การจัดการข้อมูลทางรังสีวิทยา รังสีเทคนิค


ข้อมูล (Data) ที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านรังสีวิทยา หรือ รังสีเทคนิค มีหลากหลาย มีหลายรูปแบบ เช่น ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ที่เป็นตัวเลข หรือ เป็นสิ่งต่างๆที่แฝงอยู่ในกิจกรรมการทำงาน ข้อมูลเหล่านี้ เกิดขึ้นทั้งในและนอกหน่วยงาน ​ข้อมูล ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหน ประเภทอะไร ก็นับว่าเป็น Data ทั้งนั้น​​ ข้อมูล เป็นสิ่งที่น่าสนใจ...

เนื้อหานี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ได้นำเสนอไว้ ในการบรรยายทางวิชาการ 

ในหัวข้อ การบริหารจัดการข้อมูลคุณภาพทางรังสีวิทยา



ข้อมูล (Data) ที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านรังสีวิทยา หรือ รังสีเทคนิค 

มีหลากหลาย มีหลายรูปแบบ 

ข้อมูลมีอยู่ในรูปแบบที่เป็นรูปภาพ ที่เป็นตัวเลข หรือ เป็นสิ่งต่างๆที่แฝงอยู่ในกิจกรรมการทำงาน 

ข้อมูลเหล่านี้ เกิดขึ้นทั้งในและนอกหน่วยงาน 


ข้อมูล ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหน ประเภทอะไร ก็นับว่าเป็น Data ทั้งนั้น

ข้อมูล เป็นสิ่งที่น่าสนใจ... 

หากสามารถนำมาศึกษา คิด วิเคราะห์ 

ก็... น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน การพัฒนาคุณภาพ สร้างโอกาสพัฒนาต่อไป 


ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำข้อมูลไปใช้งานด้านไหน หรือ การคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต หรือ แนวโน้มสิ่งที่จะเกิดขึ้นนั้นเอง


 




ตัวอย่าง ข้อมูลทางรังสีเทคนิค 

ภาพการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องสร้างภาพชนิดต่างๆ 

ภาพที่มีคุณภาพ ภาพที่ไม่ได้คุณภาพ ภาพรบกวน (artifact) 

ระยะเวลาการทำงาน ระยะเวลาการให้บริการ ระยะเวลาการตรวจ

ระยะเวลาการรอคอยการตรวจ ระยะเวลากับรับผลการตรวจ

ค่าปริมาณรังสีจากการตรวจวินิจฉัยประเภทต่างๆ 

ค่าปริมาณรังสีที่ใช้ในเครื่องสร้างภาพชนิดต่างๆ 

ค่าปริมาณรังสีในผู้ป่วย ตามอายุ ตามความหนาของอวัยวะ 

ปริมาณสารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจ 

ความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน 


ข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงาน ที่สำคัญ เช่น จำนวนผู้มารับบริการ จำนวนครั้งของการให้บริการ รายรับ-รายจ่ายของหน่วยงาน ความคุ้มค่าของเครื่องมือที่นำมาใช้ในงานบริการ ผลการดำเนิน 

ข้อมูลเหล่านี้.... 

ช่วยทำให้เห็นผลงานว่า สอดคล้อง หรือ ตรงกับเป้าหมาย ที่วางไว้เพียงใด 

อาจมีการนำ เปรียบเทียบตามระยะเวลา เดือน ปี 


ข้อมูลที่ได้จากระบบสื่อสารภาพทางการแพทย์ หรือ PACS

ข้อมูลที่ได้อาจเป็นปัญหาหรือคำถามที่มักพบบ่อยๆ 

เมื่อพบปัญหา ก็...ควรจะเก็บรวบรวมข้อมูลจากปัญหา 

เพื่อนำมาสร้างโอกาสพัฒนาต่อไป 

PDCA เลือกใช้ในเหมาะสม




สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ข้อมูลพื้นฐาน และ การทำความเข้าใจกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้งาน เช่น 

เครื่องมือที่ใช้มีประสิทธิภาพเพียงใด 

จอภาพมีรายละเอียดเท่าไร 

เครือข่ายเชื่อมต่อระบบมีอยู่ตำแหน่งใดบ้าง

มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากน้อยเพียงใด 

ช่วงเวลาในการใช้ข้อมูล เพิ่มขึ้น-ลดลงช่วงเวลาใดบ้าง


 


ปัญหาที่เกิดขึ้น 

ควรมีบันทึกข้อมูล การจัดลำดับความรุนแรงของปัญหา 

เพื่อการแก้ไขร่วมกันระหว่างทีมงาน จัดทำคู่มือการแก้ไข 

สมาชิกในทีมงาน ควรได้รับรู้ ร่วมทำ ร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ด้วยกัน 

ทำเป็นกลุ่ม สุขเป็นกลุ่ม สำเร็จด้วยกลุ่มทีมงาน


ที่นำเสนอมาเป็นส่วนหนึ่งของการนำข้อมูลจากงานทางมาศึกษา คิด วิเคราะห์ 

เพื่อมองหาโอกาสพัฒนา 

การพัฒนา อาจเริ่มต้น จากปัญหาใกล้ตัว เรื่องที่รุนแรงจากน้อยไปหามาก



หมายเลขบันทึก: 644619เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2018 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2018 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท