องค์แห่งฌาน


           ่องค์แห่งฌาณ หมายความว่า ส่วนประกอบส่วนหนึ่งๆ ของฌาน เมื่อประกอบรวมกันหลายอย่าง จึงสำเร็จเป็นฌานขั้นหนึ่ง เช่นอาจจะกล่าวได้ว่า ปฐมฌานมีองค์ห้า ทุติยฌานมีองค์สาม ตติยฌานมีองค์สองจตุตถฌามีองค์สอง ดังนี้เป็นต้น ทั้งนี้เป็นการแสดงชัดอยู่แล้วว่าองค์แห่งฌานนั้น ไม่ใช่ตัวฌาน เป็นแต่่เยพียงสวนประกอบสวนหนึ่ง ๆ ของฌาน องค์แห่งฌาน มี ๕ องค์ คือ ๑ วิตก, ๒ วิจาร, ๓ ปีติ, ๔ สุข, ๕ เอกัคคตา, มีอธิบายดังนี้

          ๑.วิตก คำคำนี้ โดยทั่วไปแปลว่า ความตริหรือความตรึก แต่ในภาษาสมาธิ คำว่า วิตกนี้ หาใช้ความคิดนึกตริตรึกอย่างใดไม่ ถ้าจะเรียกว่าเป็นความคิด กเป็นเพียงการกำหนดนิ่งๆ แนบแน่นอยู่ในสิ่งๆ เดียว ไม่มีความหมายที่เป็นเรื่องเป็นราวอะไร อาการแห่งจติจะมีปรากฎอยู่ในขณะแห่งคณนาและอนุพันธนาโดยอ้อม และในขณะแห่งผุสนาและฐปนาโดยตรง ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้นอง คือส่ิงที่เรียกว่าวิตกในที่นี้ และจะเข้าใจอาการของวิตกได้ดี ก็ต่อเมื่อถุกนำไปเปรียบเทียบกัยส่งิที่เรียกว่าวิจาร และกล่าวบรรยายลักษณะควบคุโกันไป

         ๒. วิจาร คำคำนี้ โดยทั่วไป หมายถึงการตรึกตรอง หรือสอดส่องหรือวินิจฉัย แต่ในทางภาษาสมาธิ หาได้มีความหมายอย่างนั้นไม่ เป็นแต่เพียงอาการที่จิตรู้ต่ออารมณ์ที่กำหนดอยู่นั้น ซึ่งในที่นี้ ได้แก่ลมหายใจ อยู่อย่างมั่วถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ อาการที่เกิดขึ้นในขณะของอนุพันธนาเป็นต้นไป และจะเข้าใจส่งินี้ได้ดี ด้วยการนำอุปมาเปรียบเทียบ ซึ่งจะดียิ่งกว่าบรรยายด้วยคำพูดตรงๆ ยกตัวอย่งเช่น เปรียบเทียบกับการดุ เมื่อสายตาทอดไปจับที่สิ่งใดส่ิงหนึ่งนี้เปรีบกันได้กับอาการของวิตก เมื่อเห็นส่ิงนั้นทั่วหมด เปรียบกันไ้กับอาการของวิจาร หรือเปรียบด้วยการสาดน้ำ เมื่อนำกระทบกับส่ิงที่ถูกสาด ก็เปรียบได้ด้วยอาการของวิตก เมื่อน้ำเปียกซึ่งไปทั่ว ก็เปรียบได้ด้วยอาการของวิจารหรือถ้า เรปียบกัการฝึกลูกวัว ซึ่งมักถูกใช้เป็นอุทาหรณ์ในการฝึกจิตทั่วๆ ไป ก็อาจจะเปรีบไ้ว่า เมื่อลุกวัวถูกแยกไปจากแม่ เอาไปผูกไว้ทีเสาหลักแห่งหนึ่งด้วยเชือก เสาหลักเปรียบด้วยลมหายใจ เชื่อกั้นเปรียบด้วยสติ ลูกวัวนั้นเปรียบด้วยจิต การที่มันถูกผูกติดอยู่กับเสา เปรียบด้วยอาการของวิตก และการที่มันดิ้นไปดิ้นมาวนเวียนอยู่รอบๆ เสา รอบแล้ว รอบอีก เปรียบด้วยอาการของวิจาร

       ผู้ศึกษาจะต้องรู้จักสังเกต ความแตกต่างระหว่างคำว่า วิตก กับคำว่า วิจารและรู้จักความที่สิ่งทั้งสองนี้มีอยู่พร้อมกัน กล่าวคือการที่ลูกวัวถูกผูกติดอยู่กับเสาก็เป็นสิ่งที่มีอยู่ในขณะที่มันวนเวียนอยู่รอบๆ เสา หรืออาการที่มันวนเวียนอยู่รอบ ๆ เสา ก็มีอยู่ในขณะที่มันยังถูกผูกติดอยู่กับเสา แต่อาการทั้งสองอย่างนี้ไม่ใช่เป็นของส่ิงเดียวกันเลย ทั้งที่มีอยู่พร้อมกนหรือในขณะเดียวกัน ความเข้าใจอันนี เป็นเหตุให้เข้าไปถึงว่า ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น วิตกกับวิจารมีอยู่ในขณะเดียวกนได้อย่งไร สำหรับอาการอันนี้โดยเฉพาะ จะเห็นได้ชัดในกรณีของคนขัดหม้อ ซึ่งมือซ้ายจับหม้อ มือขวรจับเครื่องขัดหม้อ แล้วถูไปทั่วๆ ตัวหม้อ ในขณะเดียวกัน มือซ้าย คือวิตก มือขวา คือวิจาร ฉันใดก็นฉันนั้น

       สรุปความว่า วิตก คือ อาการที่จิตกำหนดนิมิต วิจาร คือ อาการที่จิตเคล้าเคลียกันอยู่กับนิมิตอย่างทั่วถึง นั่นเอง และเป็นสิ่งที่มีอยู่พร้อมกัน

       ๓. ปิติ คำนี้ ตามปรกติแปลว่าความอิ่มใจ ในภาษาของสมาะิหมายถึงความอิ่มใจด้วยเหมือนกัน แต่จำกัดความเฉพาะความอิ่มใจที่ไมเ่นื่อง้ด้วยกาม และต้องเป็นความอิ่มใจที่เกิดมาจากความรู้สึกว่าตนทำอะไรสำเร็จ หรือตนไ้ทำสิ่งที่ควรทำเสร็จแล้วหรือต้องเสร็จแน่ๆ ดังนี้เป็นต้นเท่านั้น ปิตินี้อาศัยเนกขัมมะ ไม่อาศัยกาม ฉะนั้น จึงอาจจำกัดความลงไปว่าปีติ คือความอิ่มใจที่เกิดมาจากการที่ตนเอาชนะกามได้สำเร็จ ด้วยนั่นเอง ปีติ  ในกรณีนี้จัดเป็นกุศล เจตสิกประเภทสังขารขันธ์ คือความคิดชนิดหนึ่ง กล่าวคือ การทำความอิ่มใจยังไม่จัดเป็น เวทนาขันธ์  ผู้ศึกษาพึงรู้จักสังเกตความแตกตางระหว่งปีติกับสุขในข้อนี้, คือข้อที่ปีติเป็นสังขารขันธ์ และสุขเป็นเวทนาขันธ์ เพ่อกันความสับสนกันโดยสิ้นเชิง แล้วพึงทราบ ความที่ปีติเป็นแดนเกิดของความสุข

        ๔. สุข คำว่าสุขในที่นี้ หมายถึงสุขอันเกิดจากการที่จิตไม่ถูกนิวรณ์รบกวน ร่วมกันกับกำลังของปีติหรือปราโมทย์ ที่ได้ส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกอันเป็นสุขนี้ขึ้น ตามธรรมดาคนเรา เมื่อมีปีติ ก็ย่อมรู้สึกเป็นสุขอย่างที่ไม่มีทางเหลีเหลี่ยวได้ แต่สุขโดยอาการอย่างนี้ ย่อมตั้งอยู่ชั่วขณะ ส่วนสุขที่เกิดมาจากที่นิวรณืไม่รบกวนนั้นย่อมตั้องอยู่ภาวรและมั่นคงกล่า เมื่อผุ้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมอันนี้ดี ก็จะเห็นชัดแจ้งได้โดยตนเองว่า ปีติกับสุขนั้นไม่ใช่ของอย่างเดียวกันเลยแต่ก็มีอยู่พร้อมกันได้ในขณะเดียวกัน เหมือนกับการที่วิตกและวิจาร มีอยู่พร้อมกันได้ ฉันใดก็ฉันนั้น

        ๕. เอกัคคตา เป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า จิตเตกัคคตา (จิตต + เอกัคคตา) แปลว่า ความที่จิตเป็นส่ิงซึ่งมียอดสุดเพียงอันเดียว โดยใจความก็คอความที่จิตมีที่กำหนดหรือที่จด-ที่ตั้งเพียงแห่งเดียว อธิบายว่า ตามธรรมดาจิตนั้นย่อมดิ้นรนกลับกลอก เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะเป็นของเบาหวิวต่อเมื่อได้รับการฝึกฝนโดยสมควรแกรกรณีแล้ว จึงจะเป็นจิตที่ต้งมั่นมีอารมณ์อยางเดียวอยู่ได้เป็นเวลานา ในกรณีแห่งสมาธินี้ เอกัคคตาหมายถึงความที่จิตกำหนดแน่วแนอยุได้ในขณะแห่งฐปนา หรือในระยะแห่งปฏิภาคนิมิตเป็นต้นไป และ อาการแห่งเอกัคคตานี้เอง เป็นอาการที่เป็นความมหายอันแท้จริง ของคำว่า สมาธิ หรือเป็นตัวสมาธิแท้ เอกัคคตานี้ ในที่บางแห่งเรยกว่า "อธิษฐาน" ก็มี...

            - อานาปานสติภาวนา พุทธทาสภิกขุ...

คำสำคัญ (Tags): #องค์แห่งฌาน
หมายเลขบันทึก: 643943เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2018 19:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2018 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท