ลักษณะสมบูรณ์ของฌาน


             เมื่อกล่าวามหลักวิชา อาจจะหล่าวได้เป็นหักจำกัดลงไปได้ว่า ฌานหนึ่งๆ นั้น ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบเท่าไร จึงจะเป็นเครื่องตัดสินว่าเป็นความสมบูรณ์ของฌานนั้น โดยหัวข้อ ก็คือปฐมฌาน มีองค์ประกอบ ๒๐ ทุติยฌาน มี ๑๘, ตติยเาน มี ๑๗, จตุตถฌาน มี ๑๗, อธิบายดังต่อไปนี้

           ปฐมฌาน ีองค์ประกอบ ๒๐ ประการ คือประกอบด้วยลักษณะ ๑๐ ประการดังที่กล่าวแล้วข้างต้น ที่รวมเป็นควมงามในเบื้อต้น ความงามในทมกลาง ความงามในที่สุด นี้ประเภหนึ่ง และประกอบอ้งค์ฌาน ๕ และธรรมเป็นอนทรีย์อีก ๕ รวมกันจึงเป็น ๒๐ ซึ่งทำให้กล่าวได้ว่า ปฐมฌานสมบูรณ์ด้วยองค์ประกบอ ๒๐  หรือเรียกง่ายๆ ก็ว่าประกอบด้วยลักษณธ ๑๐ ด้วยองค์ฌาน ๕ ด้วยอินทรีย์ ๕ ดังนี้

            การที่่ท่ารระบุธรรมถึง ๒๐ ประการว่าเป็นองค์ประกอบของฐมฌาน ดังนี้ ก็เพื่อการรัดกุมของส่ิงที่เรียกว่าฌนนันเอง มีความประสงค์อย่างยิ่งที่จะไม่ให้ผุ้ปฏิบัติมองข้ามสิ่งเหล่านีไปเสีย หรือมองไปอย่างลวกๆ สนใจอย่าางลวกๆ ว่าปฐมฌานประกอบด้วยองคห้าเท่านั้น ก็พอแล้ว ทางที่พูก เขาก็ต้องเพ่งเล็งถึงอินทรีย์ทั้งห้า ที่สมบูรณ์ และเ้ามาเกี่ยว้องกับอค์ของฌนทั้หมด ในลักษณะที่ถูกต้องที่สุ คือ๔ุกต้องตามลักษณะ ๑๐ ประการ ที่กล่าวแล้วอย่งละเอียดนั่นเอง ให้เอาลักษณะ ๑๐ ประการนั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ที่เด็ดขาดและแน่นอนว่า ปฐมฌานเป็นไปถึงที่สุดหรือไม่ อย่าถือเอาเพียงลวกๆ ว่าปฐมฌานประกอบด้วยองค์ห้าเท่านี้ก็พอแล้ว นี้คือประโยชน์ของการบัญญัติองค์แระกอบ ๒๐ ประการ ของปฐมฌาน

            ทุติยฌาน มีองค์แระกอบ ๑๘ ประการ ข้อนี้มีหลักเกฑณ์ทำนองเดียวกันกับหลักเกฑณ์ต่างๆ ในกรรีของปฐมฌาน หากแต่ว่าในที่นี้องแห่งฌานขาดไปสององค์ กล่าวคือวิตกวิจารที่ถูกระงับไปเสียแล้ว องค์แห่งฌานเหลือเพียงสม คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ดงนั้น องค์ประกอบทั้งหมดของทุติยฌานจึงเหลือยู่ ๑๘ กล่าวคือลักษณธ ๑๐ องค์แห่งฌาน ๓ และอินทรีย์ ๕ ดังนี้ ความสัมพันธ์กันระหว่างองค์ประกอบ ๓ กลุ่มนี้ มีนัยอย่างเดียวกันกับกล่าวแล้วข้างต้น ในกรณีของปฐมฌาน

            ตติยเาน มีองค์ประกอบ ๑๗ ประการ มีหลักเกณฑ์ทำนองเดียวกันกับฌานที่กล่าวแล้วข้างต้น หากแต่ว่าองค์แห่งฌาในที่นี้ ลดลงไปอีก ๑ รวมเป็นลดป ๓ , เหลืออยู่แต่เพีียง ๒ คือ สุขและเอกัคคตา องค์ประกอบทั้งหมดของตติยฌานจึงเหลืออยู่เพียง ๑๗ กล่าวคือลักษณะ ๑๐ องค์แห่งฌาน ๒ อินทรีย์ ๕ ดังนี้ วินิจฉัยอื่นๆ ก็เหมือนกับฌานข้างต้น

            จตุตถฌาน มีองค์ประกอบ ๑๗ ประการ มีกลักเกณฑ์อย่างเดียวกันคือจตุตถฌาน ๒ แม้ว่าสุขจะได้เปลี่ยนเป็นอุเบกขา ก็ยังคงนับอุเบกขานั้นเอง ว่าเป็นองค์ฌานองค์หนึ่ง รวมเป็นมีองค์ฌาน ๒ ทั้งเอกัคคตา โยนัยนี้ก็กล่าวได้ว่า จตุุตถฌานก็มีองค์ประกบ ๑๗ เท่ากับตติยฌาน โดยำนวน แต่ต่างกันอยุ่หน่ยยหนึ่ง ตรงที่องค์ฌาที่เปลี่ยนเป็นอุเบกขานั่นเอง

           สรุปความว่า ปฐมฌานมีองค์ประกอบ ๒๐ ทุตยฌานมี ๑๘ ตติยฌานมี ๑๗ จตุตถฌามี ๑๗ เป็นองค์ประกอบสำหรับการกำหนด การศึกษา หรือการพิจารณา ให้หยั่งทราบถึงความสมบูรณ์แห่งฌานนั้นๆ จริงๆ 

           ข้อที่ต้องสังเกตุอย่างยิ่ง มีอยู่ว่าจำนวนองค์ฌานเปลี่ยนไปได้ตามความสูงต่ำของฌน ส่วนลักษณะ ๑๐ ประการ และอินทรีย์ ๕ อย่างนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย โยนัยนี้เป็นัอนว่ ปฐมฌานก็ดี ทุติยฌานก็ดี ตติยฌานก็ดี และจุตตถฌาก็ดี ง้วนแต่มีควมงาในเบื้องต้น มควมงามในท่ามกลางและมีความงามในที่สุด ด้วยหลักเกณฑ์อันเดียวกันแท้ ทั้งนี้ เพราะมีลักษณะ ๑๐ ประการ ดังที่ได้แยกไว้เป็นความงาม ๓ ประการ ปรากฎอยู่แล้วในข้อความข้างต้ด้วยกนทั้งนั้น ส่วนอนิทรีย์ท้งห้าน้นพึงทราบไว้ว่าเป้ฯส่ิงที่มีกำลังเพ่ิมขึ้นตามส่วน แห่งความสูงของฌานไปทุกลำดับ แม้ว่าจะยังคงทำหน้าที่อย่างเดียวกันหรอตรงกัน แต่กำลังของมัไดด้เพ่ิมขึ้นทุกอย่าง โดยสมส่วนกันกับควมสูงย่ิงๆ ขึ้นไปของฌานนั้นๆ กล่าวโดยสรุปก็ค อสัทธา วิิยะ สติ สมาธฺิ ปัญญา แต่ละอย่างๆ ต้องมีความประณีต และมีกำลังเพ่ิมข้นความต้องการของการที่จะก้าวขึ้นไปสูฌานนั้นๆ ตามลำดับ โดยนัยนี้ทำให้กล่าวได้ว่าอนิทรีย์ของการที่จะก้าวขึ้นไปสู่ฌานนั้นๆ ตามลำดับ โดยนัยนี้ทำให้กล่าวได้ว่า อนิทรีย์นั้นๆ ไม่เปลี่ยนแปลงโดยจำนวนก็จริง แต่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากในข้อนี้จริงๆ แล้ว่อมเข้าจวามแตกต่างระหว่างฌานหนึ่งๆ ได้ดีย่ิขึ้ไปอีก ในที่สุดเราก็มาถึงสิ่งที่เรียกว่า วสี....

หมายเลขบันทึก: 644418เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2018 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2018 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท