ลงชุมชนครั้งที่ 2 เรียนรู้พิธีทำขวัญข้าวกับปราชญ์ชาวบ้าน


วันพฤหัสบดี ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

...กลุ่มของข้าพเจ้า นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ได้ทำการลงพื้นที่ ณ ต.รางพิกุล อ.กำแแพงแสน จ.นครปฐม เพื่อทำการสัมภาษณ์สอบถาม นางจินตนา หมื่นราษฏร์ หรือยายเรียม เป็นคนที่มีความรู้และเคยทำพิธีทำขวัญข้าว 

ซึ่งข้าพเจ้าได้ถามถึง กระบวนการถ่ายทอดพิธีนี้ได้มายังไง ใครเป็นคนถ่ายทอดให้ ?

...ยายเรียมได้เล่าว่า ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ ซึ่งพ่อแม่ก็ได้รับการถ่ายทอดมาจากปู่ย่าตายาย อีกทีนึง สรุปคือ ได้การสืบทอดมาแบบรุ่นสู่รุ่น เพราะได้คลุกคลีกับพิธีกรรมดังกล่าว จึงจำๆกันมาว่าต้องทำอะไรยังไง แต่ปัจจุบันพิธีนี้กำลังจะหายไป เนื่องจากคนเลิกปลูกข้าวเพราะราคาต่ำ หันไปปลูกอ้อย ปลูกข้าวโพด กันหมดเพราะมีราคาที่ดีกว่า จึงไม่ค่อยมีพิธีทำขวัญข้าว ทำให้รุ่นลูกรุ่นหลานไม่รู้จัก และไม่ค่อยมีใครจะทำเป็น

พิธีทำขวัญข้าวทำเพื่ออะไร ?

...ยายเรียมกล่าวว่า เพื่อเป็นการบูชา หรือขอบคุณ พระแม่โภศพ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อื่นๆที่ปกปักรักษาข้าว ทำให้คนมีอยู่มีกินจนถึงปัจจุบันนี้ และยังแสดงให้เห็นว่าถึงข้าวที่สวยงาม เพราะถ้าที่นาไหนมีข้าวงอกงาม สวยงาม ก้อจะมีพิธีทำขวัญข้าวเพื่อรับขวัญเปรียบเสมือนเด็กทารกแรกคลอด

และคำถามอื่น นั่งคุยกันพักใหญ่จึงขอตัวกลับไว้มาอีกที ยายเรียมได้ชวนๆปดูสถานที่ที่เคยทำพิธีในการมาครั้งต่อไป

หมายเลขบันทึก: 644391เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2018 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2018 01:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท