ประการใด ซึ่งจิตก็เหมือนกัน ถ้านิวรณ์เข้าไปเป็นพิษอยู่ภายในแล้ว ย่อมตายจากความดี..

             มีใจอันพิษมิได้กระทบกระทั้ง หมายถึงนิวรณ์และกิเลสชื่ออื่นทุกชนิด เมื่อกิเลสไม่กระทบจิต จิตมีความเป็นปกติสงบอยู่ได้

            ในทางปฏิบัติ ตามหลักแห่งอานาปานสติ ความที่จิตมีอามรณ์เป็นหนึงไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจการกำหนดลมหายใจยาว สั้น ชื่อ สมาธิ หรืออีกอย่างหนึ่งว่า จิตที่มีอารมณ์เป็นอันเดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจจากการกำหนดลมหายใจของบุคคลผุ้มีจิตตั้งมั่นชื่อว่าสมาธิ

           การฝึกในขั้นที่ ๑๑ ฝึกในการกำหนดความตั้งมั่นทั้งในแง่ของสมถะและท้งในแงของวิปัสสนา จากอานาปานสติทุกขั้นเท่าที่มีให้กำหนดได้ว่ามีความตั้งมั่นอยุ่กี่อย่าง จนกระทั่งตนมีความคล่องแคล่วในการทำจิตให้ตั้งมั่นได้ทุกอย่าง ด้วยความชำนิชำนาญสมตามความปรารถนา

          อานาปานสติขั้นที่ ๑๒ (การทำจิตให้ปล่อย)

          “ภิกษุนั้น ย่อทำในบทศึกษาว่า”เราเป้ฯผุ้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้า ย่อมทำในบทศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก”

            การทำจิตให้ปล่อย คือ ทำจิตให้ปล่อยสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตหรือกลุ้มรุมห้อมล้อมจิต อย่างหนึ่ง และสิ่งที่จิตยึดไว้เองด้วยอำนาจของอุปาทานอันเกิดจากอวิชชา อันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน อีกอย่างหนึ่ง ถ้ากล่าวกลับกันอีกอย่างหนึ่งก็คือแทนที่จะกล่าวว่าทำจิตให้ปล่อย ก็กล่าวหลับกันได้ว่า “เปลื้องจิตเสียจากสิ่งซึ่งควรปลอเปลื้อง” การเปลื้องจิตคือการเปลื้องจิตจากนิวรณ์ ผู้ปฏิบัติในขั้นที่ ๑๒ นี้ จำเป็นทีจะต้องตีวงกว้าง คือการย้อนมาฝึกการกำหนดในการที่จิตเปลื้องจากนิวรณ์ออกไปได้อย่างไร ตั้งแต่อานาปานสติขั้นต้นๆ อีกนั้นเอง

        ในจตุกกะที่ ๓ นี้ มีการกำหนดจิตที่เรียกว่า จิตตานุปัสสนาโดยเท่ากัน หรือเสมอกันทุกขั้น แต่อาการที่กำหดพิจารณานั้นต่างกัน คือ ขั้นที่ ๑ กำหนดจิตว่ามีลักษณะอย่างไรในขณะแห่งอานาปานสติขั้นต่างๆ ตั้งแต่เริ่มทำอานาปานสติจนถึงอานาปานสติขึ้นนี้  ขั้นที่ ๒ กำหนดจิตที่ถูกทบันเทิงอยุ่ในธรรม หรือมีความบันเทิงอยุ่ในธรรมโดยลักษณะที่สูงต่ำอย่างไรขึ้นมาตามลำดับ ขั้นที่ ๓ กำหนดจิตที่ถูกทำให้ต้งมั่นและมีความตั้งมั่นอยุ่อย่างไรตามลำดับ นับตั้งแต่ต่ำที่สุดถึงสูงที่สุด อย่างหยาบที่สุดถึงอย่างละเอียดที่สุด และขั้นที่ ๔ กำหนดจิตที่ถูกทำให้ปล่อยและมีบความปล่อยอยุ่ซึ่งกุศลธรรมต่าง ๆซึ่งทั้งหมดนี้เป็นทุกขณะแห่งลมหายใจเข้า ออก จนเป็นสติปัฎฐานภาวนาชนิดที่สามารถประมาลมาได้ซึ่งคุณธรรมต่างๆ โดยทำนองเดียวกันและเสมอกัน

               อานาปานสติภาวนา พุทธทาสภิกขุ


หมายเลขบันทึก: 644633เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2018 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2018 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท