อานาปานสติ จตุกะที่ ๒


            จตุกะที่ ๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน (ตั้งแต่เวทนา จนถึงการเสทยา ไม่ให้ปรุงแต่งจิต)

             บัดนี้ มาถึงการปฏิบัตในอานาปานสติ จตุกกะที่ ๒ ซึ่งกล่าวถึงอานาปานสติอี ๔ ขั้น เป็นลำดับไปคือ 

            อานาปานสติขั้นที่ ๕  "ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จัก หายใจเข้า ย่อมทำในบทศึกษาว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจออก" 

           ...กำหนดปิติ แทนการกำหนดลมหายใจ เมื่อทำปีติให้เกิดขึ้นได้แล้ว การควบคุมสติให้มีความรู้สึกต่อปีตินั้นอยู่ โดยปรการที่กำหนดไว้

          ...ปีติแปลว่าความอิ่มใจ และหมายรวมถึงควมรุ้สึกอย่างอื่น ซึ่งมีอาการคล้ายกัน..อาการที่ปีติจะเกิดขึ้นมีอยู่อย่างสุงต่ำกว่ากัน ตามลำดับของการกำหนดรหือสิ่งที่ถุกกำหนดอันสูงต่ำ หรือหยาบละเอียดกว่ากัน ซึ่งแบ่งเป็น ๑๖ ขั้น คือ ความรู้สึกอยู่(ปชสนโต), เมื่อกำหนดอยู่ (อาวชฺชโต), เมื่อรู้ชัดอยู่ (ชานโต), เมื่อเห็นชัดอยู่ (ปสฺสโต), เมื่อพิจารณาอยู่ (ปจฺจเวกฺขโต), เมื่ออธิษฐานจิตอยู่(จิตฺตํ อธิฎฺฐหโต) เมื่อปลงจิตลงด้วยความเชื่อ(สทฺธาย อธิมุจฺจโต), เมื่อประคองความเพียรอยู่(วิริยํ ปคฺคณฺหโต), เมื่อดำรงจิตสติอยู่ (สตึ อฺปฎฐายโต),เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ (จิตฺตํ สมาหโต), เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา (ปญฺญาย ปชานโต), เมื่อรู้ยิ่งด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งอยู่ (อภิญฺญาย อภิชานโต), เมื่อละธรรมที่ควรละอยู่ (ปหาตพฺพ ปชหโต), เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญอยู่ (ภาเวตพฺพํ ภาวยโต), เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งอยู่(สจฺฉิกาตพฺพ์ สจฺฉิกโรโต)..ซึ่งความที่จิตไม่ฟุ้งซ่านและเป็นเอกัคคตา ด้วยอำนาของการกำหนดลมหายใจยาว หรือลมหายใจสั้น หรือลมหายใจของผุ้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวงหรือลมหายใจของผู้ยังกายสังขารให้รำงับอยู่ ดังนี้ ปีติย่อมเกิดขึ้น

          ....ภาวนา โดยตัวหนังสือ แปลว่า การทำให้มีขึ้น หรือ ทำให้เจริญขึ้น แต่ในทางปฏิบัติ จะเรียกว่าภาวนาได้ ก็ต่อเมือได้ทำให้เกิดขึ้นแล้วจริงๆ หรือเจิรญขึ้นแล้วจริงๆ เท่านั้น ฉะนั้น ถ้อยคำเช่นคำว่า สติปัฎฐานภาวนาจึงหมายถึงการทำการกำหนด้วยสติทีไ่ด้ทำไปแล้วจริงๆ เท่านั้น ภาวนาคือการทำสำเร็จ เพราะสามารถมุ่งไปยัง่ิงที่จะกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพราะประมวลเครื่องมือทั้งหมดให้รวมกันทำหน้าที่เพียงอย่างเดียว เพราะสามารถนำกำลังของความเพยรไปได้ในทางของสิ่งทั้ง ๒ นั้น (คือวัตถุประสงค์และการควบคุมเครื่องมือ) ปละเพราะเป็นสิ่งที่กระทำอย่างมากหรืออย่างสมบูรณ์

           อานาปารสติขั้นที่ ๖ (การกำหนดสุข) "ภิกขุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า "เราเป็นผุู้้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจเข้า ย่อมทำในบทศึกษาว่ "เราเป็นผุ้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจออก 

        .. วิธีปฏิบัติ การปฏิบัติอานาปานสติขั้นที่ ๖ ผู้ปฏิบัติพึงย้อนไปทำการกำหนดศึกษามาตั้งแต่อานาปานสติขึ้นที่ ๔ พึงกำหนดองค์ฌานต่างๆ ให้แจ่มแจ้งอีกครั้งหนึ่ง เมื่อแจ่มแจ้งทั่วทุกองค์แล้ว เพื่อกำหนดเจาะจงเอาเฉพาะองค์ที่เรียกว่า "สุข" เพื่อการเพ่งพิจารณาหรือการตามดู โดยนัยที่กล่าวแล้วดดยละเอียดในอานาปานสติขึ้นที่ ๕ ทุกๆ ประการ 

         .. การเจริญอานาปานสติขึ้นที่ ๖ นี้ มีการปฏิบัติทุกอย่างทุกตอน เป็นอย่างเดียวกับอานาปานสติขั้นที่ ๕ ผิดกันแต่อารมณ์สำหรับเพ่งพิจารณาได้เปลี่ยนจากเวทนา คือปีติ มาเป็นเวนา คือ สุข ทั้งนี้ เพื่อให้สิ่งที่่เรียกว่าความสุขได้รับการพิจารณาสืบต่อไป จากปีติในฐานะที่ความสุขเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือมากยิ่งขึ้นไปกว่าปีติ, ผลของการพิจารณาย่อมสูงกว่ปีติตามขั้นไปเป็นธรรมดา เพื่อว่าผู้ปฏิบัติจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งเวทนาทั้งปวงอย่างแท้จริง

          อานาปานสติขึ้นที่ ๗ (การกำหนดจิตสังขาร) 

         "ภิกษุน้้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อมเแฑาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจเข้า ย่อมทำใหบทศึกษาว่า "เราเป็นผุ้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจออก" 

          "จิตตสังขาร" ในที่นี คือ สัญญา และเวทนา ซึ่งเ็นพวกเจตสิกธรรม สัญญาและเวทนาถูกจัดเ็นจิตตสังขาร เพราะเป็น่งิที่เป็นไปกับด้วยจิต เนื่องเฉพาะอยู่กับจิต และเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิต เหตุนั้นสิ่งที่ ๒ นี้จึงได้ชื่อว่าจิตตสังขาร ซึ่งแปลว่า เครื่องปรุงแต่งจิต ผุ้มีความสังเกต จะสังเกตเห็นได้เองว่า ในอานาปานสตินั้นก่อน ได้พูดถึงสิ่งที่ ๓ คือ เวทนา สัญญา และวิตก ในที่นี้กล่าวถึงแต่เพียง ๒ ค อสัญญาและเวทนา ส่วนวิตกนั้ขาดหายไป ข้อนี้เพราะว่า สิ่งที่เรียกว่าวิตกนั้นถุกจัดอยู่ในฝ่ายจิต มิได้อยู่ในฝ่ายเครื่องปรุงแต่งจิต ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวถึงแต่สัญญา กับเวทนา เพียง ๒ อย่างในฐานะที่เป็นจิตตสังขาร ส่วนวิตกเป็นจิต

        .. เวทนาที่เนื่องอยู่กับสัญญา หรือสัญญาที่เนื่องอยุ่กับเวทนาเท่านั้นที่จะทำหน้าที่ปรุงแต่งจิตได้ ถ้าไม่มีเวทนา สัญญาก็ไม่อาจจะเกิด จึงไม่มีอะไรปรุงแต่งจิต เวทนาก็เหมือนกัน เกิดแล้วถ้าไม่ปรุงแต่งสัญญาขึ้นมาได้ ก็ไม่ปรุงแต่งจิต และเมื่อมัีนปรุงแต่งสัญญาได้ ก็ปรุงแต่งจิตต่อไปโดยแน่นอน นี้คือสิ่งที่เรียกว่าจิตตสังขาร และอาการที่มันปรุงแต่งจิต

         อานาปานสติข้อนี้ มีการพิจารณาเพ่งไปยังเวทนาที่ปรุงแต่งจิต ผิดจากอานาปานสติ ข้อที่ ๕ ข้อที่ ๖ ซึ่งเพ่งไปยังเวทนาในฐานะที่เป็นเวทนา เป็นการเพ่งเวทนาโดยวงกว้าง หรือครอบคลุมเวทนาทั้งหมด ส่วนข้อที่ ๗ นี้เป็นการเพ่งดูเวทนาในฐานะเป็นส่งิที่ปรุงแต่งสัญญา แล้วปรุงแต่งจิตในที่สุด มิฉะนั้นจะต้องมีความฟั่นเฟื่อ เพราะชื่อเหมือนๆ กัน และอธิบายด้วยหลักเกณฑ์เดียวกัน

          ....ผู้ศึกษาพึงสังเกตดูให้ดี จนกระทั่งจับหลักสำคัญได้ว่ สิงที่จะต้องเพ่งพิจารณานั้น ต้องเป็นสิ่งที่กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นเอง และตรงตามขณะที่ท่นระบุไว้เป็นระเบียบตายตัวในลำดับของอานาปานสติ คือให้สังเกตให้เห็นว่าสิงนั้น ๆได้เกิดอยู่ตลอดทุกระยะ นับตั้งแต่ระยะริ่มแรก จนกระทั้งระยะสุดท้านทีตนกำลังปฏิบัติยู่...สรุปความอย่างสั้นๆ ที่สุดคือ เวทนาโดยความมหายทั่วไปก็ดี เวทนาดดยความหมายที่เป็นจิตตสงขารก็ดี ปรากฎแก่บุคคลผู้ปฏิบัติได้ในทุกขั้นของอานาปานสติจนกระทั่งถึงขั้นที่ ๗ นี และแม้ในขณะที่กำลังแจ่มแจ้งอยุ่ด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาดังนี้..ทุกลมหายใจเข้าออก ตนกำลังปฏิบัตอยู่ในชั้นไหน ด้วยอาการอย่างไร ก็แจ่มแจ้งต่อเวทนาโดยความหมายที่ว่าเป็นจิตตสังขารอยู่ตลอดเวลานันเอง ลักษณะและอาการต่างๆ ของเวทนามีรายละเอียดปรากฏอยู่ในปานาปานสติขั้นที่ ๕...

         อานาปานสติ ขั้นที่ ๘ (การกำหนดจิตตสังขารให้รำงับ) 

         "ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า "เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยุ่ จักหายใจเข้า ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผุ้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก" 

         การทำจิตตสังขารให้รำงับ ย่อมเนื่องกันอยู่กับการทำกายสังขารให้รำงับ ฉะนั้น จึงมีการทำโดยแยบคายในส่วนที่เป็นการทำกายสังขารให้รำงับรวมอยุ่ด้วย หล่าวคือ เมื่อบุคคลผุ้ปฏิบัติกำลังมีอำนาจของสัญญาและเวทนาครอบงำจิตอยู่อย่างรุนแรง มีวิตกอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ แม้ในทางที่เป็นกุศลก็ตาม เขาย่อมสามารถบรรเทากำลังหรือำนาจของสัญญาและเวทนาลงเสียได้ ด้วยการทำลมหายใจเข้า ออกที่กำลังเป็นไปอยู่อย่างหยาบๆ นั้นให้ละเอียดลงๆ เมื่อลมหายใจละเอียดลง ความรุ้สึกทีเ่ป็นัญญาและวทนาก็รำงับลง ซึ่งมีผลทำให้วิตกพลอยรำงับลงไปตามกัน นี้คือการทจิตสังขารให้รำงับลงด้วยอุบายอันแรก..

        ...หลักสำคัญมีอยุ่ว่า เมื่อลม่ิงละเอียดเท่าไร เวทนาและสัญญาก็รำงับลงเท่านั้นจิตถึงความละเอียดไม่ฟุ้งซ่านยิ่งขึ้นเท่นั้น เมื่อถือเอาความที่จิตไม่ฟุงซ่าน เพราะมีความรำงับลงแห่งสัญญาและเวทนา ก็ดี และความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน เพราะกำหนดเอาสัญญาและเวทนาในขณะนั้นเป็นอารมณ์อยุ่ก็ดี มรเป็นหลัก ก็เป็นอันกล่าวได้ว่า  ได้ม่การถือเอาเวทนาทีพเป็นตัวจิตตสังขารดดยตรงที่ำดลังรำงับอยุ่ๆ เป็นอารมณืแห่งการกำนแล้ว ดังนี เป็นอันว่า ในขณะนั้นมีความเต็มที่แห่งการหายใจ มีความเต็มที่แห่งการหายใจเข้า ออก มีความเต้มที่แห่งสติที่เข้าไปกำหนเวทนาที่รำงับลงๆ ตามลมหาใจที่รำงับลง และมีความเต็มที่แหงความเป็นสมาธิ คือความที่จิตแน่งแน่ดวยอำนาจของสติที่กำหนดวทนาอันรำงบตามลมหายใจนั้น ฉะนั้น จึงเป้นอัน่า แม้จะเป็นกากำหนดจิตตสังขาร คือวทนาและสัญญาที่รำงับอยุ่ก็มีความเป็นสติ และความเป็นสมาธิโดยสมบูรณ์...

            อานาปานสติภาวนา พุทธทาสภิกขุ

           

           

          

หมายเลขบันทึก: 644602เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2018 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2018 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท