ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้



1.หลักการของทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม พุทธิปัญญานิยมและคอนสตรัคติวิสต์

            ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

                   ปรัชญาว่าด้วยความรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม 

                   ปรัชญาความรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม มีพื้นฐานมาจากวัตถุนิยม (Objectivism) ที่เชื่อว่า โลก (World) หรือ โลกแห่งความเป็นจริง (Real world) ถูกจัดโครงสร้างที่สมบูรณ์และถูกต้อง ของแก่นแท้ คุณสมบัติ และความสัมพันธ์ ประสบการณ์มีบทบาทที่สำคัญในการจัดโครงสร้างโลก และความหมายเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในโลก ดังนั้น เป้าหมายของความเข้าใจ คือ การเข้ามารู้ หรือการได้รับความรู้ แก่นแท้ คุณลักษณะและความสัมพันธ์ที่ ปรากฏอยู่ นักวัตถุนิยม มองการให้ความรู้ ว่า บุคคลมีความเข้าใจที่แตกต่างกันขึ้นกับประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และความรู้เดิม(Prior knowledge) ไม่ใช่การที่บุคคลมีความเข้าใจเฉพาะตน แต่เชื่อว่าผลกระทบของความรู้เดิมและ การแปลความหมาย (Interpretation) ถูกมองว่าจะนำไปสู่การทำความเข้าใจบางส่วน และความเข้าใจที่เป็นอคติ ดังนั้นเป้าหมาย คือการทำให้เกิดความเข้าใจที่สมบูรณ์และถูกต้อง ถ้าเชื่อบนข้อตกลงเบื้องต้น ดังกล่าว เป้าหมายของ การเรียนการสอน จะเป็นการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับแก่นแท้ ความสัมพันธ์และคุณลักษณะที่นำมาสร้างโครงสร้างของ ญัตติที่ถูกต้อง

                   แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theories)

                   นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมที่สำคัญ และเป็นผู้ที่ผลงานมีบทบาทในงานทางด้านเทคโนโลยี การศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่Pavlov, Watson, Thorndike และ Skinner ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีพื้นฐานความคิดที่สำคัญ คือ

                   (1) พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้

                   (2) พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของ การเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง

                   (3) การเสริมแรง (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้ 

                    นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้จำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

                     1.พฤติกรรมแบบตอบสนอง (Respondent behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าเมื่อ มีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งจะสามารถวัดและสังเกตได้และทฤษฎีที่นำมาใช้ในอธิบายกระบวนการ เรียนรู้ประเภทนี้เรียกว่า ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical conditioning theory) 

                     2.พฤติกรรมแบบการกระทำ (Operant behavior) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดง พฤติกรรมตอบสนองออกมา (Emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีการ เรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant behavior เรียกว่า ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory)


                     การเสริมแรง (Reinforcement)

                     การเสริมแรงทางบวก หมายถึง การกระทำ คำพูด หรือสิ่งของที่ทำให้เพิ่มความน่าจะเป็นไปได้ อาจกล่าวได้ว่า การเสริมแรงทางบวกจะสามารถกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่พึง ประสงค์นั้นๆ เพิ่มขึ้น หรืออย่างต่อเนื่อง โดยการให้สิ่งเร้าทางบวก หรือ การเสริมแรงทางบวก เช่น คำชม ขนม การได้เล่นเกม 


                     การเสริมแรงทางลบ สามารถช่วยเพิ่มความคงทนของการแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์โดยการงด หรือ ไม่ให้หรือดึงเอาสิ่งเร้าที่ผู้เรียนพึงพอใจออกไป ตัวอย่างเช่น นักเรียนที่ ชอบคุยและแหย่เพื่อนเวลาครูให้ทำงาน จึงถูกครูจับแยกไปนั่งคนเดียว ที่มุมห้องและต้องนั่งทำงานคนเดียว หลังจากที่นักเรียนตั้งใจทำงานครูก็ อนุญาตให้กลับมานั่งที่ตามเดิมของตนรวมกับเพื่อนได้

             ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญานิยม

                     นักจิตวิทยากลุ่มพุทธิปัญญานิยม (Cognitivism) เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งที่มากกว่าผลของการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง โดยให้ความสนใจใน กระบวนการภายในที่เรียกว่า ความรู้ความเข้าใจ หรือ กระบวนการรู้คิด (Cognitive process) ของมนุษย์ ที่เชื่อว่า การเรียนรู้จะอธิบายได้ดีที่สุด

                     ปรัชญาของกลุ่มพุทธิปัญญานิยม

                     การออกแบบการสอน (Instructional design) เป็นหนึ่งในสามพื้นฐานหลักที่สำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา คือ สื่อการสอนหรือ สื่อการเรียนรู้ และคอมพิวเตอร์ศึกษา มีพื้นฐานมาจาก Objectivism ที่เชื่อว่า โลก (World) หรือ โลกที่แท้จริง (Real world) ถูกจัดโครงสร้างที่สมบูรณ์และถูกต้อง ของแก่นแท้ คุณสมบัติ และ ความสัมพันธ์ ประสบการณ์มีบทบาทที่สำคัญในการจัดโครงสร้างของโลก และความหมายเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในโลก ดังนั้นเป้าหมายของความเข้าใจ คือ การเข้ามารู้ หรือการได้รับความรู้ แก่นแท้ คุณลักษณะและความสัมพันธ์ที่ปรากฏอยู่ Objectivism มีมุมมองเกี่ยวกับการให้ความรู้ว่า บุคคลมีความเข้าใจที่แตกต่างกันขึ้นกับประสบการณ์ที่ แตกต่างกัน และความรู้เดิม (Prior knowledge) ไม่ใช่การที่บุคคลมีความเข้าใจเฉพาะตน แต่เชื่อว่าผลกระทบของ ความรู้เดิมและการแปลความหมาย(Interpretation) ถูกมองว่าจะนำไปสู่การทำความเข้าใจบางส่วน และความเข้าใจที่เป็นอคติ ดังนั้นเป้าหมาย คือ การให้เกิดความเข้าใจที่สมบูรณ์และถูกต้อง

 

                     แนวคิดทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญานิยม (Cognitive theories)

                     กลุ่มทฤษฎีพุทธิปัญญานิยม ให้ความสนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิด การให้เหตุผลของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจาก ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ที่มุ่งเน้นพฤติกรรมที่สังเกตได้เท่านั้น โดยมิได้สนใจกับ กระบวนการรู้คิดหรือกิจกรรมทางปัญญาของมนุษย์ (Mental activities) ที่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในที่ไม่ สามารถสังเกตได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักจิตวิทยากลุ่มพุทธิปัญญานิยมตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องศึกษากระบวนการ ดังกล่าว โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรืออาจกล่าวได้ว่า ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญานิยม (Cognitive theories) ให้ความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับ “ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าภายนอก อาจส่งผ่านโดยสื่อต่างๆ กับสิ่งเร้าภายใน คือ ความรู้ความเข้าใจ หรือ กระบวนการทางปัญญา (Cognitive process)เพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรู้การคิด (Cognitive process) ได้แก่

  •  การรับรู้(Perception)
  •  ความใส่ใจ (Attending)
  •  การบันทึกในหน่วยความจ า(Memory process)
  • การจ าได้ (Remembering)
  •  การคิดอย่างมีเหตุผล (Reasoning)
  •  จินตนาการ การวาดภาพในใจ (Imagining, imagery )
  •  การคาดการณ์ล่วงหน้าหรือการมีแผนการรองรับ(Anticipating)
  •  การตัดสินใจ(Decision)
  •  การแก้ปัญหา (Problem solving)
  •  การประมวลสารสนเทศ (Information processing)
  •  การจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ (Classifying)
  •  การจัดหมวดหมู่ (Organization)
  •  การขยายความคิด (Elaboration)
  •  การตีความหมาย (Interpreting)

         ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มคอนสตรัคติวิสต์

                ปรัชญาความรู้ของคอนสตรัคติวิสต์

                ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) มาจาก Epistemology หรือ ปรัชญาความรู้ของคอน สตรัคติวิสต์ หรือการกำเนิดความรู้ที่เป็นทางเลือกของปรัชญาObjectivist โดยมีความเชื่อว่า มีโลกที่แท้จริงที่เราประสบ ความหมายของโลก ถูกกำหนดโดยตัวเราเอง มากกว่าที่จะปรากฏในโลกของเราอย่างมีอิสระ ดังนั้นจะมีหลากหลายวิธีการในการจัดโครงสร้างของโลก และมีความหมายและแนวคิดที่หลากหลายสำหรับเหตุการณหรือแนวความคิดหนึ่งๆ เพราะแต่ละบุคคลได้สร้างความหมายของโลกแตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่มีความหมายที่ถูกต้องที่ต้องพยายามค้นหา

                 กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ปรากฏแนวคิดที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการสร้างความรู้ หรือการเรียนรู้ ทั้งนี้เนื่องมาจากแนวคิดที่เป็นรากฐานสำคัญซึ่งปรากฏจากรายงานของนักจิตวิทยาและนักการศึกษา คือ Jean Piaget นักจิตวิทยาพัฒนาการชาวสวิส และ Lev Vygotsky ชาวรัสเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา (Cognitive constructivism) และ กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม (Social constructivism)

 

                 1.กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา (Cognitive constructivism)

                  กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา มีรากฐานทางปรัชญาของทฤษฎี มาจากความพยายามที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ ด้วยกระบวนการที่พิสูจน์อย่างมีเหตุผล เป็นความรู้ที่เกิดจากการไตร่ตรอง ซึ่งถือเป็นปรัชญาปฏิบัตินิยม ประกอบกับรากฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อพื้นฐานแนวคิดนี้ นักจิตวิทยาพัฒนาการชาวสวิส คือ Piaget (Jean Piaget) ทฤษฏีของ Piaget จะแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ช่วงอายุ (Ages) และ ลำดับขั้น (Stages) ซึ่งทั้งสององค์ประกอบนี้จะทำนายว่าเด็กจะสามารถหรือไม่สามารถเข้าใจสิ่งหนึ่งสิ่ง ใดเมื่อมีอายุแตกต่างกัน และทฤษฏีเกี่ยวกับด้านพัฒนาการที่จะอธิบายว่าผู้เรียนจะพัฒนาความสามารถทางการรู้คิด (Cognitive abilities) ทฤษฏีพัฒนาการที่จะเน้นจุดดังกล่าวเพราะว่าเป็นพื้นฐานหลักสำหรับวิธีการของคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา โดยด้านการจัดการเรียนรู้นั้นมีแนวคิดว่า มนุษย์เราต้อง “สร้าง” ความรู้ด้วยตนเองโดยผ่านทาง ประสบการณ์ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้างทางปัญญา หรือเรียกว่า สกีมา (Schemas) รูปแบบการทำความเข้าใจ (Mental model) ในสมอง สกีมาเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (Change) ขยาย (Enlarge) และซับซ้อนขึ้นได้โดยผ่านทางกระบวนการ การดูดซึม (Assimilation) และการปรับเปลี่ยน (Accommodation)


                  2.กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม (Social constructivism)

                  นักจิตวิทยาของกลุ่มพุทธิปัญญานิยมที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งคือ วีกอทสกี (Lev Vygotsky) ซึ่งเชื่อว่า สังคมและวัฒนธรรมจะเป็นเครื่องมือทางปัญญาที่จำเป็นสำหรับการพัฒนา รูปแบบและคุณภาพของปัญญา ได้มีการ กำหนดรูปแบบและอัตราการพัฒนามากกว่าที่กำหนดไว้ในทฤษฎีของ Piaget (Jean Piaget) โดยเชื่อว่า ผู้ใหญ่ หรือ ผู้ที่มีความอาวุโส เช่น พ่อแม่ และครู จะเป็นตัวเชื่อมสำหรับเครื่องมือทางสังคมวัฒนธรรมรวมถึงภาษา เครื่องมือทาง วัฒนธรรมเหล่านี้ ได้แก่ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม บริบททางสังคมและภาษาทุกวันนี้รวมถึงการเข้าถึงข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์



2.ความแตกต่างในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ที่อาศัยทฤษฎีการเรียนรู้

           การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ที่อาศัยทฤษฎีการเรียนรู้นั้นมีวิธีการออกแบบที่แตกต่างกันแบ่งออกได้เป็น 3 แบบเพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ให้ตรงตามกับผู้เรียนนั้น มีดังนี้

  • กลุ่มพฤติกรรมนิยม ให้ความสนใจตัวผู้สอนที่จะให้ความรู้กับผู้เรียนและผลของพฤติกรรมของผู้เรียนที่ตอบสนองกับมา ฉะนั้นการออกแบบการสอนจะเน้นไปที่การให้ความรู้และการให้แรงเสริม เพื่อให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามที่คาดหวังเอาไว้ โดยจะมุ่งเน้นที่พฤติกรรมที่สังเกตได้เท่านั้น
  • กลุ่มพุทธิปัญญานิยม ให้ความสนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ภายในที่ไม่สามารถสังเกตได้ ดังนั้นการออกแบบการสอนจึงเน้นไปที่การให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ให้ผู้เรียนได้คิดเอง เพื่อกลายไปเป็นความรู้ที่ยั่งยืน ซึ่งมีความแตกต่างจากกลุ่มพฤติกรรมนิยมอย่างชัดเจน
  • กลุ่มคอนสตัคติวิสต์ จะเน้นไปที่ผู้เรียนได้คิดเชื่อมโยงเพื่อสร้างความรู้เอง โดยเชื่อว่าผู้เรียนจะต้องเป็นผู้สร้างความรู้เองโดยการนำเอาประสบการณ์ที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมหรือสารสนเทศใหม่มาเชื่อโยงกับ ความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม มาสร้างเป็นความเข้าใจของตนเอง

3.การนำแนวคิดของแต่ละทฤษฎีไปใช้ในการเรียนการสอนและการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

         การนำแนวคิดของแต่ละทฤษฎีไปใช้ในการเรียนการสอน

        1.แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง และการตอบสนองนั้น จะต้องเป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้ การออกแบบการสอน คือ การจัดสิ่งเร้า ที่เป็นการนำเสนอ บอก เน้นเนื้อหา ความรู้ ที่พยายามแยกเป็นส่วนย่อยๆ และผู้เรียนจะเรียนโดยการรับและจดจำเนื้อหา

        เพราะฉะนั้นนักออกแบบการสอน (Instructional designer) จึงจำเป็นที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับปรัชญาเพื่อที่จะสามารถ วิเคราะห์ และเลือก ทฤษฎีการเรียนรู้ และหลักการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องและเหมาะสมตลอดจนทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมมาใช้ในการออกแบบการสอนได้

       การนำไปใช้ในการเรียนการสอน หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะในเรื่องใดแล้ว ต้องให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้  และให้ผู้เรียนฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว ควรให้ผู้เรียนฝึกนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ เช่น ในการฝึกให้นักเรียนท่องสูตรคูณทุกวันไม่ใช่แค่การให้ท่องจำเพียงเท่านั้น แต่จะต้องฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะและเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้  และสามารถนำไปใช้ในการคิดแก้โจทย์เลขต่างๆได้จริง

        2. ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญานิยม นักออบเจคติวิสต์ มีมุมมองเกี่ยวกับการให้ความรู้ว่า บุคคลมีความเข้าใจที่แตกต่างกันขึ้นกับประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และความรู้เดิม (Prior knowledge) ไม่ใช่การที่บุคคลมีความเข้าใจเฉพาะตน แต่เชื่อว่าผลกระทบของความรู้เดิมและการแปลความหมาย(Interpretation) ถูกมองว่าจะนำไปสู่การทาความเข้าใจบางส่วน และความเข้าใจที่เป็นอคติ ดังนั้นเป้าหมาย คือ การให้เกิดความเข้าใจที่สมบูรณ์และถูกต้อง ถ้าเชื่อในข้อตกลงเบื้องต้น ดังกล่าว เป้าหมายของการเรียนการสอน จะเป็นการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับแก่นแท้ ความสัมพันธ์และคุณลักษณะที่นามาสร้างโครงสร้างของประพจน์ที่ถูกต้อง หรือกล่าวได้ว่า โลกแห่งความรู้เป็นสิ่งที่แน่นอนที่ผู้เรียนต้องมารับรู้ข้อมูล สารสนเทศที่แบ่งเป็นส่วนย่อยๆ ผู้สอนต้องปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ และพยายามที่ถ่ายทอดความคิด และความหมายไปสู่ผู้เรียน และเป้าหมายของผู้เรียนยอบรับในคำอธิบายและกล่าวตามในสิ่งที่เรียน

    การนำไปใช้ในการเรียนการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี  เช่น ในการเรียนวิทยาศาสตร์ถ้านักเรียนสนใจจะเรียนหรือทดลองเกี่ยวกับเรื่องใด การที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติหรือได้ทดลองจริงๆ จะทำให้นักเรียนให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับเหตุการณ์ที่เป็นสิ่งเร้า ฝึกปฏิบัติ และแสดงให้เห็นการเรียนแบบรอบรู้ในความรู้นั้นๆ และกระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน

      3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มคอนสตรัคติวิสต์  เชื่อว่า การเรียนรู้ เป็นกระบวนการสร้างมากกว่า การรับความรู้ ดังนั้น เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนจะสนับสนุนการสร้างมากกว่าความพยายามในการถ่ายทอดความรู้ ดังนั้น กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ จะมุ่งเน้นการสร้างความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมของแต่ละบุคคล และเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญในการสร้างความหมายตามความเป็นจริง

       การนำไปใช้ในการเรียนการสอน มีหลักการที่สำคัญว่า ในการเรียนรู้ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำในการสร้างความรู้ หรือเรียกว่า Actively construct มิใช่ Passive receive ที่เป็นการรับข้อมูล หรือสารสนเทศ และพยายามจดจำเท่านั้น เช่น การมีคาบเรียนบูรณาการให้นักเรียนเป็นคนเลือกเองว่าจะเรียนอะไร และให้ลองลงมือปฏิบัติด้วยหรือหาคำตอบด้วยตนเอง โดยครูมีหน้าที่แนะนำเมื่อเกิดปัญหา และสนับสนุนด้วยการกระตุ้น แนะนำ ให้พวกเขาต่อสู้กับปัญหา และเกิดความท้าทาย และนั่นเป็นรากฐานของสถานการณ์ในชีวิตจริง ที่จะทำให้ผู้เรียน เกิดความสนใจ และได้รับความพึงพอใจในผลของงานที่พวกเขาได้ลงมือกระทำ

       

        การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

        1.แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม 

         การเรียนรู้จะเกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองหรือการแสดงพฤติกรรมนิยมและถ้าหากได้รับการเสริมแรงจะทำให้มีการแสดงพฤติกรรมนั้นถี่มากขึ้น ซึ่งเราสามารถนำไปใช้ในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ได้คือ จัดทำสื่อการสอนที่

เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เน้นให้ผู้เรียนได้กระทำบ่อยๆซ้ำจะทำให้ความรู้นั้นคงทนถาวร  ตัวอย่างเช่น การให้ท่องสูตรคูณหลังเลิกเรียนทุกครั้ง

         2. ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญานิยม

         ให้ความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าภายนอก อาจส่งผ่านโดยสื่อต่างๆ กับสิ่งเร้าภายในคือ ความรู้ความเข้าใจ หรือ กระบวนการทางปัญญา เพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรู้การคิด ซึ่งเราสามารถนำไปใช้ในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ได้คือ จัดทำสื่อการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ ตัวอย่างเช่น การให้เล่นรูบิค หรือเกมฝึกสมองต่างๆ การแต่งกลอน


         3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มคอนสตรัคติวิสต์

         การเรียนรู้ หรือการสร้างความรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการนำประสบการณ์หรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับ ความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม มาสร้างเป็นความเข้าใจของตนเอง  ซึ่งเราสามารถนำไปใช้ในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ได้คือ ส่งเสริมแบบการเรียนที่หลากหลาย สนับสนุนการเสาะแสวงหาความรู้ ตัวอย่างเช่น การให้ผู้เรียนได้เลือกหัวข้อเรียนรู้ด้วยตัวเอง

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 644239เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2018 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2018 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท