บรรลุฌาน


    

           จตุกะที่หนึ่ง แห่งอานาปานสติ

            ขั้นที่ ๑ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก ที่ยาว

            ขั้นที่ ๒ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก ที่สั้น

            ขั้นที่ ๓ กำหนดลมหายใจโดยประการทั้งปวง

            ขั้นที่ ๔ กำหนดลมหายใจที่สงบระงับยิ่งๆ ขึ้นไป จนกระทั่งบรรลุฌาน

            ขั้นแรที่สุด เป็นการกำหนดลมหายใจโดยเฉพาะเจาะจง และตามที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ กระทั่งถึงรับการปรับปรุงดีแล้ว อยู่ทุกขณะ ขั้นถัดมาไม่กำหนดโดยลักษณะเฉาพะ หรือโดยรายละเอียดเช่นนั้น แต่ได้กำหนดสิ่งที่ เรียกว่านิมิตแทน

            นิมิต เพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น ควรเปรียบเทียบกับกัมมัฎฐานที่ใช้วัตถุที่มีรูปร่างชัดเจนเป็นอารมณ์ เช่น กสิณ วงสีเขียว หรือวงสีแดง ที่เราทำขึ้น วางไว้ตรงหน้าเพื่อเพ่งตาดู สิ่งนี้คือ บริกรรมนิมิต การเพ่งตาดุ เรียกว่า การทำบริกรรมนิมิต ครั้นทำบริกรรมนิมิตนั้นหนักเข้าๆ  นิมิตนั้นติดตาในภายใน แม้จะหลับตา ก็ยังเห็นชัดเหมือนลืมตา เรียกว่า อุคคหนิมิต หรือ “มโนภาพที่สร้างสำเร็จภายในใจ” ซึ่งเป็นคนละอย่างกับบริกรรมนิมิต การฝึกที่บังคับจิตให้น้อมนึก เพื่อเปลี่ยนอุคหนิมิต ให้เล็กหรือใหญ่ กระทั่งหยุดอยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ซึ่งเป็นที่พอใจที่สุด หรือเหมาะสมที่สุด ที่จะทำให้จิตกำหนดแน่วแน่อยุ่ในนิมิต คือขณะแห่งปฐมที่จะเป็นไปจนกว่าจะถึงการบรรลุฌาน ซึ่งเรียกว่า ปฏิภาคนิมิต

           นิมิตในอานาปานสติ มีหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน ลมหายใจคือบริกรรมนิมิต การกำหนดที่ตัวลมหายใจอย่างนี้เรียกว่าการทำบริกรรมนิมิต เมื่อไม่กำหนดที่ตัวลม แต่ไปกำหนดที่จุดใดจุดหนึ่งที่ลมกระทบ และมีการทำในใจประหนึ่งว่าจุดนั้นมีอะไรอย่างหนึ่งถูไป-ถูมา ที่จุดนั้นอย่างรุนแรง โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นการหายใจ หรือลมหายใจ กำหนดแน่วแน่อยู่แต่ ณ จุดนี้เป็นที่เกิดของความรู้สึก ทำให้เป็นราวกะว่าเป็นจุดในมโนภาพ อยู่อย่างแน่วแน่  นี้เป็นอุคคหนิมิต นิมิตในขั้นสุดท้ายคือ ปฏิภาคนิมิต

         จิตปรุงปฏิภาคนิมิตขึ้นมาในลักษณะที่แตกต่างกันเพราะความที่คนมีสัญญาในอุปนิสัยที่แตกต่างกัน ผู้ปฏิบัติไม่ควรทำความฉงนในความไม่คงเส้นคงวา หรือความพิสูจน์ไม่ได้เหล่านี้ เพราะจะทำให้เกิดกังวลและเป็นอันตรายต่อการเจริญสมาธิ กล่าวคือจากความรู้สึกเพียงว่ามีจุดอยู่จุดหนึ่ง เปลี่ยนไปด้วยอำนาจของความเนื่องกันอยู่กับลมหายใจ พร้อมกับอาศัยอดีตสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในอุปนิสัยของบุคคนั้นเข้าช่วยปรุงแต่ง สิ่งที่เรียกว่าปฏิภาคนิมิตนี้จะเกิดขึ้นผิดแผกกันบ้าง

          ผลของนิมิต อานาปานสติยึดลมหายใจเป็นอารมณ์ย่อมตั้งอยู่ในระดับกลาง ไม่ไปในทางเนือยๆ เหมือนกับก้อนดิน และไม่ไปในทางรุนแรงเหมือนกับศพเน่าศพหนึ่ง นิมิตทุกระยะจึงต่างกันหมด ซึ่งต้องไม่ลืมว่าแม้จะทำให้เกิดมีบริกรรมนิมิต และปฏิภาคนิมิต จนกรทั่งเป็ฌานได้ด้วยกันก็จริง แต่ผลย่อมแตกต่างกันในทางอื่นบางอย่างมากมายนั้นเอง เพราะกัมมัฎฐานบางประเภท หรือบางกลุ่มมุ่งหมายเฉพาะประเภทของนเป็นกลุ่มๆไป เพื่อแก้ไขปัญหาปลีกย่อยของกิเลสเฉพาะคนในระยะแรกก่อน แล้วจึงน้อมไปสู่ผลอย่างเดียวกันในเบื้องปลาย

           อุปสรรคของการเกิดนิมิตและฌาน : เฉพาะตอนแรก อานาปานสติขั้นที่ ๔ มีความสำคัญอยุ่ตรงที่การกำหนดลมหายใจที่ละเอียด อุปสรรคจะเกิดขึ้นในตอนแรก คือ ลมกายใจละเอียดจนถึงกับกำหนดไม่ได้ หรือ กระวนกระวายว่าลมหายใจจะหายไปเฉยๆ  ซึ่งอาจระงับความสงสัยหรือ กระวนกระวายได้โดย เริ่มตั้งต้นหายใจใหม่ให้รุนแรง แล้วตั้งต้นทำตามลำดับตั้งแต่ตน และ ถ้าหากไม่ได้ผล หรือไม่อยากจะย้อนกลับไปสุ่ขั้นปฎิบัติที่หยาบ ให้ชักนำจิตจิใจของตัวเองให้เกิดความแน่ใจหรือกำลังอย่างเพียงพอขึ้นมาใหม่

           อุปสรรคฯ : ทั่วไป ทั้ง๙ คู่..(ลิงค์)

         จิตถึงความเป็นเอก (เอกัตตะ) จากความเป็นเอกของจิต ในกรณีนี้เราต้องการ ในข้อที่ ๒ คือ ความเป็นเอกเพระสมาธินิมิตเป็นไปสำเร็จ หรือปรากฏชัดในการเจริญสมาธินั่นเองท่านกำหนดองค์แห่งความเป็นเอกของสมาธิในกรณีนี้ไว้ว่า

           จิตผ่องใส เพราะความหมดจดแห่งข้อปฏิบัติ, จิตเจริญงอกงาม ด้วยอุเบกขา, จิตอาจหาญร่าเริง ด้วยญาณ

           กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า ปฐมฌานมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด งามเบื้องต้น เพราะจิตผ่องใส ด้วยอำนาจข้อปฏิบัติที่หมดจดถึงที่สุด งามในท่ามกลาง เพราะจิตเจริญรุ่งเรืองอยุ่ด้วยอุเบกขา คือ ความวางเฉย และงามในที่สุด เพราะจิตกำลังร่าเริงอยุ่ด้วยญาณ การที่จะเข้าใจในลักษณะทั้งสามนี้ ของปฐมฌานนนั้นขึ้นอยู่กับ ความเข้าใจในเรืองนิวรณ์และองค์แห่งฌาน เป็นสำคัญ

            นิวรณ์และองค์ฌาน

            นิวรณ์ และคู่ปรับ

            กามฉันทะ ความพอใจในกาม เนกขัมมะ คือความมีจิตปราศจากกาม

            พยาบาท คือ ความที่จิตถูกประทุษร้ายด้วยโทสะหรือโกรธะ ความขัดใจความไม่พอใจ อัพยาบาท เป็นไปในทางตรงกันข้าม หมายถึงจิตเยือกเย็นไม่มีความกระทบกระทั่ง

             ถีนมิทธ คือความเศร้าซึม ความมึนชา ความง่วงเหงาหาวนอน อาโลกสัญญา คือ การทำในใจให้เป็นแสงสว่าง

            อุทธัจจกุกกุจะ คือ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ อวิกเขปะ ความไม่ซัดไป หรือไม่ส่ายไป คือไม่พลุ่งขึ้นข้างบน

            ๕. วิจิกิจฉา หมายถึง ความลังเล หรือโลเล ไม่มีความแน่ใจในตัวเอง ธัมมวัตถานะ ได้แก่การกำหนที่แน่นอนชัดเจนลงไปยังธรรมะหรือหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง โดยกระจ่างชัดไม่มีการสงสัยหรือลังเล

            ผู้ปฏิบัติต้องรู้จักหรือหยั่งทราบชัด ตอสิ่งที่เรียกว่านิวรณ์ด้วยใจของตนเองจริงๆ ว่ามีอยุ่อย่างไร เพียงไร และเมื่อไร เป็นต้น และรู้จักลักษณะที่นิวรณ์นั้นๆ กำลังรบกวนตนเองอยู่อย่างไร ทั้งนี้ เพื่อจะได้เห็นโทษแห่งนิวรณ์นั้นได้จริงๆ จนมีความพอใจและแน่ใจในการที่จะกำจัดนิวรณ์นั้น

             องค์ฌานหมายถึง ส่วนประกอบส่วนหนึ่งๆ ของฌาน เมื่อประกอบรวมกันหลายอย่าง จึงสำเร็จเป็นฌานขั้นหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า ปฐมฌานมีองค์ห้า ทุติยฌานมีองค์สาม ตติยฌานมีองค์สองจตุตถฌานมีองค์สอง เป็นต้น องค์แห่งฌานมี ๕ องค์ คือ วิตก, วิจาร, ปีติ, สุข,เอกัคคตา

             องค์ฌานองค์หนึ่งๆ จะสามารถกำจัดนิวรณ์แต่ละอย่างๆ ได้ ดังนี้ คือ วิตกกำหนดอารมณ์อันใดอันหนึ่งอยู่ที่ส่งินั้นนิวรณ์ที่ตรงข้ามอาทิ อุทธจจุกุกกุจจะ ก็ย่อมไม่เกิดข้นแม้ที่สุดแต่กามฉันทะ ก็ยังไม่มีขึ้นได้ เพาระจิตกำลังติดอยุ่กับอารมณ์ของสมาธิ วิจาร เมื่อวิจารมีอยุ่ ความลังเล หรือวิจิกิจฉาย่อมระงับไปโดยตรง แม้กามฉันทะหรืออื่นๆ ก็ย่อมระงับไปโดยอ้อม เอกัคคตา ย่อมเป็นที่ระงับของนิวรณ์ทั่วไป นิวรณ์จะระงับไปตั้งแต่ขณะแห่งอุปจารสมาธิ คือตั้งแต่ฌานยังไม่ปรากฎ

           สมาธิ ๒ คือ อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ

            อุปจารสมาธิแปว่าสมาธิชั้นที่ข้ำปกล้กล่าวคือสมาธิที่เฉียดความเป็นฌาน

             อัปปมานาสมาธิ แปลว่า สมาธิแน่วแนคือสมาธิชั้นที่เป็นฌาน

            ส่วนสมาธิในขณะเริ่มแรก เช่นในขณะแห่งคณนาและอนุพันธนาเป็นต้น ยังไม่ใช่สมาธิแท้ หรือจะเรียกได้ว่าบริกรรมสมาธิคือเป็นเพียงสมาธิในขณะแห่งบริกรรมหรือการเริ่มกระทำ ยังไม่ให้ผลอันใดตามความมุ่งหมายของคำว่า สมาธิ ในที่นี้จึงเว้นเสียคงนับแต่เป็นสมาธิเพียง ๒ อย่าง

           ปฏิภาคนิมิต ปรากฏเมื่อ การเจริญอาณาปานสติดำเนินมาถึงขึ้นที่เรียกว่าอุปจารสมาธิอย่างสมบูรณ์ องค์แห่งฌานยังไม่ปรากฏครบทั้งห้า จิตจึงยังไม่สามารถเลื่อนจากปฏิภาคนิมิตไปกำหนดที่องค์แห่งฌานได้ จิตยังไม่สามารถขึ้นสู่องค์ฌานได้ จึงไม่แน่วแน่

          ข้อสำคัญ คือ้องรักษาปฏิภาคนิมิตนันไว้อย่างมั่น จนกว่าจะหน่วงไปสู่องค์ฌานได้สำเร็จ ถ้าปกิภาคนิมิตเลือนลับไป จิตก็ไม่สามารถจะอาศัย เพื่อหน่วงองค์ฌานหรือความรู้สึกทั้ง ๕ ประการนั้น

           การรักษาปฏิคนิมิต เป็นส่งิที่ต้องทำเรื่อยไปในฐานะที่เป็นตัวการปฏิบัติดดยตรงในขณะนี้ และดูเป็นกิจที่น่าเบื่อหน่าย เพื่อปลูกฉันทะ คือ ความพอใจ หรือเพิ่มกำลังใจในเรื่องนี้ ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้เพียงพออยู่เสมอ โดยเฉพาะในข้อทั้งหลายเหล่านี้ต้องสัมพันธ์กันอย่างไรจึงจะบรรลุฌานโดยเฉพาะ

            อัปปมาสมาธิ

            ความสัมพันธ์ในระหว่างธรรมต่างๆ ดังนี้

            ปฏิภาคนิมิตปรากฏขึ้น ทำให้นิวรณ์รำงับไป ส่วนอัปปมาสมาธิยังล้มๆ ลุกๆ อยู่จนกว่าจะหน่วยงองค์ฌานได้โดยสมบูรณ์

             เมื่อนิวร์รำงับไป องค์แห่งฌานจึงปรากฏขึ้น และจะต้องทำให้ชัดขึ้นจนสมบูรณ์ท้ง ๕ องค์ โดยอาศัยปฏิภาคนิมิตเป็นหลัก และมีองค์ฌานที่จะเกิดขึ้นเป็นอารมณ์

            เมื่อองค์แห่งฌานปรากฏโดยสมบูรณ์ อัปปมาสมาธิตั้งลงอย่างสมบูรณ์คือบรรลุถึงฌานขั้นแรก

            ทำวัตถแวดล้อมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

            ปรับอินทรีย์ทั้ง ๕ ให้มีกลังเท่ากัน

            ฉลาดในเรื่องของนิมิต  เมื่ออินทรีย์ทั้ง * เหมาะสมแล้วความฉลาดในเรื่องนิมิตย่อมเกิดขึ้นได้โดยง่าย

            ฉลาดทำให้นิมิตเกิด ฉลาดในการทำนิมิให้เจริญ เป็นผู้ฉลาดในการรักษานิมิตที่ได้แล้ว นิมิตทุกขนิด ต้องมีการักษาอยุ่ทุกขณไม่ว่าจะเป็นขณะแรกได้ แรกถึง หรือขณะที่ได้แล้วอย่างสมบูรณ์เปรียบเสมือนงานฝีมือที่ละเอียดประณีต ที่เพิ่งทำได้เป็นครั้งแรกถ้าไม่ทำซ้ำๆ ให้ชำนาญจริง ก็จะไม่คงตัว

             สำหรับองค์ฌานแลโดดยเฉพาะเอกัคคตา จะต้องรักษาด้วยหลักเกณฑ์ที่คล้ายๆ กัน แต่เป้นการกรทำที่ประณีตยิ่งขึ้นไปกว่า โดยใจความสำคัญคือ การทำให้คล่องแคล่วอยุ่เสมอโดยอาการที่เรียกว่า วสี ทั้งห้า ซึ่งจะกล่าวต่ไปข้างหน้า

            และที่สำคัญอัปปมานาโกสล ๑๐ ที่จะต้องรู้จักการยกจิตและข่มจิตโดยอาศัย โพชฌงค์ ๗ (ลิงค์)

            ฌาน

           และหากย้อนไปตั้งแต่ขั้นที่ปฏิภาคนิมิตปรากฏขึ้นมาตามลำดับอีกครั้งหนึ่ง เพื่อความเข้าใจง่ายในขั้นนี้

           เมื่อปฏิภาคนิมิตจะปรากฏ มีสิ่งที่ให้สังเกตล่วงหน้าได้ คืออุคหนิมิต ในขณะนั้นแจ่มใสยิ่งขึ้น จิตรู้สึกสวบยิ่งขึ้น รุ่สักสบายใจหรือพอใจในการกระทำนั้นมากยิ่งขึ้น ความเพียรเป็นไปโดยสะดวก แทบจะไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลยลักษณะเหล่านี้แสดงว่าปฏิภาคนิมิตจะปรากฎ

          ครั้นปฏิภาคนิมิตปรากฏแล้ว ต้องระมัดระวังในการักษาปฏิภาคนิมิตโดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นรยะยาวตามสมาควร แม้ว่าในขณะนี้นิวรณ์จะระงับไปไม่ปรากฏก็จริง แต่อัปปนาสมาธิบยังล้มๆ ลุกๆ อยุ่ เพราะองค์ฌานยังไม่ปรากฎแน่นแฟ้นโดยสมบูรณื ผุ้ปฏิบัติจะต้องดำรงตนอยุ่อย่างสม่ำเสมอ ในลักษณะแห่งอัปปนาดกสล ๑๐ ประการ ดังที่กล่าวแล้วเพื่อเป็นการเร่งรัดอัปนาสมาธิให้ปรากฏต่อไป

           ผุ้ปฏิบัติหน่วงจิตให้ลุถึงอัปปนาสมาธิได้ ด้วยการหน่วงความรุ้สึทีเป็นองค์ฌานนั้น ๔ ประการ ให้ปรากฎขึ้นในความรุ้สึกแจ่มชัด สมบูรณ์ และตั้งอยู่อย่างแน่นแฟ้น เมื่อองค์ฌานตั้งมั่นทั้ง ๕ องค์แล้ว ชื่อว่าลุถึงอัปปนาสมาธิหรือกล่าวอีกนัยกนึ่งก็คอการได้ฌานในอันดับแรก ซึ่งเรียกว่า ปฐมฌาน...

       - สุทธิมโน รวบรวม เรียบเรียง

คำสำคัญ (Tags): #บรรลุฌาน
หมายเลขบันทึก: 644191เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2018 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2018 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท