ความสัมพันธ์แห่งธรรมในลักษณะแห่งฌาน ๒


             กลุ่มที่สอง คือองค์ฌานทั้ง ๕ องค์ นั้น บัดนี้แม้มิใช่เป็นธรรมที่เป็นอรมณ์โดยตรง ก็ตั้งอยู่ในฐานะที่เป็นอารมณ์โดยอ้อม คือไม่ใช่เป็นอารมณ์สำหรับการเพ่งหรือการกำหนดก็จริง แตก้ตั้งอยู่ในฐานะที่เป็นอารมณ์สำหรับการหน่วงเอาเป็นวัตถุที่มุ่งหมาย เพื่อทำความรู้สึกอันเป็นอารมณ์ แต่ก็ยังต้องตั้งอยุ่ในฐานะเป็นอารมณ์ เหรือวัตถุที่ประสงค์เป็นที่หน่วงของจิต ในณะแห่งวิปัสสนาโคราภู เพือการเข้าถึงในที่สุด ฉันใดก็ฉันนั้น ฉะนั้น เป็นอันกล่าวได้ว่า ผุ้ปฏิบัติที่มีปกิภานิมิตปรากฎชัดถึงที่สุดแล้ว รักษาไว้เป็นอย่างดีแล้วกำลังมุ่งต่อการเกิดของอัปปนาสมาธิ ก็ือผุ้ที่ำลังหน่วงต่อความรู้สึกที่เป็ฯองค์ฌานอยู่นั่นเอง ขณะทีจิตจะลุถึงเาน ก็คือขณะที่องค์เหล่านี้จะปรากฎออกมาอย่างสมบูรณ์ และขณะที่จิตตั้งอยุ่ในฌาน ก็คือขณะที่องค์เหล่านี้ได้ปรากฎแก่จิตอยู่อย่างสมบูรณ์นั่นเอง และขณะที่จิตตั้งอยู่ในฌาน ก็คือขณะที่องค์เหล่านี้ได้ปรากฎแก่จิตอยู่อย่างสมบูรณ์นั่นเอง เป็นอันกล่าวได้ว่า ส่ิงที่เรียกว่า "องค์แห่งฌาน" นี้ได้เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ในมถวิถี นับตั้งแต่ขณะที่หน่วงต่อฌาน ขณะที่ย่างเข้าสู่ฌานและขณะที่ตั้งอยู่ในฌานในที่สุด ทีเดียว

            กลุ่มที่สาม คืออินทรีย์ห้า นั้น กล่าวได้ว่าเป็นส่ิงที่มีกระจายอยู่ทั่วไปทุกชั้นของการฏิบัติธรรมะ ในที่ทุกหนทุกปห่งและตลอดทุกเวลา สำหรับในขณะที่จิตจะลุถึงฌานดดยเฉพาะนั้น มีอการย่ิงแก่หล้า แต่ว่ายิ่งประณีตสุขุมราวกะว่าจะหาตัวไม่พบ ต่อเมื่อได้ศึกษาและสังเกตโดยแยบคาย จึงจะพบว่าเป็นเช่นนั้น เชน นกรณีของสัธินทรีย์ ยิ่งปฏิบัติประสบความสำเร็จผ่านมาเท่าไร ก็ย่ิงกำลังของความเชื่อมากเพ่ิ่มขึ้เท่านั้น เมื่อเครื่อหมายแห่งความสำเร็จปรากฎออกมาให้เห็นเมื่อใด สัทะาก็ก้าวหน้าไปเมื่อนั้น ทุกขึ้นทุกลำดับไปทีเดี่ยว ส่วนที่เห็นได้ง่ายในขณะนี้ก็คือ ในขณะที่รองรอยของปฏิภาคนิมิต ปรากฎชัด หรือในขณะที่จิตว่าจากนิวรณื มีความหมดจดพอดีจะแล่นไปสุ่สมถะหรือความเป็นเอกัตตะ เป็นต้น

            สำหรับความพากเพียร หรือวิริยินทรีย์ นั้น เป็นไปอย่างมีเจตนาเรื่อยๆ มา จนกระทั่งถึงขณะแห่งกรบรรลุฌาน กลายเป็นของละเอียดประณีต และดำเนินไปได้เองโดยไม่มีเจตนา แต่ก็ปรากฎชัดอยู่ใลักาณะที่สมบุรณ์ที่สุด

            สำหรับสติหรือสติทรีย์ นั้น เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ได้เข้าไปแทรกแซงหรือควบคุอยู่่ในที่ทั้งปวง แต่ในขณะนี้โดยเฉพาะนั้น สติได้ขึ้นถึงขีดสุงสุดของธรรมชื่อนี้ กลาวคือ มอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยนิมิตหรืออารมณ์โดยอาการดังที่กล่าวมาแล้วอย่างละเอียด

          สำหรับสมาชิกหรื่อสมาธิทรีย์ นั้นกล่าวก็ได้ว่า มีอยุ่ดดยปริยายหรือโดยอ้อม มาตั้งแต่ขณะแห่งปฏิภาคนิมิต แต่บัดนี้ได้เกิดขึ้นเต็มรูป ในขณะที่องค์แห่งฌานปรากฎ โดยหลักทั่วไปนั้น เราอาจจะหล่าวได้ว่า เมื่อจิตไม่ถึงความฟุ้งซ่านในที่ใด สมาธิก็ชื่อว่ามีอยู่ในที่ั้น หากแต่เป็นเพียงชั้นที่ยังเป็นเพียงเครื่องมือ ครั้นมาถึงขั้นนี้ย่อมตั้งอยู่ในฐานะเป็นผลสำเร็จขั้นหนึ่งโดยสมบูรณ์ ือ ชั้นสมถภาวนา แต่ต่อจากนั้ไป ก็จะกลายเป็นเครื่องมือเพื่อากรปฏิบัติในชั้นสูงขึ้นไปอีก กล่าวคคือ ขั้นวิปัสสนาภาวนา ฉะนั้น เป็นอนกล่าวได้ว่าแม้สมาธิในชั้นที่เป็นฌานแล้ว ก็ยังจัดเป็นสมาธินทรีย์ได้อยู่นั่นเอง

        สำหรับปัญญาหรอปัญญินทรีย์ นั้น มีหน้าที่กว้างขวางตั้งแต่ต้นจนปลาย การทำในใจโดยแยบคายทุกระยะ ไม่ว่าใหญ่น้อยเพียงไร และไม่ว่าจะเป็นกรณีแก้ไขปุปสรรค หรอกรณีทำความก้าวหน้าต่อไป โดยตรงก็ตามย่อมจัดป็นปัญญินทรีย์ท้งสิ้น อนึ่ง อย่าได้เข้าใจผิดว่าในเรื่องของสมาธินั้นไม่เกี่ยวกับปัญญาเลย แต่ได้เกี่ยวอยู่อย่างเต็มที่ สมตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ หรอทรงยืนยันในทำนองว่า ในเร่องของสมาธินั้น นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส ซึ่งแปลว่า " ฌานย่อมไม่มีแก่คนที่ไม่มีปัญญา" เราจะเห็นได้ชัดว่า แม้ในขณะที่ำทการกำหนดอารฒณ์หรือนิมิต เราก็ต้องมปัญญาจึงจะทำการกำหนดได้ และแม้เมื่อสุงขึ้นมาจนถึงั้นที่จิตกำลังตั้งอยู่ในฌาน ปัญาก็ยังซ่อนตัวอยุ่ในทีนั้นเองอย่งเต็มที่ คือ มีความรอบรู้ในการที่จะข้าฌาน ในการที่จะหยุดอยู่ในฌานตั้งอยู่ในฌาน การพิจารณาองค์แห่งฌาน และการออกมาจากฌานนั้น เป็นที่สุด อีกทางหน่ง ปญญาเป็นสิ่งที่เนื่องกันอยู่กับสติ ปรืหสนับสนุนสติอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่ง เป็นอันว่าปัญญินทรีย์ที่อยู่ แม้ในขณะแห่งการบรรลุฌานด้วยอาการดังกล่าวนี้

       ทั้งนี้เป้นการแสดงว่า ด้วยอำนาจของความเป็นอนิทรีย์นั่นเอง ทีทำให้ะรม เช่นสมาธิและปัญญา ซึ่งถูกจัดเป็นภาวนาคนละพวก ได้กลายมาเป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างไม่มีทางท่จะแยกจากกัน เพื่อทำหน้าทีแม้ในขั้นสมถภาวนาเห็นปานนี้

        สรุปความว่า ในบรรดาธรรมทั้ง ๒๐ ประการนี้ หมวดที่เป็นอินทรีย์ ๕ ประการนั้น เป็นเหมือนกับมือทีททำงาน ส่วนองค์ฌานทั้งห้านั้น เป็นเหมือนกับส่ิงที่ถูกทำส่วนลักษณะทั้ง ๑๐ ประการนั้น เป็นเหมือนกับอาการที่กระทำในอันดับต่างๆ กัน นี้คือ ความสัมพนะ์กันะหว่างธรรมทั้ง ๓ กลุ่ม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่มีการบรรลุฌาน

        อานาปานสติภาวนา พุทธทาสภิกขุ

หมายเลขบันทึก: 644269เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2018 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2018 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท